27.10.10

[News] "23rd Tokyo International Film Festival" the Latest Japan-China Feud Victim – 'Vivian Hsu' in Tears.


"วิเวียน ซู" (Vivian Hsu) น้ำตาร่วง: ศึก จีน, ไต้หวัน ขัดแย้งกันที่เทศกาลหนังโตเกียว
Cr. - chinarealtime / GrooveAsia News / manager onlimne

ปัญหากระทบกระทั่งระหว่าง จีน, ญี่ปุ่น และไต้หวัน ระลอกใหม่เกิดขึ้นที่เทศกาลหนังโตเกียว ซึ่งถึงกับเป็นผลให้นักแสดง และผู้กำกับชาวไต้หวัน ไม่ได้รับการอนุญาตให้เดินบนพรมเขียวระหว่างงาน ขณะที่ฝ่ายนักแสดงสาว "วิเวียน ซู" (Vivian Hsu) ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง ถึงกับน้ำตาร่วงกับเรื่องวุ่นวายครั้งนี้กันเลยทีเดียว

นอกจากกิจกรรมฉายภาพยนตร์ และการร่วมงานของเหล่าคนดังมากมายแล้ว การเมืองดูจะเป็นเรื่องปกติของเทศกาลภาพยนตร์โตเกียวไปแล้ว เช่นเดียวกับในงานประจำปี 2010 ซึ่งเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่สัปดาห์ก่อน กับความขัดแย้ง และการงัดข้อกันของสองประเทศบ้านใกล้เรือนเคียง ซึ่งมีผลกระทบไปถึงเหล่านักแสดงที่เดินทางมาร่วมงานด้วย

เหตุเกิดจากปัญหา "ไต้หวัน - ไชนิสไทเป"

ประเด็นของคำว่า 'ไต้หวัน และ ไชนิสไทเป' ได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นมาจนได้ เมื่อตัวแทนจากรัฐบาลจีน ไม่พอใจผู้รับผิดชอบจัดงานเทศกาลหนังโตเกียว จนถึงขั้นขอถอนหนังหลายเรื่องจากเทศกาลหนัง และบอยคอตต์ไม่เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในงานครั้งนี้เพียงเพราะผู้จัดงานเรียกตัวแทนจากไต้หวันว่า 'ไต้หวัน'

เจียงผิง หัวหน้าคณะผู้แทนจากจีน ได้กล่าวโทษผู้จัดงานเทศกาลว่าไม่ควรอนุญาตให้คณะผู้แทนจากประเทศเพื่อนบ้าน เข้าร่วมงานในฐานะ 'ตัวแทนจากประเทศไต้หวัน' แต่ควรเป็น 'ตัวแทนจากไชนิส-ไทเป' ต่างหาก เพราะนั่นคือชื่ออย่างเป็นทางการ สำหรับใช้ในงานสำคัญระดับนานาชาติ รวมถึงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ไต้หวันก็ถูกเรียกว่า ไชนิสไทเป เช่นเดียวกัน

เจียงผิง ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการทั่วไปของ สำนักกิจการวิทยุ ภาพยนตร์ และโทรทัศน์แห่งชาติจีน (SARFT) ยังกล่าวกับผู้สื่อข่าวระหว่างร่วมงานครั้งนี้วา "เราต้องการประท้วงผู้จัดงาน ที่แนะนำตัวแทนของสองประเทศว่ามาจาก 'จีน และไต้หวัน' นอกจากนั้นผู้จัดงานยังปฏิเสธคำร้องของเราที่ให้เปลี่ยนคำเรียก ไต้หวัน เป็น 'ไชนิส-ไทเป' หรือ 'ไต้หวันที่ส่วนหนึ่งของจีน' ด้วย"

"เรื่องนี้มันไม่ได้เกี่ยวข้องกับไต้หวันซึ่งเป็นเพื่อนร่วมชาติของเรา แต่เป็นความผิดพลาดของผู้จัดงานเทศกาลหนังโตเกียว" ตัวแทนของจีนกล่าว และยังแสดงจุดยืนในเรื่องนี้ด้วยการถอนตัวจากกิจกรรมอื่น ๆ ของงานโดยอ้างว่า ผู้จัดงานเทศกาลภาพยนตร์โตเกียวละเมิดต่อจุดยืนเรื่อง 'จีนเดียว' ของประเทศ

ขณะที่ฝ่ายของตัวแทนจากไต้หวันซึ่งนำโดย เฉินฉือกวน ผู้อำนวยการสำนักงานข้อมูล สังกัดกองกิจกรรมภาพยนตร์ กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ศิลปะควรถูกแยกให้ออกห่างจากปัญหาทางการเมือง เขายังเสริมว่าในปีก่อน ๆ ประเทศได้เข้าร่วมเทศกาลหนังโตเกียวในฐานะไต้หวันมาโดยตลอด ซึ่งทางจีนก็ไม่เคยมีปัญหาอะไร
โดยขณะนี้มีการยกเลิกการฉายหนัง 9 เรื่องที่มาจากจีนไปเรียบร้อยแล้ว ขณะที่หนังจีนสองเรื่องอย่าง Buddha Mountain และ The Piano in A Factory ที่เข้าฉายในสายประกวด ยังได้รับอนุญาตให้ฉายต่อไป โดยทีมงานของภาพยนตร์เรื่อง The Piano in A Factory ยืนกรานว่าจะทำทุกอย่างตามนโยบายของ SARFT

หลิวเจียงหยง รองประธานสถานบันนานาชาติศึกษา มหาวิทยาลัยชิงหัว มองว่าการประท้วงครั้งนี้เป็นสิทธิ์ของรัฐบาลจีนต่อจุดยืนเรื่องจีนเดียว "ญี่ปุ่นควรทราบว่าปัญหาเรื่องไต้หวัน เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดของรัฐบาลปักกิ่ง ที่ไม่มีวันจะยอมประนีประนอม โตเกียวต้องไม่พยายามทำให้ปัญหาซับซ้อนขึ้นไปอีก โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ความสัมพันธ์ระหว่าง จีน และญี่ปุ่นกำลังเปราะบางเช่นนี้"

ซึ่งนักวิเคาะห์บางคนยังตั้งข้อสังเกตว่าเรื่องดังกล่าว ไต้หวัน อาจเพียงถูกใช้เป็นเครื่องมือของจีน ในการสร้างปัญหาให้กับญี่ปุ่น หลังสองประเทศมีปัญหาข้อพิพาทเรื่องหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ รวมถึงปัญหาข้อขัดแย้งเรื่องการจับตัวชาวประมงจีนโดยทางการญี่ปุ่นเมื่อเร็ว ๆ นี้ด้วย



ดาราโดนลูกหลง "วิเวียน ซู" น้ำตาร่วง

ผลจากการงัดข้อกันครั้งนี้ ทำให้ดารา และคนทำหนังชาวไต้หวันหลายคนที่เดินทางไปร่วมงาน ไม่สามารถเดินบนพรมเขียว (เทศกาลหนังญี่ปุ่นเลือกใช้พรมเขียวแทนพรมแดง เพื่อสนับสนุนแนวคิดเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม) ในฐานะตัวแทนจากไต้หวันได้ หลังผู้จัดงานเกรงว่าจะทำให้สถานการณ์ร้อนแรงขึ้นไปอีก

แฟรงค์ เฉิน หัวหน้าคณะตัวแทนจากไต้หวัน กล่าวว่าเขารู้สึกเสียใจกับเรื่องที่เกิดขึ้น แต่ยังเชื่อว่าชาวญี่ปุ่นจะสนใจหนังจากประเทศตนเองเช่นเดิม "หนังไต้หวันยอดเยี่ยมมากอยู่แล้ว ชาวญี่ปุ่นยังคงชอบหนังของเรา" ขณะที่ผู้กำกับ หลี่คัง ยอมรับว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเริ่มใหญ่โตเกินว่าเรื่องหนังและความบันเทิงไปแล้ว "ปัญหาที่เกิดขึ้นมันไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับการฉายหนังแล้ว แต่เป็นประเด็นจีนเดียวที่ใหญ่กว่าเรื่องหนังมาก" เขายอมรับ

ระหว่างการแถลงข่าวของคณะตัวแทนจากไต้หวัน ดาราสาวสวยวัย 35 ปี วิเวียน ซู หรือ สียั่วเซียน ที่รู้สึกเสียใจกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ถึงกับหันหลังเพื่อไปเช็ดน้ำตา โดยนักแสดงหนุ่ม หรวนจิงเทียน (Ethan Ruan) พยายามปลอบใจดาราสาวรุ่นพี่ ด้วยการแตะไปที่ไหล่ของเธอ และพยายามส่งสัญญาณไปถึงทีมงาน เพื่อขอกระดาษทิชชูให้กับวิเวียน

วิเวียน ยังกล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า "ไม่ได้เดินพรมเขียวเป็นเรื่องโชคร้ายจริง ๆ ค่ะ ทั้งผู้กำกับ, อีธาน (หรวนจิงเทียน) และจางจวินหนิง (Janine Chang) ดื่มหนักกันจนถึงเช้าก็เพราะเรื่องนี้เลย" โดยคณะตัวแทนจากไต้หวันได้ทราบถึงปัญหาต่าง ๆ มาตั้งแต่ต้นแล้ว แต่ก็ยังเตรียมตัวเพื่อเดินพรมเขียวในงานใหญ่ครั้งนี้ จนกระทั่งกิจกรรมดังกล่าวต้องถูกยกเลิกไปในวินาทีสุดท้าย "อีธาน โมโหกับเรื่องนี้มากถึงกับถอดเนคไทออก และขว้างมันลงกับพื้นเลยค่ะ" วิเวียน เล่าถึงเหตุการณ์

ซึ่งหลังเกิดปัญหาขึ้นทั้งผู้กำกับ และนักแสดงในคณะตัวแทนจากไต้หวันบางคน ได้ตัดสินใจเดินทางกลับประเทศภายในวันที่ 23 ต.ค. ทันที ขณะเดียวกันนักแสดงทั้งจากไต้หวัน, จีน และฮ่องกง ที่มีกำหนดร่วมงานเทศกาลหนังโตเกียว ก็ขอยกเลิกกำหนดการดังกล่าว รวมถึง เหลียงเฉาเหว่ย (Tony Leung) และ จางจื่ออี๋ (Zhang Ziyi) ขณะที่ ฟั่นปิงปิง (Fan Bing Bing) ให้เหตุผลว่าติดถ่ายภาพยนตร์ในเกาหลีใต้ จึงไม่สามารถเดินทางมาโตเกียวว่า

ในภายหลัง ดาราสาวขวัญใจชาวไต้หวันยังแสดงความผิดหวังกับเหตุการณ์ดังกล่าว และโพสต์ภาพชุด และเครื่องประดับ ที่เตรียมไว้สำหรับการเดินพรมเขียว แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ใช้ ในเว็บไซต์ของเธอ นอกจากนั้นยังกล่าวแบบติดตลกถึงเรื่องนี้ว่า "พอไม่ได้เดินพรมเขียวแล้ว สิ่งที่เราทำได้ก็คือวางกระดาษสีเขียวลงบนพื้นเพื่อเดินกันเองบริเวณหลังเวที ก็แค่ทำกันเล่น ๆ สนุก ๆ เท่านั้นล่ะค่ะ"




[News] "23rd Tokyo International Film Festival" the Latest Japan-China Feud Victim – 'Vivian Hsu' in Tears.
Cr. - chinarealtime

In the latest chapter of the deepening diplomatic drama between China and Japan, China has announced that it will no longer participate in the 23rd Tokyo International Film Festival after controversy erupted over the naming of the event’s Taiwanese delegation.

Jiang Ping, head of a Chinese group that planned to attend the film festival–which kicked off this weekend–said China would pull out of the event because fellow participant Taiwan refused to change its name to “China’s Taiwan” or “Chinese Taipei.” Mr. Jiang’s insistence came at the last minute Saturday, and prevented a number of Taiwanese and Chinese celebrities from making their star-studded appearances on the environmentally friendly green carpet.

Nine Chinese-language films set to be screened during the event will be pulled, while plans for two other films set to be shown as part of the festival’s competition portion are uncertain, the Global Times reported. A spokesman for one of the films told the paper it would still compete in the festival, while representatives of the other film said they would follow instructions from China’s State Administration of Radio, Film and TV.

Just in case observers got confused about the target of China’s ire, Jiang, who is also deputy director-general of SARFT’s film bureau, emphasized to state media that the blame lay not with the Taiwan festival delegation, but with the Japanese organizers: “It has nothing to do with our Taiwan compatriots. It is the fault of the Tokyo organizers,” he told the Global Times.

But Taiwan’s Central News Agency reported that Chen Chih-kuan, the head of the Taiwanese delegation, was surprised at Beijing’s decision. The island had simply applied for the event under the name “Taiwan” as it had done without incident in years past, he said. Taiwanese officials called the move by Beijing “rude.”

“Obviously, the leader of the Chinese delegation, Jiang, made a serious mistake. We have participated in film festivals, including the Tokyo [Film Festival] under the name of Taiwan for years,” Premier Wu Den-yih said.

CNA reported that Taiwanese actress Vivian Hsu broke into tears during a press conference Sunday in Tokyo while discussing the Mainland’s move, which prevented her and others from making their carpet debut.

It is not the first time China has withdrawn from a film festival as a form of political protest. Last year, several Chinese filmmakers pulled out of the Melbourne International Film Festival, Australia’s largest, to protest its inclusion of a documentary about Rebiya Kadeer, an exiled Uighur leader whom Beijing has accused of inciting violent protests in its volatile Uighur-dominated Xinjiang province.

The move is only the latest in a series of rifts between China and Japan, following last month’s diplomatic spat after a Chinese fishing vessel collided with two Japanese patrol boats in an area near islands over which both China and Japan claim sovereignty. Following that incident, the two countries have also argued publicly over the death of a panda at a Japanese zoo, the arrest of four Japanese construction company employees at a Chinese military site and China’s rare earth exports to Japan. Popular protests have ignited in cities on both sides.

CORRECTIONS: An earlier version of this post followed Global Times in describing the group headed by Jiang Ping as “the Chinese delegation to the film festival.” According to festival organizers, there was no official Chinese delegation and none of the Chinese guests at the festival made any official request regarding the naming of the Taiwan delegation. The earlier version also said that the Chinese withdrawal from the festival prevented Taiwanese and Chinese stars from appearing on the green carpet. In fact, some did make an appearance.



Vivian Hsu’s tears become fodder for debate on the Web :
By Chang Mao-sen@GrooveAsia News / Staff Reporter in Tokyo, with staff writer

Taiwanese actress Vivian Hsu (徐若瑄), who was in tears following a row in which members of Taiwan’s delegation to the Tokyo International Film Festival were unable to walk the “green carpet” because of Chinese opposition, quickly became the subject of a spat between fans on both sides of the Taiwan Strait who have split into pro-Hsu and anti-Hsu camps.

Having wept openly at the opening ceremony, Hsu made several entries on her microblog to express her frustration afterward. Hsu said she “wanted to cry but had no tears left” and that “some things that happen just can’t be helped.”

Taiwanese actress Shu Qi (舒淇) attempted to comfort Hsu, saying: “There are too many things we’d like to solve but can’t. If you’re tired, go to sleep. Your health, at least, is one thing you can make sure of.”

Controversy brewed over Hsu’s tears as Chinese and Taiwanese fans argued it out in comments posted on her blog. The pro-Hsu netizens sympathized with her and other members of the Taiwanese delegation for their frustration, while the other camp accused the actress of playing to the cameras for publicity.

The controversy also drew attention on China’s Web portal Baidu, with more than 80 percent of Chinese posters saying they would boycott any performance by Hsu in China. Some Chinese posters even blamed the festival’s Japanese hosts for the incident.

“It’s the Japanese up to their tricks again, creating divisions between Taiwan and mainland China,” one poster said, while another commented: “The Japanese are stirring up trouble on purpose, but the Taiwanese are dancing to their tune.”

Some even suggested that the argument over what name the Taiwanese delegation would use had something to do with the territorial dispute between China and Japan over the Diaoyutai Islands (釣魚台) and that Taiwan was acting like a gun in Japan’s hand.

As the Taiwanese delegation was unable to walk the green carpet at the event’s opening ceremony due to vehement opposition by the Chinese delegation over the delegation’s use of the name “Taiwan” rather than “Chinese Taipei” or “Taiwan, China,” Taiwanese actor Alec Su (蘇有朋), who starred in the Chinese movie Love Song of Kangding (康定情歌), was criticized for “putting fame before country” by performing the film’s theme song during “China Night” on Monday evening.

No comments:

Post a Comment

Note: Only a member of this blog may post a comment.