20.10.10

[Digress] Article - Pin Pia : The miraculous music instrumentfrom heaven of Lanna Kingdom.

อุ้ยบุญมา ไชยมะโน (2465-2548) ครูเพลงเปี๊ยะ อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง
พ่อครู พิณเปี๊ยะ คนสุดท้าย ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว


พิณเปี๊ยะเครื่องดนตรีแห่งสรวงสวรรค์ของลานนา

กล่าวกันว่า "พิณเปี๊ยะ" หรือ "เปี๊ยะ" เป็นเครื่องดีดตระกูลพิณที่ไพเราะ เสียงเบา และ เล่นยากที่สุดอย่างหนึ่งในบรรดาเครื่องดนตรีทั้งหมดทั้งมวล ช่างดนตรีทางเหนือพูดเปรียบเปรยให้เข้าใจได้ง่ายว่า "หัดเปี๊ยะ 3 ปี หัดปี่ 3 เดือน" ก็เพราะการจะบรรเลงให้ได้ดีนั้น ต้อง ใช้เทคนิคและความชำนาญเป็นอย่างมากผู้หัดจำต้องมีพื้นฐานทางดนตรีที่ดีมาก่อน

เสรี ชุ่มไชยา หนึ่งในกลุ่มผู้สืบสานศิลปวัฒนธรรมการเล่นเครื่องดนตรีพิณเปี๊ยะ

การดีดต้องดีดด้วยเทคนิคพิเศษที่เรียกว่า "ป๊อก" เพื่อให้เกิดเสียง คม ใส ดังก้องกังวาลนานกว่าเสียงธรรมดา ไม่เพียงมีวิธีดีดที่พิเศษ เปี๊ยะยังมีโครงสร้างของระบบเสียงที่พิเศษอีกด้วยคือ เสียงที่เกิดจากการ "ป๊อก" จะส่งผ่านตามสายไปยังหัวเปี๊ยะ แล้วไหลผ่าน ตามสายมายังกล่องเสียงซึ่งทำจากกะลามะพร้าวผ่าครึ่งที่แนบอยู่กับหน้าอกผู้เล่น คลื่นเสียงจะผ่านอากาศในช่องของกล่องเสียง ไปสะท้อนกับแผ่นอกผู้เล่น แล้วสะท้อนออกมาทางช่องว่างระหว่างกะลากับหน้าอก ผู้เล่นต้องปรับขนาดช่องว่างนี้ด้วยมือซ้ายเพียง มือเดียว เพื่อให้ได้น้ำเสียงที่นุ่มนวลและทุ้มแหลม หนัก-เบา หรือโทนเสียงต่างๆได้อย่างต่อเนื่อง


เล่าขานตำนานพิณเปี๊ยะ

จากคำบอกเล่าของ อุ้ยบุญมา ไชยมะโน (2465-2548) ครูเพลงเปี๊ยะ อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง พ่อครู พิณเปี๊ยะ คนสุดท้าย ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว "ในสมัยก่อน ในส่วนของพิณ ถ้าอู้เข้าเข้าไปลึกๆ ก็คือเฮาจะได้ฮีตได้ฮอย มาจากของตางอินเดีย ก็คือมันจะเป็นพิณน้ำเต้า แล้วมันก็จะพัฒนามาเป็นสองสายหรือเฮาจะฮ้องว่าพิณเปี๊ยะ เพราะกับกำว่าพิณมันก็คือการจั้กสาย แล้วก็เป็นเครื่องสาย หรือว่าเครื่องดีด ละก้อเปี๊ยะก็คือการอวดเนี้ยะ เพราะฉะนั้นในส่วนการได้ฮีตได้ฮอยจากอินเดียมา เฮาก็จะหันได้ว่ามันคงจะมีการพัฒนามาเรื่อยๆ แล้วก็คนในสมัยตะก่อน เปิ้นก็ว่ากันว่าจะใจ้ในส่วนของพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ แล้วก็ถ้าเฮากึ้ดย้อนนึกไปสมัยตะก่อน ในการตี้หัวของพิณเปี๊ยะทำด้วยสำริด มันก็จะต้องเป็นคนตี้ เป็นผู้ที่มีอำนาจ หรือว่าเป็นคนตี้อยู่ในศาสนาหรือคนจั้นสูง ถ้าจะมีหัวตี้เป็นสำริด แล้วก็สร้างขึ้นมาได้ แล้วแถมอย่างหนึ่งเปิ้นก็บอกว่า อาจจะเล่นในพระราชวังต่างๆ แล้วอยู่ต่อมา สืบทอดต่อๆ กันมาเรื่อยๆ อาจจะตกอยู่ใน สังคมของชนชั้นเจ้า แล้วก็ลงมาเรื่อยๆ ถอยมาเรื่อยๆ อาจจะเป็นสังคมที่สืบทอดจากเจ้ามาสู่คนธรรมดา ละก็มีว่ากันว่า เปิ้นก็ได้เอาพิณเปี๊ยะเนี้ยะ ไปเล่นแอ่วสาวเหมือนกัน เพราะว่าพ่ออุ้ยแปง นวลจา เปิ้นก็ได้เกยอู้ไว้ว่าพิณเปี๊ยะในสมัยตะก่อนเปิ้นก็เกยหัดเล่น เปิ้นก็เอาไปเล่นแอ่วสาวตามบ้านตามจองต่างๆ ละก้อ ช่วงจากป้ออุ้ยแปง นวลจา รู้สึกว่ามันก็จะหายไป แล้วก็มีการฟื้นกันขึ้นมาใหม่"...

ชาวล้านนาสมัยก่อนเรียกพิณเปี๊ยะ (เอกสารโบราญสมัยกรุงศรีอยุธยาเรียกพเยีย บางเล่มเรียก เพลี้ย, เพียะ) สั้นๆว่า “ เปี๊ยะ ” ในภาษาเหนือแปลว่า อวด หรือ เทียบเชิง คนที่เล่นเปี๊ยะได้จะดูโก้เก๋มากกว่าคนที่เล่นดนตรีพื้นๆ อย่างสะล้อ ซอ ซึง เวลาเล่นแต่ละครั้งจึงเหมือนเล่นอวดกัน เป็นการเล่นประชันขันแข่ง จึงทำให้สันนิษฐานกันว่า ชื่อ “ พิณเปี๊ยะ ” หรือ “ เปี๊ยะ ” อาจจะมีที่มาด้วยเหตุนี้ก็ได้ ส่วนใครเป็นคนคิดประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรก ไม่ปรากฏหลักฐานยืนยันแน่ชัด ได้แต่สันนิษฐานกันว่าพิณเปี๊ยะพัฒนามาจากพิณน้ำเต้าที่พวกพราหมณ์ เป็นผู้ทำขึ้นเล่นก่อน เพื่อประกอบการสวดโองการอ่านภควัตคีตา ต่อมาพราหมณ์ได้เผยแพร่เข้าสู่สุวรรณภูมิเมื่อประมาณพันกว่าปีมาแล้ว ดนตรีชนิดนี้จึงติดตามเข้ามาด้วยไม่ว่าจะเป็นที่รัฐฉานของประเทศพม่า ประเทศเขมร ภาคเหนือตอนบนของไทย แม้กระทั่งในกรุงศรีอยุธยาเองก็มีหลักฐานยืนยันว่ามีการเล่นพิณเปี๊ยะมาก่อน ช่วง ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา แทบจะไม่ปรากฏว่ามีการเล่นพิณเปี๊ยะในแถบภาคกลางและภาคอีสานอีกเลย แต่ยังคงเล่นอย่างแพร่หลายในภาคเหนือมาจนถึงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่ระบบเศรษฐกิจและวัฒนธรรมจากภายนอกไหลบ่าเข้ามาแทนที่ วิถีชีวิตแบบสังคมเกษตรกรรมในชนบทเริ่มเปลี่ยนแปลงไป พิณเปี๊ยะเริ่มหายไปเพราะไม่ค่อยมีใครหัดหรือทำขึ้นมาเล่นอีก



ลักษณะของพิณเปี๊ยะ

พิณเพียะลักษณะคล้ายพิณน้ำเต้าแต่พิณเพียะทำเพิ่มขึ้นเป็น ๒ สาย และ ๔ สายก็มี คันทวนยาวประมาณ ๑ เมตรเศษ ลูกบิดก็ยาวประมาณ ๑๘ ซม. ใช้เชือกคล้องสายผูกโยงไว้กับทวนสำหรับเร่งเสียงเหมือนกับพิณน้ำเต้า กะโหลกก็ทำด้วยเปลือกลูกน้ำเต้าตัดครึ่งลูกก็มี ทำด้วยกะลามะพร้าวก็มีเวลาดีดก็เอากะโหลกประกบติดไว้กับหน้าอกขยับเปิดปิดเพื่อให้เกิดเสียงก้องกังวานตามต้องการเช่นเดียวกับดีดพิณน้ำเต้า ตามที่ปรากฏในท้องถิ่นภาคเหนือผู้เล่นมักจะดีดคลอขับร้องของตนเองและนิยมเล่นในขณะที่ไปเที่ยวเกี้ยวสาวตามหมู่บ้านในเวลาค่ำคืน เดี๋ยวนี้หาผู้ที่เล่นได้ยากแล้วแต่ยังพอมีพี่น้องชาวไทยทางภาคเหนือของประเทศไทยเล่นได้บ้าง ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมีเครื่องสายชนิดหนึ่งบอกไว้ว่า พิณเพียะ แต่ใช้ไม้จริงชนิดเบาทำเป็นกะโหลก ยาวตั้งแต่กะโหลกจนตลอดคันทวนประมาณ ๑.๒๒ เมตร แกะสลักฝังงาลงไปในเนื้อไม้เป็นลวดลายแพรวพราว ตัวกะโหลกกว้างประมาณ ๒๘ ซม. คันทวนแบนใหญ่กว้างประมาณ ๔๘ ซม. มีสายถึง ๕ สาย


พิณเปี๊ยะเครื่องดนตรีแห่งสรวงสวรรค์...ที่กำลังจะสูญหาย...

เรื่องราวของเครื่องดนตรีล้านนาที่เรียกว่า "พิณเปี๊ยะ" ที่กำลังจะสูญหาย เนื่องจากขาดผู้ที่จะรับสืบทอดหรือเผยแพร่ ทำให้ คุณคำหล้า หรือ “ธัญยพร อุตธรรมชัย” ศิลปินรุ่นใหม่แห่งลานนา เริ่มรณรงค์ผู้ต่อสู้เพื่อที่จะเผยแพร่ ศิลปะวัฒนธรรมล้านนา และเธอได้แต่งเพลงชื่อ เพลง “เพลงพิณเปี๊ยะ” ขับร้องท่วงทำนองด้วยภาษาคำเมืองของภาคเหนือ ประกอบดนตรีบรรเลงด้วย พิณเปี๊ยะ จนกระทั่งได้รับรางวัลพระพิฆเนศทองคำพระราชทาน : สาขา เพลงไทยพื้นบ้านภาคเหนือยอดเยี่ยม (21 มิ.ย. พ.ศ. 2548)

-----------------------------

เพลง “เพลงพิณเปี๊ยะ”
คำร้อง - ทำนอง - ขับร้อง : คำหล้า ธัญยพร



งาม….หนอไหนมาเปรียบปาน
สาย…ลมพริ้วพัดผ่าน
กาสะลองดอกน้อยกลีบบาน
หอมนวลภมวลซาบซ่านดังวิมานเพลงพิณ

ใจ …..ข้าเจ้าถวิล
โบก….โบยบิน.. คิดถึง
บอกเมฆขาว ลมหนาวตราตรึง
เสียงพิณปานสังข์ซาบซึ้ง เฝ้ารำพึงถึงเธอ

****เพลงพิณนี้ดั่งมนต์สวรรค์
มานพหนุ่มน้อยคนธรรพ์แดนสวรรค์ฉิมพลี
ฮ่วมกันบรรเลง เพลงพิณเปี๊ยะตามสายนที
ล่องลอยเหนือห้วงวารีกล่อมโลกนี้ชื่นบาน

...ลม…หนาวครวญแผ่วมา
แว่ว…พิณเปี๊ยะ ลานนา
มวลบุปผาบ่หอมโรยรา
หมอกเหมยเจ้าเย้ยใจข้า จำต้องลาเพลงพิณ ...


กาญจน์มุนี ศรีวิศาลภพ (ร้อยตะวัน) : เขียน





Pin Pia : The miraculous music instrument from heaven of Lanna Kingdom.
Roytavan : Writer

This song that you heared on time is the music instrument from 'Pin Pia' sung by KamLa Tanyothorn music artist of Lanna (Chiangmai Thailand)

While Listening to the unique, soothing music of northern Thailand, one might wonder, "Am I really in Thailand?" The rhythm, the harmony, the combination of soft string, wind and percussion instruments of the Lanna Kingdom of old continue on today in a traditional form of music that perfectly matches the gentle nature of northern Thailand.

In order to fully appreciate this music, it is important to be a bit familiar with the various instruments used to convey this very special feeling. It is also helpful to know something about the background of both the instruments and the way in which they're blended to produce such peculiarly northern resonance.



Over hundreds years ago, when the sounds of the Pin Pia played in the land of Lanna Thai kingdom, the beautiful rhythm of it was always heard through out the villages. Especially at nights, Not only did it have a very gentle voice, but also was resonant. It seemed like the rhythm of music from the heavens. There was no need for any musical instruments to play with it, nor a singer to attact the audiences.But it always made them felt imbued with happiness.

Pin Pia is a flinging music instrument. The most miraculous or amazing element is the method of the playing. The player himself must not wear his shirt and put the casket of it on his chest. This will help his muscles to control the voice of the rhythm and makes the sounds more beautifully.

That is why it made the Pin Pia became a high class musical instrument of the Lanna Thai kingdom. At the present, it is quite rare to find a good musician to play it. Except a few senior players.



The Legend of Pin Pia :
The string instruments are the Pin Pia, the Zueng and the Zalor. The Pin Pia is said to have been introduced to Lanna from northern China. It has either two or four strings which are anchored to the instrument neck to regulate sound. The body is made of half a gourd or half a coconut shell and the open part of this is held against the player's chest allowing him to control musical tone. Music from the this instrument is called "Music from the Heart."

The Zueng is related to the Chinese Moon Lute, It is a four-stringed instrument with two large strings and two small strings for sound variation. It is a single piece of carved hardwood with a horn or bone plectrum. The player holds the instrument against his chest with his left hand, while the right hand plucks the strings. There are nine frets to control and alter tonal quality.

The Zalor is a relatively crude instrument when compared to the Zeung or Pin Pia, but it has its own unique quality. It is made of slightly more than a half a gourd, the open surface covered with a slat of wood. The zalor has two wire strings and tautness is regulated by pegs equipped with animal hair. This instrument is usually played together with the Zeung in instrumental folk songs

Note : The Pin Pia has 2-4 strings with 50 cms.wooden bar long. Its casket is made of coconut shell.




No comments:

Post a Comment

Note: Only a member of this blog may post a comment.