3.9.11

[Article] 'Chuseok' Thanksgiving Day in Korea./ 'เทศกาลชูซ็อก' หรือ 'เทศกาลขอบคุณเทพเจ้าแห่งการเก็บเกี่ยวในคืนวันเพ็ญ' ของชาวเกาหลี


[Article] 'Chuseok' Thanksgiving Day in Korea. / 'เทศกาลชูซ็อก' หรือ 'เทศกาลขอบคุณเทพเจ้าแห่งการเก็บเกี่ยวในคืนวันเพ็ญ'ของชาวเกาหลี
Original : http://twssg.blogspot.com/


The 15th of the 8th Month of lunar calendar is when the entire Korean population head for their hometowns to celebrate Chuseok (추석) or Full Moon Harvest. For this year (2010), Chuseok will be on Sep. 22nd . It will be a long holiday in Korea.

ทุกวันที่ 15 เดือน 8 ตามปีปฏิทินของเกาหลี ชาวเกาหลีทุกคนจะมุ่งหน้ากลับบ้านเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาล Chuseok หรือเทศกาลเก็บเกี่ยวในคืนวันเพ็ญ ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ 22 ก.ย. แต่การเฉลิมฉลองจะทำกัน 3 วันคือ วันที่ 21-23 ถือเป็นวันหยุดยาวของชาวเกาหลี บางบริษัทห้างร้านจะปิดทำการตั้งแต่สุดสัปดาห์นี้ถึงสุดสัปดาห์หน้ากันเลยทีเดียว

Chuseok is one of the two biggest holidays in Korea. It is considered the Korean equivalent of Thanksgiving, and a time to honor ancestors with newly harvested grains and fruits.

Chuseok เป็นหนึ่งใน 2 วันหยุดสำคัญของเกาหลี เทียบเท่าได้กับวันขอบคุณพระเจ้าของชาวตะวันตก เป็นเวลาที่จะได้แสดงความเคารพต่อบรรพชน ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารที่เก็บเกี่ยวมาใหม่ๆ

People from all parts of the country visit their hometowns. They hold ancestral memorial services with traditional foods. Chuseok goes by other names such as Chochunil, Chungchujeol, Gabae and Hangawi, all of which means a great day.

ผู้คนจากทุกภาคของประเทศจะมุ่งหน้ากลับบ้าน กลับไปแสดงความคารวะต่อบรรพชนด้วยอาหารตามประเพณี Chuseok มีชื่อเรียกอื่นด้วย อาทิเช่น Chochunil, Chungchujeol, Gabae และ Hangawi ทั้งหมดล้วนแปลว่าวันที่ยิ่งใหญ่

The main drawback to Chuseok is the horrendous traffic. The trip back home can take more than 10 hours by car, but people don't seem to mind the inconvenience. Instead, they look forward to seeing their families and friends. Kids dress up in new hanbok, or traditional Korean dress, that are picked out especially for the occasion.

การมุ่งหน้ากลับบ้านในเทศกาล Chuseok ทำให้การจราจรติดขัด การเดินทางกลับบ้านอาจต้องใช้เวลานานนับ 10 ชั่วโมง แต่ก็ไม่มีใครบ่น พวกเขาเฝ้ารอคอยที่จะได้กลับไปพบกับครอบครัวและเพื่อนฝูง เด็กๆ จะสวมชุดฮันบกหรือชุดประจำชาติเกาหลี ที่ถูกเลือกสรรมาเพื่อโอกาสนี้โดยเฉพาะ




In the old days, Chuseok was also a time when people changed their clothing for autumn. Preparing new clothes for the holidays stems from that tradition.

ในสมัยโบราณ เทศกาล Chuseok ยังเป็นเวลาที่ผู้คนผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้าสำหรับรับฤดูใบไม้ร่วง การเตรียมเสื้อผ้าใหม่ๆ สำหรับเทศกาลวันหยุดนี้ถือเป็นประเพณีนิยม

Chuseok's history dates back about two thousand years old to the time of Silla King Euri, who ruled during the legendary period of the Three Kingdoms. He wanted to help the weaving industry grow so he organized a national weaving contest. The losers had to prepare certain foods for the winners. This was the origin of Chuseok, a holiday which later spread throughout the peninsula.

ประวัติศาสตร์ของ Chuseok ย้อนกลับไปประมาณ 2,000 ปีก่อน ในยุคสมัยของกษัตริย์ชิลลาที่มีพระนามว่า King Euri ทรงปกครองอยู่ในช่วงสมัยของ 3 อาณาจักรใหญ่ (โกคูเรียว แพ๊กเจ และชิลลา) ทรงประสงค์ที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมการทอผ้า จึงทรงดำริให้จัดการแข่งขันทอผ้าขึ้น ผู้แพ้จะต้องจัดเตรียมสำรับอาหารให้กับผู้ชนะ นี่จึงถือเป็นจุดกำเนิดของเทศกาล Chuseok ที่ต่อมากลายเป็นวันหยุดสำคัญของชาติ




Chuseok spans three days according to the lunar calendar. The first event on Chuseok day is the ancestral rite. Offerings prepared days in advance are set on the altar for the ritual.

เทศกาล Chuseok จะฉลองกันทั้งหมด 3 วัน วันแรกของเทศกาลคือการกราบไหว้บรรพบุรุษ โดยมีการเตรียมล่วงหน้า 1 วันสำหรับจัดแท่นบูชา

A family gathering in Korea means hearty eating. Once the ancestral rite is over, the entire family takes part in a grand feast. Unlike the lunar New Year's Day when tteokguk, or rice cake soup, is prepared, Chuseok features newly harvested rice used to brew rice wine and rice cakes. One popular dish eaten during the holidays is the soup toran, or beef broth with the starchy rootstock taro.

เมื่อครอบครัวมาอยู่พร้อมหน้ากันย่อมหมายถึงการกินข้าวมื้อใหญ่ด้วยกัน เมื่อพิธีกราบไหว้บรรพบุรุษเสร็จสิ้นลง ทั้งครอบครัวจะมาฉลองร่วมกัน จะไม่เหมือนในวันปีใหม่ที่จะมี tteokguk หรือ rice cake soup สำหรับ Chuseok ข้าวที่เก็บเกี่ยวมาใหม่ๆ จะถูกนำมาทำเป็นเหล้าและขนม (rice wine and rice cakes) อาหารที่นิยมกินกันในวันนี้ก็คือ ซุป toran หรือน้ำซุปจากเนื้อวัวใส่รากเผือก

People also prepare holiday foods such as songpyeon, or full moon rice cakes stuffed with sesame, beans, chestnuts, rice flour and newly harvested grains.




ในวันสำคัญนี้จะมีการเตรียมขนมประจำเทศกาลอย่าง songpyeon หรือ full moon rice cakes ที่ยัดไส้ด้วยงา ถั่ว เชสนัต แป้ง และธัญพืชที่เก็บเกี่ยวมาใหม่ๆ

A visit to ancestral graves comes after the big breakfast. The graves are cleared up days before Chuseok, with grass mowed and weeds plucked out. People take great care in maintaining their family graves, as an unkempt grave is seen as violating filial piety.

หลังอาหารเช้ามื้อใหญ่ก็คือการไปไหว้สุสานบรรพชน สุสานจะถูกทำความสะอาดเตรียมไว้ก่อนถึงวันเทศกาล โดยมีการถางหญ้าและวัชพืชออกให้สะอาด คนในครอบครัวจะต้องคอยดูแลสุสานบรรพชนอย่างดี การที่สุสานถูกทิ้งขว้างให้รกร้างถือเป็นลบหลู่บรรพชนผู้ล่วงลับไปแล้ว



Ganggangsullae (강강술래), a circle dance under the bright moon, is one of the most popular forms of Chuseok folk entertainment. Traditionally, village women assembled in a large circle, held hands, and went round and round while chanting a song under the full moon.

สำหรับ ganggangsullae (강강술래) คือการเต้นรำเป็นวงกลมภายใต้แสงจันทร์ คือหนึ่งในความบันเทิงยอดนิยมประจำเทศกาลนี้ ตามประเพณีดั้งเดิม ผู้หญิงในหมู่บ้านจะมายืนล้อมวงกัน จับมือกันไว้ ร้องเพลงและเต้นรำไปรอบๆ ใต้จันทร์เพ็ญ

The dance begins slowly and gradually picks up speed as the song quickens. The lead singer starts the song and the rest of the women answer by chanting "ganggangsullae" or "ganggangsuwollae."

จังหวะการเต้นรำจะเริ่มจากช้าๆ แล้วค่อยเร่งจังหวะเร็วขึ้น จะมีคนร้องนำ และคนที่เหลือจะขานรับด้วยคำว่า "ganggangsullae" หรือ "ganggangsuwollae"




The origin of the dance dates back hundreds of years. The Japanese attacked the Joseon Dynasty (1392-1910), but the Korean soldiers were too few in number to fight the larger Japanese army. Legendary Korean Admiral Yi Sun-shin then suggested that all the ladies in a town get together and make a circle.

ต้นกำเนิดของการเต้นรำนี้ย้อนหลังไปเมื่อหลายร้อยปีก่อน ตอนที่ญี่ปุ่นบุกโจมตีโชซอน (ปี 1392-1910) ทหารเกาหลีมีจำนวนน้อยจนไม่อาจต่อกรกับกองทัพใหญ่ของญี่ปุ่นได้ ยีซุนชิน (ลีซุนชิน) ท่านผู้บัญชาการทัพในขณะนั้นจึงแนะนำให้ผู้หญิงทุกคนมายืนล้อมวงกัน

Then he asked them to go up to the mountains under the bright full moon and spin around. The Japanese saw the dancing women and thought that there were so many Korean soldiers that they ran away. After the war, Koreans performed the dance every year to commemorate the victory.

แล้วให้พวกเธอขึ้นไปบนเขาและเต้นรำไปรอบๆ ภายใต้แสงจันทร์ส่องสว่าง พวกญี่ปุ่นเห็นผู้หญิงเต้นรำและคิดว่าทหารเกาหลีมีจำนวนมากเหลือเกินจึงถอนทัพกลับไป หลังสงครามครั้งนั้น ชาวเกาหลีจึงจัดการเต้นรำแบบนี้ขึ้นทุกปีเพื่อเป็นการรำลึกถึงชัยชนะในครั้งนั้น

And so Koreans gather under the bright moon, a symbol of peace and wealth, to share the rewards of a bumper crop and to wish for a life as fulfilling as the moon.

แล้วการที่มาร่วมกันเต้นรำภายใต้แสงจันทร์เช่นนี้ เท่ากับเป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพและความมั่งคั่ง เพื่อแบ่งปันพืชผลที่งอกงาม และขอให้ชีวิตสดใสอิ่มเอิบดุจดั่งพระจันทร์ในคืนเพ็ญ

No comments:

Post a Comment

Note: Only a member of this blog may post a comment.