2.8.10

TV Stars' Fees Keep Spiraling



Source : englishnews@chosun.com / Jul. 30, 2010 11:51 KST

Thai Translation by Ladymoon



TV production companies have long been complaining about the exorbitant fees charged by top stars, which drive production costs up to the point where even a hit series no longer guarantees profits for the producers. But their complaints have curbed neither the stars' demands nor the public's appetite for watching them.

บริษัทผู้สร้างละครโอดครวญกันมานานแล้วเกี่ยวกับค่าตัวที่แพงระยับของเหล่าดาราดัง ซึ่งทำให้ต้นทุนในการผลิตถีบตัวสูงขึ้นแบบที่ต่อให้ละครฮิตติดตลาดก็ไม่อาจการันตีได้ว่าผู้สร้างจะมีผลกำไร แต่เสียงโอดครวญของพวกเขาก็ไม่อาจทำให้ค่าตัวของดาราลดต่ำลง หรือลดความกระหายของผู้ชมที่อยากชมผลงานของดาราที่พวกเขาชื่นชอบ

The leading star of the Korean pop-culture craze, actor Bae Yong-joon earned a record fee of W100 million (US$1=W1,202) per episode for MBC series "Taewangsasingi (The Four Guardian Gods of the King)" in 2007. In addition, he was reportedly guaranteed an additional W150 million per episode based on ratings and overseas sales. When Bae starred in "Winter Sonata," the series credited with setting off the craze, in 2002, he was paid W4 million per episode.

ดาราที่เป็นหัวแถวของกระแสคลั่งเคป๊อปย่อมต้องเป็นเบยงจุน เขาเป็นผู้ครองสถิติดาราค่าตัวสูงที่สุด ด้วยค่าตัว 100 ล้านวอนต่อตอน (ประมาณ 2.73 ล้านบาท ) จากละครเรื่อง “TWSSG” (Taewangsasingi / The Four Guardian Gods of the King) เมื่อปี 2007 นอกจากนั้นยังต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ต่างหากให้กับเขาในราคา 150 ล้านวอนต่อตอน (ประมาณ 4.08 ล้านบาท ) โดยคิดจากเรตติ้งและยอดขายในต่างประเทศ ตอนที่เบยงจุนแสดงเรื่อง “Winter Sonata” ละครที่สร้างกระแสคลั่งเกาหลีเมื่อปี 2002 นั้น ค่าตัวของเขาอยู่ที่ 4 ล้านวอนต่อตอน (ประมาณ 1 แสนบาท )

Other stars also rake in huge sums. Park Shin-yang made W50 million per episode and Lee Byung-hun W25 million for "Iris," though Lee's actual earnings added up to W100 million per episode considering all the incentives. Actresses Son Ye-jin, Kim Tae-hee and Ko Hyun-jung make about W20-30 million per episode, excluding additional incentives if their dramas get re-aired or sold overseas. Pan Entertainment President Kim Jong-sik said, "Compared to five years ago, actors get paid five to six times more now on average."

ดาราคนอื่นๆ ก็มีค่าตัวดุเดือดไม่แพ้กัน ปาร์คชินยัง มีค่าตัวอยู่ที่ 50 ล้านวอนต่อตอน (ประมาณ 1.36 ล้านบาท ) และลีบยุงฮุน มีค่าตัวอยู่ที่ 25 ล้านวอนต่อตอน (ประมาณ 6.8 แสนบาท ) จาก “IRIS” แต่ตอนนี้ลีบยุงฮุนค่าตัวพุ่งขึ้นไปสูงถึง 100 ล้านวอนต่อตอนแล้วเมื่อนับรวมผลประโยชน์ที่เขาได้รับทั้งหมดจากการขายลิขสิทธิ์ละครเรื่องนี้ สำหรับฝ่ายหญิง ซอนเยจิน คิมแตฮี และโกฮยุนจุง ค่าตัวอยู่ที่ประมาณ 20-30 ล้านวอนต่อตอน ไม่นับรวมผลประโยชน์จากการออกอากาศละครในต่างประเทศ ประธานของแพนเอนเตอร์เทนเม้นท์กล่าวว่า “เมื่อเทียบกับ 5 ปีก่อน ดาราจะได้รับค่าตัวมากกว่าเมื่อก่อน 5-6 เท่าโดยเฉลี่ย”

This distorts the way productions are financed. According to the Korea Creative Content Agency, actors' fees account for 60 percent of the total cost of a TV drama, compared to 20 percent in Japan. TV production companies argue that the terrestrial networks demand big names, allowing the stars to negotiate exorbitant contracts.

ตามรายงานของ Korea Creative Content Agency ค่าตัวดาราอยู่ที่ประมาณ 60% ของต้นทุนทั้งหมดในการผลิตละคร ทางผู้ผลิตกล่าวว่าทางสถานีต้องการดารามีชื่อเสียง ทำให้ดารามีอำนาจในการต่อรองเวลาทำสัญญา

The CEO of a TV production company said, "When I visit broadcasters with a business plan for new drama without a star in the cast, they refuse and say we need to get a few huge stars in the cast. If we want to get a place in the program list, we have no choice but to do what they say because they have absolute power."

CEO ของบริษัทผู้สร้างกล่าวว่า “เวลาที่เรานำแผนไปเสนอทางสถานีสำหรับละครเรื่องใหม่ หากไม่มีชื่อดาราอยู่ในนั้นด้วย พวกเขาจะปฏิเสธและบอกให้เราไปหาดาราใหญ่ๆ มาแสดง ถ้าเราต้องการให้ละครถูกบรรจุไว้ในโปรแกรม เราก็ไม่มีทางเลือก ได้แต่ทำตามที่ดาราเรียกร้องมา เพราะพวกเขามีอิทธิพลกันจริงๆ”

Broadcasters claim they have to protect their investment. Huh Woong, head of the drama department at SBS, said, "It is broadcasters' inherent right to demand a better cast when viewers’ have trust in star actors, because the risk of airing unpopular dramas fall mostly on broadcasters."

ทางสถานีก็อ้างว่าพวกเขาจำเป็นต้องปกป้องผลประโยชน์ของตัวเอง ฮูวุง หัวหน้าฝ่ายละครของ SBS กล่าวว่า “มันเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของทางสถานีที่จะเรียกร้องให้ผู้สร้างหาดาราใหญ่ๆ มาร่วมแสดง ในเมื่อผู้ชมเชื่อมั่นในตัวดาราเหล่านั้น เพราะการออกอากาศละครที่อาจไม่ได้รับความนิยม ความเสี่ยงทั้งหมดย่อมตกอยู่ที่ทางสถานี”

No comments:

Post a Comment

Note: Only a member of this blog may post a comment.