29.10.09

Loy Krathong Festival by Ladymoon.




“วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง...”

ได้ยินเสียงเพลงนี้บรรเลงขึ้นทีไร เป็นสัญญาณว่า “วันลอยกระทง” มาถึงอีกปีแล้ว ใช่ค่ะ วันพระหน้าหรือวันพระจันทร์เต็มดวงที่จะถึงนี้ คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 หรือประเพณีลอยกระทงที่เราแสนจะคุ้นเคยกัน มาทบทวนความจำกันสักนิดกับประเพณีเก่าแก่แต่ครั้งสมัยสุโขทัย ประเพณีที่เดินทางผ่านกาลเวลามานานนับร้อยๆ ปี และยังคงมีมนต์ขลังไม่เปลี่ยนแปลงดังเช่นครั้งอดีตกาล



วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย "มักจะ" ตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายนตามปฏิทินสุริยคติ (ปฏิทินจันทรคติก็คือ ข้างขึ้นข้างแรม อย่างที่เราเรียกกัน ส่วนปฏิทินสุริยคติก็คือปฏิทินสากลที่ใช้กันทั่วไปนะคะ) ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก

สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป

ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ จากธรรมชาติ ตกแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ทิ้งไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาพระแม่คงคาด้วย



เดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนาง
นพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่า “พิธีจองเปรียง” ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 3

ปัจจุบันวันลอยกระทงเป็นเทศกาลที่สำคัญของไทย ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเที่ยวปีละมากๆ ทั้งนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวมักจะเป็นช่วงต้นฤดูหนาว และมีอากาศดี ในวันลอยกระทง ยังนิยมจัดประกวดนางงาม ที่เรียกกันว่า "นางนพมาศ"

สำหรับประเพณีลอยกระทงก็แตกต่างกันไปตามแต่ภูมิภาค อาทิเช่น



ภาคเหนือตอนบน นิยมทำโคมลอย เรียกว่า "ลอยโคม" หรือ "ว่าวฮม" หรือ "ว่าวควัน" ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบอลลูน ประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า "ยี่เป็ง" หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่ (ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย และในปีนี้มีโคมน้องแพนด้าขายด้วยค่ะ แปลกดีจริงๆ)


สำหรับจังหวัดตาก จะลอยกระทงขนาดเล็กทยอยเรียงรายไปเป็นสาย เรียกว่า "กระทงสาย" ซึ่งผู้ที่ปล่อยกระทงสายนี้มีความสามารถอันน่าทึ่งมาก ที่กะระยะได้อย่างพอดิบพอดี ทำให้กระทงลอยไปเป็นสายอย่างสวยงาม น่าทึ่งมากๆ ค่ะ และจังหวัดสุโขทัยก็จะมีขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง หรือ “การเผาเทียนเล่นไฟ” นั่นเองค่ะ

สำหรับภาคอีสาน จะตกแต่งเรือแล้วประดับไฟ เป็นรูปต่างๆ เรียกว่า "ไหลเรือไฟ" โดยเฉพาะที่จังหวัดนครพนม เพราะมีความงดงามและอลังการที่สุดในภาคอีสาน


สำหรับกรุงเทพมหานคร ในปีนี้ก็มีหลายจุดตลอดแนวลำน้ำเจ้าพระยาที่จัดงานในแคมเปญ “สีสันแห่งสายน้ำ” เลือกไปเที่ยวชมกันได้ตามอัธยาศัยค่ะ ส่วนภาคใต้ก็มีการจัดงานวันลอยกระทงอย่างยิ่งใหญ่ด้วยเช่นกัน

สำหรับความเชื่อในแต่ละท้องถิ่นก็มีแตกต่างกันไป สำหรับคนไทยเราเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคาที่มนุษย์ได้ใช้น้ำ ใช้ดื่มใช้กิน รวมไปถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในแม่น้ำ และเป็นการลอยความทุกข์ ความโศกรวมถึงโรคภัยต่างๆ ให้ลอยไปกับแม่น้ำ

สำหรับชาวอินเดียเชื่อกันว่าเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าทรงได้ประทับรอยพระบาทไว้ที่หาดทรายแม่น้ำนัมทามหานทีในประเทศอินเดีย

สำหรับชาวไทยในภาคเหนือมีความเชื่อว่า การลอยกระทงเป็นการบูชาพระอุปคุต ตามตำนานเล่าว่า พระอุปคุตทรงสามารถปราบพญามารได้ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อใดก็ตาม ก็ได้สืบสานประเพณีอันงดงามนี้ให้คงอยู่มานานหลายร้อยปี

และสำหรับในปีนี้ ไม่ว่าท่านจะอยู่ในภูมิภาคใดของประเทศก็ตาม ขอให้ทุกท่านสนุกสนานกับประเพณีลอยกระทงที่กำลังจะมาถึงในวันที่ 2 พ.ย. นี้นะคะ และอย่าลืมใช้กระทงจากวัสดุธรรมชาติด้วยนะคะ ไม่งั้นจะยิ่งเป็นการทำร้ายสายน้ำมากกว่าการขอขมาลาโทษ และเที่ยวกันอย่างมีสติ ระมัดระวังอุบัติเหตุฟืนไฟกันด้วยนะคะ




Have you ever been to Thailand? If you visit Thailand around this time of the year, the early of November, you may enjoy with this great festival all over Thailand – “Loy Krathong Festival”

Loy Krathong (or ลอยกระทง) is a festival celebrated annually throughout Thailand. Loy Krathong is held on the full moon of the 12th month in the traditional Thai Lunar Calendar. In the western calendar this usually falls in November (this year will be on November 2nd )

"Loi" means "to float". "Krathong" is a raft about a handspan in diameter traditionally made from a section of banana tree trunk, decorated with elaborately-folded banana leaves, flowers, candles, incense sticks etc. During the night of the full moon, many people will release a small raft like this on a river. Governmental offices, corporations and other organizations also build much bigger and more elaborate rafts, and these are often judged in contests. In addition, fireworks and beauty contests take place during the festival.



The festival probably originated in India as a Hindu festival similar to Deepavali as thanksgiving to the deity of the Ganges with floating lanterns for giving life throughout the year. According to the writings of H.M. King Rama IV in 1863, the originally Brahmanical festival was adapted by Buddhists in Thailand as a ceremony to honour the original Buddha, Siddhartha Guatama. Apart from venerating the Buddha with light (the candle on the raft), the act of floating away the candle raft is symbolic of letting go of all one's grudges, anger and defilements, so that one can start life afresh on a better foot. People will also cut their fingernails and hair and add them to the raft as a symbol of letting go of the bad parts of oneself. Many Thai believe that floating a krathong will create good luck, and they do it to honor and thank the Goddess of Water, Phra Mae Khongkha (พระแม่คงคา).

The beauty contests that accompany the festival are known as "Noppamas Queen Contests". According to legend, Noppamas was a consort of the Sukothai King Loethai (14th century) and she was the first to float decorated krathongs. The Thai tradition of Loy Kratong started off in Sukothai, but is now celebrated throughout Thailand, with the festivities in Chiang Mai and Ayutthaya being particularly well known.



In Chiang Mai Loi Kratong is also known as "Yi Peng". Every year thousands of people assemble to float the banana-leaf krathong onto the waterways of the city, honouring the Goddess of Water. A multitude of Lanna-style sky lanterns (khom fai) are also launched into the air where they resemble large flocks of giant fluorescent jellyfish gracefully floating by through the skies. These are believed to help rid the locals of troubles and are also taken to decorate houses and streets.


[Special thanks to wikipedia.org]



Loy Krathong Festival in Thailand
(Thank you Youtube for the video clip)



No comments:

Post a Comment

Note: Only a member of this blog may post a comment.