12.5.09

[Interview] Interview with Mr. Jun Yong Buk Part I

[Interview] Interview with Mr. Jun Yong Buk Part I

original in japanese: noriko iida / hallyu fan ver. 10 (2009/04/23)
translated into chinese: snowkin / loveyongjoon
translated into english: happiebb / bb's blog
Thai Translation by Ladymoon

Ladymoon : This is a really long article, so I separated it into 2 parts. Thanks.

(บทความชิ้นนี้เขียนโดย noriko iida ซึ่งเป็นหนึ่งในแฟนพันธุ์แท้ของเบยงจุน ตีพิมพ์ใน hallyu fan ฉบับที่ 10 เมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2552 บทความชิ้นนี้มีความยาวค่อนข้างมากจึงขอตัดเป็น 2 ตอนนะคะ)

Yong Joon says, "I'm very happy."
Interview with Lacquer Artist Jun Yong Bak:
Yong Joon's Secret 1-week Morioka Visit

ยงจุนบอกว่า “ผมมีความสุขมาก”
บทสัมภาษณ์ศิลปินภาพแล็คเกอร์ คุณจุนยงบ๊ก
“การมาเยือนโมริโอกะแบบลับๆ ของเบยงจุน”


Yong Joon spent happy times learning lacquer painting in secret.
ยงจุนมีความสุขกับแอบมาหัดเรียนวิธีวาดภาพแล็คเกอร์

The second day after completing a week's worth of learning about lacquer painting secretly in Iwate-ken (Morioka city), Bae Yong Joon appeared at the Gosireh restaurant at Shirogane in Tokyo. The expression on his face was like that of a curious young man, bright and radiant. This is the first time I've seen Bae Yong Joon wearing such a relaxed and happy expression on his face.

From arriving in Japan on 26th Feb, and having spent a week in Iwate-ken must have a most fulfilling time for him. Mr Jun Yong Bok, the lacquer artist who has brought such happy times to Bae Yong Joon
วันที่ 2 หลังจากจบการศึกษาเรื่องการวาดภาพแล็คเกอร์ตลอด 1 สัปดาห์แบบลับๆ ที่อิวาเตะเค็น (เมืองโมริโอกะ) เบยงจุนไปปรากฏตัวที่ร้านโกซิเร ที่ชิโรกาเน่ในกรุงโตเกียว สีหน้าของเขาเหมือนเด็กหนุ่มใคร่รู้ ทั้งสดใสและทอประกาย นี่เป็นครั้งแรกที่ฉันได้เห็นสีหน้าผ่อนคลายอย่างมีความสุขของเบยงจุน

- What sort of person would he be?

Mr Jun who showed up at the Morioka TV news station is a very gentle and kind man.
He's the lacquer artist who has gained world fame from restoring over 5,000 pieces of lacquer art pieces at Meguro Gajoen. I was nervous when I had made that call to him,
and through the phone, he also transmitted his gentle personality. Right after that (call), he immediately sent me his book, "Soul: Dad Why Are We Here In Japan?".

I took a week to finish this book, and I also went to see the fine lacquer pieces at Meguro Gajeon. In the morning of 16th March, I boarded the Shinkansen from Tokyo for Iwate-ken.This happened to be the exact opposite direction of Bae Yong Joon's first time on the Shinkansen, and the train sped all the way towards Iwate-ken.
คุณจุนมาปรากฏตัวที่สถานีข่าวโมริโอกะ เขาดูสุภาพและใจดี เขาเป็นศิลปินภาพแล็คเกอร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก จากการมีผลงานศิลปะกว่า 5,000 ชิ้นแสดงอยู่ที่ เมกูโร่ กาโจเอ็น ฉันรู้สึกประหม่าตอนโทรไปหาเขา เขาส่งผ่านบุคลิกอันแสนสุภาพมาตามสาย หลังจากนั้นเขาก็ส่งหนังสือมาให้ฉัน “จิตวิญญาณ : พ่อครับ เรามาทำอะไรอยู่ที่ญี่ปุ่น” (อันนี้ชื่อหนังสือนะคะ)

ฉันใช้เวลา 1 สัปดาห์เพื่ออ่านหนังสือเล่มนี้ และอยากไปชมผลงานที่เมกูโร่ กาโจเอ็น ตอนเช้าของวันที่ 16 มีนาคม ฉันจึงขึ้นรถชินคังเซ็นจากโตเกียวไปอิวาเตะเค็น บังเอิญเป็นเส้นทางตรงกันข้ามกับการเดินทางบนชินคังเซ็นครั้งแรกของเบยงจุน รถไฟพาฉันมุ่งสู่อิวาเตะเค็น

Under the guidance of the lacquer sunbae's spirit; worked hard at restoring lacquer works.

Let's start with Mr Jun's life as written in his book.

Mr Jun was born in Busan in South Korea in 1952. Born to a poor family, his elder brother passed away when he was in primary five. As the oldest of the family (from that time), he had to work from dawn and dusk everyday. In secondary school, he started selling chrysanthemum bread, moving coals, and working all sorts of jobs to help support the family. During this time, he was influenced by his two uncles who were painters, and developed an interest in painting. As I was reading the stories from Mr Jun's youth, images of Chan Woo's family as portrayed by Bae Yong Joon in the drama First Love appeared in my head.

After Mr Jun graduated from high school, he served his military duty with the marine corps for three years. After that, he worked in a company dealing with composite wood. When the company was penetrating the furniture market, he was the planning chief, responsible for design and operations.

He was not satisfied with just furniture with mother-of-pearl inlay, so he set up a lacquer research centre in Busan in 1980 and became involved in the creation of lacquer works passionately. The meaning of 'Japan' is actually lacquer, lacquer-ware,
or the act of coating with a brilliant, hard varnish, and in order to learn about the world-renowned Japanese lacquer painting techniques, he made numerous visits to Japan.

One day, the Meguro Gajeon commissioned Mr Jun to work on the restoration of an ozen (Japanese-style dining tray), and this was the turning point or trigger of the restoration project at Meguro Gajeon.

During Mr Jun's first visit to Meguro Gajeon, he found the name of a Chosun lacquer artist (Gwang-Shin) on the lacquer and mother-of-pearl works. Mr Jun swore "These works that bear the soul and the spirit of the lacquer-artist sunbae, I want to bring them back to life with my two hands."

From then on, Mr Jun made many visits to Meguro Gajeon, and spent two years to study and research secretly about how to restore these lacquer pieces. The entire process of how the restoration project was handed to Mr Jun was like a TV drama with an exciting plot and story development.
มาเริ่มที่ชีวิตของคุณจุน ตามที่เขาเขียนไว้ในหนังสือ
คุณจุนเกิดที่เมืองปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อปี 1952 เขาเกิดในครอบครัวที่ยากจน พี่ชายของเขาเสียชีวิตไปตอนเขายังอยู่แค่ป. 5 ตั้งแต่นั้นมาเขาจึงกลายเป็นลูกคนโต และต้องทำงานตั้งแต่เช้ายันค่ำทุกวัน ตอนอยู่มัธยมเขาเร่ขายขนมปัง ขนถ่าน ทำงานทุกประเภทเพื่อจุนเจือครอบครัว ระหว่างนี้เขาได้รับอิทธิพลจากคุณลุง 2 คนของเขาที่เป็นช่างวาด ทำให้เขาเริ่มสนใจการวาดภาพ ตอนที่ฉันอ่านเรื่องราววัยเด็กของคุณจุนอยู่นั้น ภาพครอบครัวของชางวุน ซึ่งเป็นบทที่เบยงจุนแสดงในเรื่อง First Love ได้ลอยขึ้นมาในหัวของฉัน

หลังจบชั้นมัธยม คุณจุนก็เข้ารับใช้ชาติโดยอยู่กองทัพเรือเป็นเวลา 3 ปี หลังจากนั้นเขาก็ทำงานในบริษัทที่ผลิตส่วนประกอบจากไม้ เมื่อบริษัทเริ่มตีตลาดเฟอร์นิเจอร์ เขาเป็นหัวหน้าฝ่ายวางแผน รับผิดชอบด้านการออกแบบและดำเนินงาน

แต่เขาไม่พอใจอยู่แค่การทำเฟอร์นิเจอร์ เขาจึงตั้งศูนย์ค้นคว้าเรื่องภาชนะเคลือบแล็คเกอร์ขึ้นที่ปูซาน ในปี 1980 และเข้ามาสร้างสรรค์งานแล็คเกอร์ด้วยความหลงใหล นิยามของคำว่า “ญี่ปุ่น” นั้นก็คือภาชนะเคลือบ หรือการเคลือบภาชนะให้สวยงามคงทน เพื่อเรียนรู้เทคนิคการวาดภาพแล็คเกอร์แบบญี่ปุ่นที่โด่งดังไปทั่วโลก เขาจึงหมั่นไปเยือนญี่ปุ่น

วันหนึ่งทางเมกูโร่ กาโจเอ็น จึงเสนอให้คุณจุนทำการบูรณะโอเซ็น (ถาดอาหารสไตล์ญี่ปุ่น) นี่คือจุดเปลี่ยนหรือต้นตอของงานบูรณะที่เมกูโร่ กาโจเอ็น

ตอนที่คุณจุนไปเยือนเมกูโร่ กาโจเอ็น เป็นครั้งแรก เขาได้พบชื่อศิลปินแล็คเกอร์สมัยโชซอนท่านหนึ่ง (กวางชิน) บนผลงานแล็คเกอร์และฝังมุก คุณจุนสาบานไว้ว่า “ผลงานเหล่านี้เต็มไปด้วยจิตวิญญาณของศิลปินแล็คเกอร์ ฉันจะทำให้มันกลับมามีชีวิตด้วยมือคู่นี้”

จากนั้นมาคุณจุนก็ไปที่เมกูโร่ กาโจเอ็น หลายต่อหลายครั้ง และใช้เวลาร่วม 2 ปีในการศึกษาและค้นคว้าอย่างลับๆ เกี่ยวกับการบูรณะผลงานแล็คเกอร์เหล่านี้ ขั้นตอนบูรณะทั้งหมดถ่ายทอดสู่คุณจุนเสมือนละครเรื่องหนึ่งที่เต็มไปด้วยเนื้อหาอันตื่นเต้น

The international person who loves his own country's culture with such passion;
bridging the gap between Japan and Korea with lacquer art.

The three-year restoration work was carried out at the compounds of a defunct primary school located in Kawai-mura within the Iwate-ken perfecture. Mr Jun's family of five lived in the village together with over 100 artisans; they experienced much difficulty and hardship. But they overcame all sorts of difficulties and challenges with the life philosophy of 'I will not retreat no matter the difficulty. I Can!'

In my mind, images of Mr Jun working on the restoration project with all his might
overlapped very naturally with the images of Bae Yong Joon fighting to complete the TWSSG filming despite his injuries. Mr Jun believes that one must first the culture of one's own country, before one can be a truly global citizen, and this has a common thread with Bae Yong Joon's own attitude towards life.

I've read Mr Jun's book; Mr Jun who 'bridges the gap between Japan and Korea through lacquer art', and Bae Yong Joon who 'who bridges the divide between Japan and Korea through TV dramas', I feel that there is some sort of fate between the two men.
งานบูรณะตลอด 3 ปีเป็นรูปเป็นร่างขึ้นที่โรงเรียนเก่าในคาวาอิมูระซึ่งอยู่ในอิวาเตะเค็น ครอบครัวคุณจุน 5 ชีวิต พักอยู่ที่หมู่บ้านร่วมกับช่างฝีมือนับร้อยคน พวกเขาต้องพบเจอกับอุปสรรคและความยากลำบาก แต่ก็เอาชนะมาได้และท้าทายกับชีวิตด้วยปรัชญาที่ว่า “ไม่ว่ายากลำบากแค่ไหนก็จะไม่ถอย ฉันทำได้”

ในใจของฉัน ภาพของคุณจุนที่ทำงานบูรณะอย่างไม่ย่อท้อถูกซ้อนทับด้วยภาพของเบยงจุนที่บากบั่นถ่ายทำ TWSSG จนสำเร็จทั้งๆ ที่บาดเจ็บ คุณจุนเชื่อว่าคนเราต้องให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมของประเทศตนเองก่อน ถึงจะก้าวสู่ระดับโลกได้อย่างแท้จริง นี่เป็นทัศนคติเดียวกันกับของเบยงจุนในการดำเนินชีวิต

ฉันได้อ่านหนังสือของคุณจุน คุณจุนผู้ที่ “เป็นสะพานเชื่อมระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีผ่านศิลปะแล็คเกอร์” และเบยงจุนผู้ที่ “เป็นสะพานเชื่อมระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีผ่านงานละคร” ฉันรู้สึกว่านี่คือโชคชะตาของบุคคลทั้งสอง

Met BYJ in December, had many things in common, and became lacquer teacher.

The Iwayama Urushi Art Museum is located at mid-way of the hillside, and it takes 10 minutes by car from Morioka city.

As the museum is now closed (temporarily), the spacious museum has become very quiet. In the studio on the second level, Mr Jun is working on creating high-end lacquered watches. During a break from this work, he told me the story about how he had met Bae Yong Joon.

"At first when Bae Yong Joon spoke about wanting to write the book 'Beauty of Korea',
I wasn't particularly interested. I was wondering if Yonsama was just wanting to do something nice-looking...

Later, through an email sent over by his staff, he had clearly expressed his wish to contribute towards the cultural exchange between Japan and Korea. So I too changed my mind."

Mr Jun and Bae Yong Joon's first meeting took place in Seoul on 19th December last year. They got along and chatted well together for about three-and-a-half hours.

"My son Hyun Min was also with us at that time. He looked at my son and said, 'Your name is Jun Hyun Min, and you're born on 23rd October 1989, right?'

I was very surprised then. Looks like he had read my book before the meeting, and had made preparation. I met him directly and listened to his ideals, on how he wants to experience and understand the culture personally and then to relay and disseminate the message from his own perspective. It was very admirable.

If it's for money, then it would be more profitable to just act in dramas and CFs (laughs). To go around the whole of Korea personally, he fired ceramics, made kimchi, and personally took pictures and did interviews. Even here, he too took pictures of my works, he's very good at photography."

With Bae Yong Joon, Mr Jun spoke about the history of lacquer, the present and its future. He even showed him the high-end Seiko watches made from gold and mother-of-pearl which were released last year.

Mr Jun said, "Traditional culture is not about copying or reproducing things
that existed in the past. Tradition must grow and move forward together with times,
culture has to change and progress together with the times. There're many fine and beautiful things about lacquer throughout history, it's still fine and beautiful to use lacquer in the art-form and cultures in this 21st century."

Bae Yong Joon who had listened to Mr Jun speak about lacquer history with his fullest attention told Mr Jun, "I'm not here to interview, but I want to learn lacquer painting. Can you teach me?"
Mr Jun said, "If you're doing this with just a cursory or casual attitude, or if you think it's cool to do this, then I'm very busy and have no time, and will reject you.

But if you really want to understand the journey of lacquer, and wish to create, then I will teach you."
พิพิธภัณฑ์ศิลปะอิวายาม่า อูรูชิ ตั้งอยู่กลางเนินเขา ใช้เวลาเดินทาง 10 นาทีทางรถยนต์จากตัวเมืองโมริโอกะ

ตอนนี้พิพิธภัณฑ์ปิดชั่วคราวจึงมีแต่ความเงียบสงบ ในสตูดิโอที่ชั้น 2 คุณจุนกำลังสร้างสรรค์งานนาฬิกาแล็คเกอร์ ช่วงหยุดพักจากงาน เขาเล่าเรื่องที่ได้พบกับเบยงจุนให้ฉันฟัง

“ตอนแรกที่เบยงจุนพูดว่าอยากเขียนหนังสือ Beauty of Korea ผมไม่ได้สนใจอะไรเป็นพิเศษ ผมคิดว่ายอนซามะคงอยากทำอะไรที่มันดูดีแค่นั้น
ต่อมาจากอีเมล์ที่สต๊าฟของเขาส่งมา เขาแสดงความปรารถนาอย่างชัดเจนที่จะทุ่มเทให้กับการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลี ผมจึงต้องเปลี่ยนใจ”

คุณจุนกับเบยงจุนพบกันครั้งแรกที่โซล เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ปีที่แล้ว พวกเขาคุยกันถูกคออยู่นาน 3 ชั่วโมงครึ่ง

“ลูกชายของผม ฮยุนมิน ก็อยู่กับเราด้วยตอนนั้น เขามองลูกของผมแล้วพูดว่า...เธอชื่อจุนฮยุนมิน เกิดวันที่ 23 ตุลาคม 1989 ใช่มั้ย”

ตอนนั้นผมแปลกใจมากเลย ดูเหมือนเขาอ่านหนังสือของผมก่อนที่จะมาพบกัน แล้วก็เตรียมตัวมาอย่างดี ผมได้พบตัวเขา ได้ฟังอุดมการณ์ของเขา ที่อยากจะมีประสบการณ์และเข้าใจวัฒนธรรมด้วยตัวเอง แล้วจึงถ่ายทอดออกมาเป็นข้อความจากมุมมองของเขาเอง เป็นสิ่งที่น่าชื่นชมจริงๆ

ถ้าทำเพื่อเงิน น่าจะได้เงินมากกว่าถ้าไปแสดงละครหรือถ่ายโฆษณา เขาเดินทางไปทั่วเกาหลีด้วยตัวเอง ไปเผาเซรามิค ไปทำกิมจิ ถ่ายภาพและสัมภาษณ์ด้วยตัวเอง แม้แต่ที่นี่เขาก็เป็นคนถ่ายภาพผลงานของผม เขาถ่ายภาพเก่งมากเลย”

กับเบยงจุน คุณจุนได้พูดถึงประวัติศาสตร์ของงานแล็คเกอร์ ทั้งปัจจุบันและอนาคตด้วย ทั้งยังให้เขาได้ชมนาฬิกาไซโก้ที่ทำมาจากทองคำและไข่มุก ซึ่งออกวางขายเมื่อปีที่แล้วด้วย

คุณจุนกล่าวว่า “วัฒนธรรมดั้งเดิมไม่ใช่การลอกเลียนแบบหรือทำซ้ำขึ้นมาใหม่จากสิ่งที่เคยมีในอดีต ประเพณีนั้นเติบโตและก้าวไปข้างหน้าพร้อมกับวันเวลา วัฒนธรรมต้องเปลี่ยนแปลงและก้าวหน้าไปพร้อมวันเวลา มีผลงานแล็คเกอร์ที่สวยงามอยู่มากมายในอดีต แต่มันยังคงสวยงามที่จะใช้งานแล็คเกอร์ในผลงานศิลปะและสื่อถึงวัฒนธรรมของศตวรรษที่ 21 นี้”

เบยงจุนฟังคุณจุนพูดถึงประวัติศาสตร์ของงานแล็คเกอร์ด้วยความสนใจอย่างยิ่งแล้วบอกคุณจุนว่า “ผมไม่ได้มาที่นี่เพื่อสัมภาษณ์ แต่ผมอยากเรียนการวาดภาพแล็คเกอร์ คุณช่วยสอนผมได้มั้ย”

คุณจุนตอบว่า “ถ้าคุณจะมาทำสิ่งนี้แบบเล่นๆ หรือขอไปที หรือถ้าคุณคิดว่าทำแบบนี้มันเท่ดี ผมยุ่งมากและไม่มีเวลาให้ ผมคงต้องขอปฏิเสธ

แต่ถ้าคุณอยากเข้าใจการเดินทางของงานแล็คเกอร์จริงๆ และต้องการสร้างสรรค์ผลงาน ผมจะสอนให้คุณเอง”

(to be continued)

No comments:

Post a Comment

Note: Only a member of this blog may post a comment.