ฟีนิกซ์ปรากฏตำนานของพวกอียิปต์โบราณ ในฐานะของสัตว์เทพในตำนานซึ่งคู่ควรแก่การบูชา ยกย่อง เคารพ ฟีนิกซ์เกี่ยวข้องกับเทพแห่งไฟ ดังนั้นจะสังเกตได้ว่า ขนนกของฟีนิกซ์นั้นจะออกเป็นประกายเหลืองทองคล้ายเปลวไฟ บ้างก็ว่าปกคลุมด้วยเปลวไฟทั้งตัว ขนาดของนกฟีนิกซ์นี้จะมีขนาดเท่านกอินทรีตัวโต จงอยปากและส่วนขาเป็นสีทอง ประกายขนสีแดงถึงเหลืองทอง มีเสียงร้องที่ไพเราะดังเสียงดนตรี รูปร่างสวยสง่างาม บางครั้งหยิ่งผยอง บางครั้งเปี่ยมด้วยความเป็นมิตร บางตำนานเล่าว่านกนี้สามารถฟื้นชีวิตให้กับผู้ตายได้ และสามารถฟื้นพลังทั้งหมดให้กลับสู่ปกติได้ ฟีนิกซ์เป็นสัตว์ในเทพนิยายที่อยู่ภายใต้การดูแลของเทพแห่งไฟ ฟีนิกซ์เป็นสัตว์ที่นิสัยอ่อนโยน เพลงของฟีนิกซ์มีเวทมนตร์สามารถกระตุ้นความกล้าหาญ แห่งจิตใจบริสุทธิ์ และทำให้เกิดความกลัวในจิตใจที่คิดร้าย เชื่อกันว่าน้ำตาของนกฟีนิกซ์มีพลังในการรักษาบาดแผลได้
ชาวอียิปต์เรียกนกฟินิกซ์ว่าบีนู (Benu) ในช่วงฤดูน้ำหลากของแม่น้ำไนล์ซึ่งหมายถึงเวลาที่แม่น้ำสายสำคัญในอียิปต์ได้เอ่อล้น ท่วมผืนแผ่นดินที่แห้งแล้วให้อุดมสมบูรณ์อีกครั้งนั้น ผู้คนจะมองเห็นนกบีนูหรือนกฟินิกซ์นี้ได้จากที่สูง และแลดูคล้ายกับพระอาทิตย์กับลังลอยอยู่เหนือน้ำ ความเชื่อเกี่ยวกับนกฟีนิกซ์ยังได้ถูกเชื่อมโยงเข้าไปเกี่ยวกับเทพรา (เทพดวงอาทิตย์)หรือที่เรารู้จักกันในนาม เทพอพอลโล (Apollo) ที่วิหารเฮลิโอโปลิส ซึ่งตำนานของเมืองเฮลิโอโปลิสกล่าวว่า บีนูจะถือกำเนิดใหม่จากเปลวไฟอันศักดิ์สิทธ์ ณ วิหารของเทพเจ้ารา โดยบีนูจะขึ้นไปนอนอยู่บนแท่นที่เรียกว่า ben-ben-stone
The Egyptians were the first to speak of Benu, which later became the Phoenix in Greek legends. Benu is mostly depicted as a heron, with a long straight back, a head adorned with two erect feathers, and its plumage red and golden. It was the sacred bird of Heliopolis, city of the Sun, where it stayed on the ben-ben stone or obelisk, inside the town's sanctuary. Its true home was however the Arabian desert; it only came back to Heliopolis to die and be reborn. Benu was associated with the Sun God Ra and with Osiris, God of the Underworld, who is said to have given the secret of eternal life to Benu. Benu symbolises rebirth, as it rises from its ashes like a new sun rises when the old has died. It also symbolises a new period of wealth and fertility, when the Nile flooded the earth each year.
บทกวีที่โด่งดังเกี่ยวกับนกฟีนิกซ์และเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกสำหรับนักวรรณกรรม ซึ่งเขียน โดย ปูบลิอัส โอวิดิอัส นาโซ (Publius Ovidius Naso) หรือที่เรารู้จักกันในนาม Ovid จากเรื่อง เมตาร์มอร์ฟอเซส (Metamorphoses 15. 385 ff) 43 ปีก่อนคริสตกาล เขียนบรรยายเป็นบทกวีและมีผู้ถอดความเป็นกลอนแปดของไทย ได้ความว่า :
นกโบราณในนิยายชาวอียิปต์
เป็นนกทิพย์เกิดและตายได้หลายหน
อายุยืนห้าร้อยปีเหมือนมีมนต์
ชื่อฟีนิกซ์นกแห่งชนพ้นกาลเวลา
ไม่กินพืชเมล็ดพันธ์ธัญญาหาร
ดื่มน้ำหวานสมุนไพรมีในป่า
ครบวงจรชีวิตลิขิตมา
จะสร้างรังรอท่าบนยอดไม้
ใช้อุ้งเท้าประจงทำที่เผาศพ
วางเครื่องเทศอวลตลบอบเชยใส่
เปลือกและยางไม้หอมกรุ่นละมุนละไม
กลางควันหอมชีพลับไปให้คนลือ
***ต้องขออภัยเป็นอย่างยิ่งค่ะที่ไม่ทราบว่าผู้เขียนคือใคร...ผู้อ่านท่านใดทราบกรุณาบอกด้วยค่ะ***
Ovid (Publius Ovidius Naso (43 BCE – 17 AD) from Metamorphoses 15. 385 ff ) for a further account of the phoenix:
“Most beings spring from other individuals;
but there is a certain kind which reproduces itself.
The Assyrians call it the Phoenix.
It does not live on fruit or flowers,
but on frankincense and odoriferous gums.
When it has lived five hundred years,
it builds itself a nest in the branches of an oak,
or on the top of a palm tree.
In this it collects cinnamon, and spikenard,
and myrrh, and of these materials
builds a pile on which it deposits itself,
and dying, breathes out its last breath amidst odors.
From the body of the parent bird a young Phoenix issues forth,
destined to live a life as long as its predecessor.
When this has grown up and gathered sufficient strength,
it lifts its nest from the tree (its own cradle and its parent’s sepulcher),
and carries it to the city of Heliopolis in Egypt,
and deposits it in the temple of the Sun.”
ประวัติของ โอวิด (Ovid) หรือ ปูบริอัส โอวิดิอัส นาโซ (Publius Ovidius Naso) เป็นนักกวีชาวโรมันโบราณที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่ง เขามาจากครอบครัวของเศรษฐีผู้มั่งคั่ง พ่อของโอวิดต้องการให้เขาเป็น นักกฎหมาย แต่สิ่งที่โอวิดสนใจมากที่สุดคือการเขียน ดังนั้นเขาจึงเลือกที่จะเดินทางท่องเที่ยวไปยังดินแดนต่าง ๆ เช่น กรีซ อียิปต์ และดินแดน เพื่อจดบันทึกและเขียนบทกวีมากมายหลายเล่ม นอกจากนี้ โอวิดยังสนใจในเรื่องของเทพเจ้าทั้งกรีซ โรมัน อียิปต์ หรือที่เรารู้จักกันในนามว่า “เทพปกรณัม” และยังเป็นผู้ที่เชื่อถือในลัทธิมังสวิรัติ vegetarian ด้วย
บทร้อยกรองของโอวิด ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือ เมตาร์มอร์ฟอเซส (Metamorphoses) โอวิดมีพรสวรรค์อย่างยิ่งเกี่ยวการจินตนาในเรื่องเทพเจ้าต่าง ๆ ดังนั้นบทละครและบทกวี เมตามอร์ฟอเซส จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับ เทพเจ้าต่างๆ แปลง กายเป็นมนุษย์และสัตว์ บั้นปลายชีวิตของ Ovid ได้เขียนบทกวี ชื่อ Ars amatoria (The Art of Love) ศิลปแห่งความรัก บทกวีชิ้นนี้ทำให้จักรพรรดิ Augustus Caesar ไม่พอใจเป็นอย่างมาก พระองค์สั่งปลดเขาออกจากการเป็ยพลเมืองของโรมันและเนรเทศออกจากโรมัน จึงเป็นเหตุให้เขากลายเป็นกวีพลัดถิ่นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
Publius Ovidius Naso (March 20, 43 BC – 17 AD) was a Roman poet known to the English-speaking world as Ovid who wrote on many topics, including love (he is the medieval magister amoris, "master of love"), abandoned women and mythological transformations. Traditionally ranked alongside Virgil and Horace as one of the three canonical poets of Latin literature, Ovid was generally considered a great master of the elegiac couplet. His poetry, much imitated during Late Antiquity and the Middle Ages, had a decisive influence on European art and literature for centuries.
Elegiac couplets are the meter of most of Ovid's works: the Amores, his two long erotodidactic poems (the Ars Amatoria and Remedia Amoris), his poem on the Roman calendar (the Fasti), the minor work Medicamina Faciei Femineae (on makeup), his fictional letters from mythological heroines (the Heroides or Epistulae Heroidum), and all the works written in his exile (five books of the Tristia, four of the Epistulae ex Ponto, and the long curse-poem Ibis). The two fragments of the lost tragedy Medea are in iambic trimeter and anapests, respectively; the Metamorphoses was written in dactylic hexameter. (Dactylic hexameter is the meter of Virgil's Aeneid and of Homer's epics.)
Source : http://tsat.transform.to/stories/metamorphoses.08.html
http://en.wikipedia.org/wiki/Ovid
Roytavan : Writer
No comments:
Post a Comment
Note: Only a member of this blog may post a comment.