28.1.09

...แม้ความเป็นหนึ่งก็เป็นศูนย์...


"แม้ความเป็นหนึ่งก็เป็นศูนย์"

ศิลปะการวาดภาพแบบเซ็นนั้น อาศัยสมาธิเป็นอย่างมาก
ศิลปินจะต้องเป็นผู้ฝึกสมาธิอย่างดี
และได้พิจารณาวัตถุที่จะวาดนั้นจนเข้าใจได้ลึกซึ้ง
ปัจจัยในการวาดภาพเซ็นมี ๓ ย่าง คือ
ตัวศิลปิน พู่กัน (และหมึก) และวัตถุที่จะวาด
ศิลปินนั้นจะต้องฝึกสมาธิจนแน่วแน่ชนิดที่สามารถ
รวมปัจจัยทั้งสามเข้าเป็นหนึ่งจึงจะวาดภาพเซ็นได้อย่างสมบูรณ์

ข้าพเจ้าไม่ใช่ศิลปินเซ็น กว่าจะวาดวงกลมให้กลมเช่นนี้ได้
ก็ต้องวาดเป็นร้อยวงทีเดียว ภาพนี้ตั้งใจจะให้วงกลมนั้น
เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นหนึ่ง ในการทำสมาธิ
โดยทั่วไปเรามักจะพูดว่า
"รวมจิตใจให้เป็นหนึ่ง"
แต่ในการปฏิบัติธรรม แบบเซ็น
ซึ่งยกระดับขึ้นสู่โลกุตธรรมแล้วนั้นแม้หนึ่งก็ไม่มี
เพราะถ้ายังมีหนึ่ง ย่อมหมายถึงการยึดมั่นถือมั่นในจิตอยู่
ปรัชญาเซ็นปฏิเสธการยึดมั่นแม้ในจิตนั้น

เมื่อสังฆนายกนิกายเซ็นองค์ที่ห้า
ได้ให้ลูกศิษย์แสดงความรู้ที่ได้ปฏิบัติธรรมมานั้น
ชินเชา สานุศิษย์ชั้นนำผู้หนึ่งได้เขียนโศลกว่า

"กายของเราเปรียบเหมือนต้นโพธิ์
จิตนั้นเป็นกระจกเงา
หมั่นปัดกวาดเช็ดทุกวัน
มิให้ฝุ่นละอองจับต้องได้"

เว่ยหล่างหรือฮุยเหนิง
ซึ่งต่อมาได้รับเลือกให้เป็นสังฆนายกองค์ที่หก
และเป็นอาจารย์ทีมีชื่อเสียงเป็นอันมากของนิกายเซ็น
ได้ให้เขียนโศลกที่อธิบายธรรมะที่ว่า
"แม้ความเป็นหนึ่งก็เป็นศูนย์" ไว้ดังนี้

"กายไม่ใช่ต้นโพธิ์
จิตไม่ใช่กระจกเงา
ไม่มีทั้งต้นโพธิ์และกระจกเงา
แล้วฝุ่นจะลงจับอะไร?"

โศลกอันแรกนั้นยังมีการยึดถือในจิต
จึงยังต้องมีความพากเพียรชำระจิตให้สะอาด
แต่โศลกของฮุยเหนิง ก้าวข้ามขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง
โดยปฏิเสธแม้การยึดมั่นในจิต
ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวว่า

" แม้ความเป็นหนึ่งก็เป็นศูนย์ "


***อ่านแล้วเห็นว่าเข้าท่า...เลยนำมา Post ให้อ่านค่ะ****


No comments:

Post a Comment

Note: Only a member of this blog may post a comment.