31.10.09

Happy Loykrathong Day (Thailand Festival).




Loy Krathong - TAT information in English

--------------------------------


Happy Loy Krathong Day 2009




The history of Loi Krathong festival


Loi Krathong festival is a Thai tradition which has been conducted for a long time ago. Loi Krathong has been held since the middle of the eleventh to the middle of the twelfth lunar month, which is a great flood season- especially on the full moon night of the twelfth lunar month. When the moon shines at night, it makes rivers clear. It is very beautiful scenery which is suitable for floating krathong.

In the past, we called “Loi Krathong” as “Chong Pa Rieng”- floating lantern of royal ceremony. It is a Brahman festival to worship Gods- Siva, Vishnu, and Brahma. When Thai people adopted Buddhism, they adapted this ceremony to honor the Buddha’s cremated bone- the original Buddha at the second heaven ruler. They floated lantern to worship the foot-print of the Buddha on Nammathanati River beach in India.

Floating krathong along the river was created by Nang Noppamas; the most favorite concubine’s Sukhothai king. She made krathong as lotus-shaped. The king of Sukhothai floated it along the river. According to Sri Chula Luck’s treatise, Phra Ruang (Sukhothai king) said “From now on, on the full moon night of the twelfth lunar month, kings of Siam have to make floating lantern- like lotus-shaped- to worship the foot-print of the Buddha on Nammathanati River for ever after.”

In Rattanakosin period, people often made big and beautiful krathong. According to Chao Phraya Dhipharachawong’s historical annals said:-

“In the twelfth lunar month on 14 and 15 waxing moon, I ask for members of the royal family and civil servants making big-sized krathongs- look like banana trunk rafts, they size 8-9 sauk width (an ancient Thai measure of length) and 10-11 sauk tall. They make for contesting each other. For example, some imitate krathong as Mount Meru - shaped and others make krathong as basket decorated with flowers. There are a lot of people to do these so they use a lot of money- about 20 chung (an ancient measure of weight).”

Nowadays, Loi Krathong festival is held in mostly Thai provinces. Particularly in Chiangmai, it has krathong parade, contestation of making krathongs, and Noppamas beauty pageants contest.

The villagers in northern and north-eastern parts of Thailand often float lanterns. They are made of color paper. If they float in the afternoon, they will use smoke for floating lanterns while they use torch to set smoke in lanterns to float them in wind chill at night. We can see the light from lantern in the sky with moonshine and stars’ glitter at night, which is very beautiful.



歴史

ローイクラトン祭りは陰暦12月(毎年だいたい11月頃)の満月の夜に行われます。この儀式には自らの罪を洗い浄め、川の女神コンカーへ川を汚したことを謝罪するという意味があります。また、ナマダ川岸にある仏様の仏足跡を祭る儀式、ウッパクットという仏陀の偉大なる門弟へ敬意の念を捧げる為の儀式などという言い伝えもあります。ローイクラトン祭りはタイ各地の川や水路などのほとりで盛大に開催され、地方によってその趣向は様々です。

タイ国政府観光庁は11月中の観光客誘致策として「水面が七色に輝く時、ローイクラトン祭り」と題し、タイの全国各地でイベントを開催します。特に有名なのは、バンコクのローイクラトン祭り、スコータイのローイクラトン蝋燭祭り、チェンマイのイーペン祭り、タークのローイクラトンサーイ祭り、アユタヤのバンサイ芸術センターローイクラトン祭りです。この他にもローイクラトン祭り実行委員会が観光客向けの大規模なトラベルフェアを開催します。





水灯节的来历

水灯节是泰国传统节日,水灯节是从十一月中旬举行至十二月中旬,这段时间是属于丰水期 ,河水两岸都盈满着水,其中最受人民欢迎的夜晚是十二月月圆的那天,因为在这一天月亮圆满,夜晚月光照明,使河水显得清晰 ,夜景优美,适合放水灯。

古时水灯节被称为“窘扁放天灯迎神节的皇家仪式”,是婆罗门的仪式,举行此一时为了崇拜印度婆罗门之三大神有湿婆神,衲莱神,婆罗贺摩神 。当泰国人民崇拜佛教之后,就开始举办举天登仪式,为了崇敬佛骨 ,崇拜居住在天坛最高层的珠拉玛尼神,放天灯祭拜在印度“楠玛坛体”河沙滩上的佛陀足印。

在河流上放水灯,此风俗是素可泰国王“帕峦赵”之贵妃名叫“糯帕玛”设计出莲花水灯,和各型别的水灯一之供奉帕峦赵国王,让国王将水灯放到河里随着水飘流。“涛习珠拉腊”典籍里怕峦赵有句话说 “从今天开始的将来,暹罗国各个王朝程序,将规定十二月圆之夜为假日,在此日制作莲花型天灯来敬奉祭拜楠咔坛体佛陀足印直到却终。”

一旦到旧曼谷时代 (Rattanakosin時期),将创作大型舆漂亮的水灯,比如在旧曼谷时代的历史演义中,有句话说

“一旦到十二月十四,十二月十五,十二月十六(白分一日),会举行窘扁放天灯迎神节,古时将请求有驮具的内外部王族与公务员来帮忙制作大水灯,被征用的人把木材接成桶子,把芭蕉树杆做成筏 ,宽度有的八肘有的九肘,水灯最高度十至十一肘,制造出来是为了比赛,此外还有弄成“苏眉录山”,做成四洲的水灯,也有弄成一层层的扁箩,以新鲜的财物来装饰。制作水灯的人上百个,做水灯还要缴请客费和艺术师费,总共算起来二十斤,或少于二十斤(斤是古钱的单位)”

“一旦到十二月十四,十二月十五,十二月十六(白分一日),会举行窘扁放天灯迎神节,古时将请求有驮具的内外部王族与公务员来帮忙制作大水灯,被征用的人把木材接成桶子,把芭蕉树杆做成筏 ,宽度有的八肘有的九肘,水灯最高度十至十一肘,制造出来是为了比赛,此外还有弄成“苏眉录山”,做成四洲的水灯,也有弄成一层层的扁箩,以新鲜的财物来装饰。制作水灯的人上百个,做水目前,差不多每个府都在举行水灯节,算是年度隆重节日花车 ,尤其清迈府,有大小水灯花车游行活动,此外还有水灯比赛,和每年水灯选美比赛活动。还要缴请客费和艺术师费,总共算起来二十斤,或少于二十斤(斤是古钱的单位)”

对于放天灯的活动,在泰国北方与东北方仍然受老百姓的喜爱 ,老百姓将用纸制作成大型的各色天灯,若是白天放天登,将以烟火推动天灯往天上升,若是晚上放的话,就用火炬在天灯口部点火,让点燃的火冒出烟火,使天灯随着冷风流而飘走,夜晚可以欣赏明亮的天灯在空中漂流 ,欣赏月光和漂亮的星星。


-----------------------------------





Loikrathong's lyrics



November full moon shines,
Loi Krathong, Loi Krathong,
and the water's high
in the river and local klong,

Loi Loi Krathong,
Loi Loi Krathong,
Loi Krathong is here and everybody's full of cheer,

We're together at the klong,
We're together at the klong,

Each one with this krathong,
As we push away we pray,
We can see a better day.


Link for music download
http://www.loikrathong.net/download/loikrathong-en.mp3



Source : http://www.loikrathong.net/


30.10.09

Diary of MC Kim Tei




Chinese to English: Joyce Lee
Source : Xiaoyi’s Blog



Diary of the lady MC (Kim Tei) at Tokyo Dome Event - Part 2
(Part 1 only mentioned about small talk with YJ at the resting area of the back stage.)


Does everyone remember the last scene of the meeting on 30th?
YJ walked through the passageway towards the central stage, after chatted at the central stage,he returned to the passageway again,remember me and Mr MC walked towards the centre?


Originally YJ was to leave from the central stage after the chats.
But because he returned to the passageway,Mr MC and me had to walk towards the passageway,thinking of guiding YJ to leave from the central stage.
YJ said, “Can’t I leave from here? I wish to leave from here.” Then, YJ walked through the passageway,and left from the stage at the back.


Afterwards I thought,YJ wished to see the whole event hall through his eyes,looking at his family members.
He could spend more time observing the family members compared to leaving at the central stage!
If he left from the central stage by descending,he would need to match the speed of the elevator,he couldn’t possibly gaze any longer even if he wished to.


This is really like YJ’s behavior.

Chuseok (추석 ) / เทศกาลชูซ็อก


...ทีมงานหลายท่านเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับเทศกาลลอยกระทงของไทยไปแล้ว..คราวนี้ก็มาพูดถึงเทศกาลของชาวเกาหลีใต้ที่ให้ความสำคัญกับดวงจันทร์กันบ้างนะคะ...เทศกาลดังกล่าวก็คงหนีไม่พ้น "เทศกาลชูซ็อก" หรือที่ทราบกันทั่วไปก็คือ วันขอบคุณเทพเจ้าของชาวเกาหลีนั่นเอง เริ่มเมื่อครั้งสมัยกษัตริย์ยูริ ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์ที่ 2 แห่งอาณาจักรโคคูเรียว...


เทศกาลชูซ็อก - Chuseok (추석)

ภาษาอังกฤษ มีทั้งเรียกทับศัพท์ว่า Chuseok หากแปลตามพจนานุกรมก็คือ Harvest Moon Day หรือที่ชาวต่างชาติรู้จักกันในนาม Thank Giving Day ของชาวเกาหลีนั่นเอง

Chuseok วันขอบคุณพระเจ้าของชาวเกาหลี

ทุกวันที่ 15 เดือน 8 ตามปีปฏิทินของเกาหลี (ตรงกับวันไหว้พระจันทร์ของคนจีน) ชาวเกาหลีทุกคนจะมุ่งหน้ากลับบ้านเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาล Chuseok หรือเทศกาลเก็บเกี่ยวในคืนวันเพ็ญ

Chuseok เป็นหนึ่งใน 2 วันหยุดสำคัญของเกาหลี เทียบเท่าได้กับวันขอบคุณพระเจ้าของชาวตะวันตก เป็นเวลาที่จะได้แสดงความเคารพต่อบรรพชน ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารที่เก็บเกี่ยวมาใหม่ๆ

ผู้คนจากทุกภาคของประเทศจะมุ่งหน้ากลับบ้าน กลับไปแสดงความคารวะต่อบรรพชนด้วยอาหารตามประเพณี Chuseok มีชื่อเรียกอื่นด้วย อาทิเช่น Chochunil, Chungchujeol, Gabae และ Hangawi ทั้งหมดล้วนแปลว่าวันที่ยิ่งใหญ่

การมุ่งหน้ากลับบ้านในเทศกาล Chuseok ทำให้การจราจรติดขัด การเดินทางกลับบ้านอาจต้องใช้เวลานานนับ 10 ชั่วโมง แต่ก็ไม่มีใครบ่น พวกเขาเฝ้ารอคอยที่จะได้กลับไปพบกับครอบครัวและเพื่อนฝูง เด็กๆ จะสวมชุดฮันบกหรือชุดประจำชาติเกาหลี ที่ถูกเลือกสรรมาเพื่อโอกาสนี้โดยเฉพาะ

ในสมัยโบราณ เทศกาล Chuseok ยังเป็นเวลาที่ผู้คนผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้าสำหรับรับฤดูใบไม้ร่วง การเตรียมเสื้อผ้าใหม่ๆ สำหรับเทศกาลวันหยุดนี้ถือเป็นประเพณีนิยม

ประวัติศาสตร์ของ Chuseok ย้อนกลับไปประมาณ 2,000 ปีก่อน ในยุคสมัยของกษัตริย์ชิลลาที่มีพระนามว่า King Euri ทรงปกครองอยู่ในช่วงสมัยของ 3 อาณาจักรใหญ่ (โกคูเรียว แพ๊กเจ และชิลลา) ทรงประสงค์ที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมการทอผ้า จึงทรงดำริให้จัดการแข่งขันทอผ้าขึ้น ผู้แพ้จะต้องจัดเตรียมสำรับอาหารให้กับผู้ชนะ นี่จึงถือเป็นจุดกำเนิดของเทศกาล Chuseok ที่ต่อมากลายเป็นวันหยุดสำคัญของชาติ

เทศกาล Chuseok จะฉลองกันทั้งหมด 3 วัน วันแรกของเทศกาลคือการกราบไหว้บรรพบุรุษ โดยมีการเตรียมล่วงหน้า 1 วันสำหรับจัดแท่นบูชา

เมื่อครอบครัวมาอยู่พร้อมหน้ากันย่อมหมายถึงการกินข้าวมื้อใหญ่ด้วยกัน เมื่อพิธีกราบไหว้บรรพบุรุษเสร็จสิ้นลง ทั้งครอบครัวจะมาฉลองร่วมกัน จะไม่เหมือนในวันปีใหม่ที่จะมี Tteokguk หรือ Rice cake soup สำหรับ Chuseok ข้าวที่เก็บเกี่ยวมาใหม่ๆ จะถูกนำมาทำเป็นเหล้าและขนม (Rice wine and Rice cakes) อาหารที่นิยมกินกันในวันนี้ก็คือ ซุป Toran หรือน้ำซุปจากเนื้อวัวใส่รากเผือก





ในวันสำคัญนี้จะมีการเตรียมขนมประจำเทศกาลอย่าง Songpyeon หรือ Full moon rice cakes ที่ยัดไส้ด้วยงา ถั่ว เชสนัต แป้ง และธัญพืชที่เก็บเกี่ยวมาใหม่ๆ

หลังอาหารเช้ามื้อใหญ่ก็คือการไปไหว้สุสานบรรพชน สุสานจะถูกทำความสะอาดเตรียมไว้ก่อนถึงวันเทศกาล โดยมีการถางหญ้าและวัชพืชออกให้สะอาด คนในครอบครัวจะต้องคอยดูแลสุสานบรรพชนอย่างดี การที่สุสานถูกทิ้งขว้างให้รกร้างถือเป็นลบหลู่บรรพชนผู้ล่วงลับไปแล้ว



สำหรับ Ganggangsullae คือการเต้นรำเป็นวงกลมภายใต้แสงจันทร์ คือหนึ่งในความบันเทิงยอดนิยมประจำเทศกาลนี้ ตามประเพณีดั้งเดิม ผู้หญิงในหมู่บ้านจะมายืนล้อมวงกัน จับมือกันไว้ ร้องเพลงและเต้นรำไปรอบๆ ใต้จันทร์เพ็ญ

จังหวะการเต้นรำจะเริ่มจากช้าๆ แล้วค่อยเร่งจังหวะเร็วขึ้น จะมีคนร้องนำ และคนที่เหลือจะขานรับด้วยคำว่า "Ganggangsullae" หรือ "Ganggangsuwollae"

ต้นกำเนิดของการเต้นรำนี้ย้อนหลังไปเมื่อหลายร้อยปีก่อน ตอนที่ญี่ปุ่นบุกโจมตีโชซอน (ปี 1392-1910) ทหารเกาหลีมีจำนวนน้อยจนไม่อาจต่อกรกับกองทัพใหญ่ของญี่ปุ่นได้ ยี่ซุนชิน ท่านผู้บัญชาการทัพในขณะนั้นจึงแนะนำให้ผู้หญิงทุกคนมายืนล้อมวงกัน

แล้วให้พวกเธอขึ้นไปบนเขาและเต้นรำไปรอบๆ ภายใต้แสงจันทร์ส่องสว่าง พวกญี่ปุ่นเห็นผู้หญิงเต้นรำและคิดว่าทหารเกาหลีมีจำนวนมากเหลือเกินจึงถอนทัพกลับไป หลังสงครามครั้งนั้น ชาวเกาหลีจึงจัดการเต้นรำแบบนี้ขึ้นทุกปีเพื่อเป็นการรำลึกถึงชัยชนะในครั้งนั้น

แล้วการที่มาร่วมกันเต้นรำภายใต้แสงจันทร์เช่นนี้ เท่ากับเป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพและความมั่งคั่ง เพื่อแบ่งปันพืชผลที่งอกงาม และขอให้ชีวิตสดใสอิ่มเอิบดุจดั่งพระจันทร์ในคืนเพ็ญ




Chuseok (추석 )

Chuseok (Korean: 추석), originally known as Hangawi (한가위) (from archaic Korean for "great middle"), is a major harvest festival and a three-day holiday in Korea celebrated on the 15th day of the 8th month of the lunar calendar. Like many other harvest festivals, it is held around the Autumn Equinox. As a celebration of the good harvest, Koreans visit their ancestral hometowns and share a feast of Korean traditional food.

Origins of Chuseok :

Historically and according to popular belief, Chuseok originates from Gabae started during the reign of the third king of the kingdom of Silla (57 BC - AD 935), when it was a month-long weaving contest between two teams. Come the day of Gabae, the team that had woven more cloth had won and was treated to a feast by the losing team.

Many scholars also believe Chuseok may originate from ancient shamanistic celebrations of the harvest moon. New harvests are offered to local deities and ancestors, which means Chuseok may have originated as a worship ritual. In some areas, if there is no harvest, worship rituals are postponed, or in areas with no annual harvest, Chuseok is not celebrated.

Traditional customs :
In modern South Korea, on Chuseok there is a mass exodus of Koreans returning to their hometowns to pay respects to the spirits of one's ancestors. People perform ancestral worship rituals early in the morning. They often visit the tombs of their immediate ancestors to trim plants and clean the area around the tomb, and offer food, drink, and crops to their ancestors. Harvest crops are attributed to the blessing of ancestors.



One of the major foods prepared and eaten during the Chuseok holiday is songpyeon (송편), a crescent-shaped rice cake which is steamed upon pine needles. Other dishes commonly prepared are japchae, bulgogi and fruits.



Folk games :
A variety of folk games are played on Chuseok to celebrate the coming of Autumn and rich harvest. Village folk dress themselves to look like a cow or a turtle, and go from house to house along with a Nongak band playing music. Other common folk games played on Chuseok are tug of war, ssireum, archery and gama fighting. Folk games also vary from region to region. Ganggangsullae dance which is forming a circle under a moon is performed by women and children in southwestern coastal regions, and cockfight or bullfighting in the southern regions.



Source : http://en.wikipedia.org/wiki/Chuseok


29.10.09

[Digress] ความเชื่อโบราณในวันลอยกระทง by JoEbOy.



ความเชื่อโบราณในวันลอยกระทง


ผู้สันทัดกรณีพิธีกรรมความเชื่ออันเกี่ยวโยงกับลอยกระทงรายหนึ่ง

เล่าย้อนสะท้อนยุคอดีตว่า... ความสำคัญของวันเพ็ญเดือน 12 นั้น คนไทยส่วนใหญ่ย่อมทราบถึง “ประเพณีลอยกระทง” ที่มีมาแต่โบราณในสมัยสุโขทัย ที่มีพื้นฐานความเชื่อมาจากลัทธิพิธีกรรมของพราหมณ์ ผสานกับศรัทธาในศาสนาพุทธ จนเกิด “ประเพณีชักโคม” ขึ้นเสาริมแม่น้ำเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณีในชั้นดาวดึงส์ และ “ประเพณีลอยโคม” บูชารอยพระพุทธบาท มีตำนานกล่าวขานถึง “นางนพมาศ” พระสนม “พระร่วง” ซึ่งได้คิดทำ “กระทงรูปดอกบัว” ถวายให้ลอยตามกระแสน้ำ จนเกิด “ประเพณีลอยกระทงประทีป” สืบต่อกันมา...






และสิ่งที่สืบต่อกันมาอันเกี่ยวเนื่องกับประเพณีลอยกระทง

ก็แตกแขนงเป็นหลายส่วน รวมถึงด้านพิธีกรรมความเชื่อ อย่างเช่น... “พิธีอาบน้ำเพ็ญ” ซึ่งเป็นความเชื่อในเรื่องการ “ใช้น้ำเป็นสื่อกลางในการดูดพลังจากพระจันทร์” โดยการอาบน้ำตามสายน้ำต่าง ๆ หรืออาบในที่โล่งแจ้งจากภาชนะที่เตรียมใส่น้ำไว้





พิธีอาบน้ำเพ็ญนี้เชื่อกันมาแต่โบราณว่า

เป็นการอาบน้ำชำระบาป สาปส่งสิ่งที่ไม่ดี และขจัดสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายให้หายไปจากจิตใจและร่างกาย เพื่อเป็นการสร้างเสริมบารมีและสิริมงคลแก่ชีวิต ถือเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ของตนเองและครอบครัว จะทำกันในคืนวันพระจันทร์เต็มดวงของวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12

“ปีหนึ่งจะมีเพียงวันเดียวที่ทำพิธีนี้ ในอดีตจะทำ ณ แม่น้ำที่เชื่อว่ามีความบริสุทธิ์ดุจดั่งน้ำทิพย์ ที่เต็มไปด้วยพลังอำนาจแห่งดวงจันทรา ที่สร้างอหังการปาฏิหาริย์ให้แข็งกล้า จนบังเกิดความขยันหมั่นเพียร เรียนรู้สู้ทุกอย่าง สร้างความเจริญรุ่งเรือง หนุนนำเนื่องแก่ผู้กระทำอย่าง สูงสุด”


...ผู้ศึกษาเรื่องนี้ระบุ และบอกอีกว่า...

พิธีนี้ก็มีวัดถือปฏิบัติกันมา เป็นการทำเฉพาะบางแห่ง โดยประเพณีในการอาบน้ำเพ็ญจะใช้พิธีกรรมที่มีพระสงฆ์และฆราวาสมาร่วมพิธีกันที่ลานกลางแจ้ง เพื่ออาบน้ำในตอนเที่ยงคืน โดยน้ำที่ใช้อาบนั้นจะต้องมีพระสงฆ์สวดเจริญพระพุทธมนต์ บางแห่งก็จะมีสายสิญจน์โยงสู่ภาชนะที่เก็บน้ำต่อเนื่องไปยังผู้เข้าร่วมพิธีทุกคน เพื่อให้มนต์และคาถาแผ่เมตตาเชื่อมโยงไปให้บังเกิดแต่สิ่งที่ดี มีความสำเร็จ มีความสุข สุขภาพแข็งแรง
"อาบแสงเพ็ญ” คือชื่อเรียกของอีกหนึ่งพิธีกรรมความเชื่อที่มีในยุคอดีต ที่เกี่ยวข้องกับ “ลอยกระทง” ซึ่งผู้สันทัดกรณีคนเดิมบอกว่า... สำหรับพิธีอาบแสงเพ็ญ ซึ่งจะกระทำในคืนเพ็ญเต็มดวงเดือน 12 นั้น ไม่ค่อยจะเป็นที่แพร่หลายหรือปฏิบัติกันมากนัก ผู้ปฏิบัตินั้นส่วนใหญ่มักจะเป็นบุคคลที่ได้รับรู้มา หรือได้รับการสืบทอดวิชาประเภทศาสตร์ลี้ลับ ไม่เป็นที่เปิดเผยแก่บุคคลหรือสาธารณชนทั่วไป





การอาบแสงเพ็ญ

จะนิยมทำกันในเวลาที่พระจันทร์เต็มดวงลอยเด่นเห็นประกายแสงจ้าสถิตอยู่บนฟากฟ้า ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นช่วงเวลาที่มีมนต์ขลัง โดยช่วงที่เต็มไปด้วย “พลังสูงสุด” คือช่วงเที่ยงคืนที่ “พระจันทร์อยู่ตรงหัวพอดี” ซึ่งในการอาบแสงเพ็ญนั้นจะทำได้หลายแบบ...

“ทั้งแบบที่มีเครื่องนุ่งห่มปิดบังร่างกาย หรือมีน้อยชิ้น หรือแบบที่ไม่มีเครื่องนุ่งห่มเลย ซึ่งการอาบแสงเพ็ญนั้นเชื่อกันว่าเป็นการดูดพลังจากพระจันทร์โดยไม่ต้องใช้น้ำสัมผัสกายเป็นสื่อกลาง”


นอกจากนี้ ผู้รู้ยังบอกต่อไปว่า...

ยังมีเรื่องเล่าต่อ ๆ กันมาสำหรับผู้มีวิชาทางไสยเวทว่า ผู้หญิงที่ต้องการเพิ่มเสน่หายาใจแก่ตนเองให้อาบแสงเพ็ญตอนเที่ยงคืน จะมีมนต์เสน่หาเป็นที่รักใคร่เมตตาอย่างยิ่ง โดยเฉพาะจากเพศตรงข้าม อีกทั้งผู้มีวิชาถือคาถาอาคมจะอาบแสงเพ็ญเพื่อให้วิชาแกร่งกล้าสามารถอาจหาญมากขึ้น นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่าคนเจ็บป่วย นักเรียน นักศึกษา หมอดู หากได้อาบแสงเพ็ญในคืนเดือนเพ็ญจะทำให้โรคภัยไข้เจ็บดีขึ้น การเรียนดีขึ้น ความจำดีขึ้น การพยากรณ์จะถูกต้องแม่นยำมากขึ้น

ทั้งนี้และทั้งนั้น จากพิธีกรรม-ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับคืน “ลอยกระทง” นี้ หากพิจารณาถึงปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับพระจันทร์





(ปล. ผมเห็นพี่ ๆ เขียนถึงเทศกาลลอยกระทง ผมเลยมาเขียนต่อบ้างนะครับ...อ๋อ ไม่ได้เขียนหรอกครับไปลอกของเขามาแต่จำไม่ได้แล้วว่ามาจากเวปไหน...ขออภัยท่านเจ้าของเนรื่องด้วยนะครับ หากบังเอิญท่านเข้ามาเห็นก็กรุณาเขียนชื่อของท่านไว้ที่ Talking Box ของท่านด้วยนะครับ ผมจะได้มาขึ้นเครดิตให้ท่านอีกครั้ง...ด้วยความเคารพ ...JoEbOy... )


Loy Krathong Festival by Ladymoon.




“วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง...”

ได้ยินเสียงเพลงนี้บรรเลงขึ้นทีไร เป็นสัญญาณว่า “วันลอยกระทง” มาถึงอีกปีแล้ว ใช่ค่ะ วันพระหน้าหรือวันพระจันทร์เต็มดวงที่จะถึงนี้ คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 หรือประเพณีลอยกระทงที่เราแสนจะคุ้นเคยกัน มาทบทวนความจำกันสักนิดกับประเพณีเก่าแก่แต่ครั้งสมัยสุโขทัย ประเพณีที่เดินทางผ่านกาลเวลามานานนับร้อยๆ ปี และยังคงมีมนต์ขลังไม่เปลี่ยนแปลงดังเช่นครั้งอดีตกาล



วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย "มักจะ" ตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายนตามปฏิทินสุริยคติ (ปฏิทินจันทรคติก็คือ ข้างขึ้นข้างแรม อย่างที่เราเรียกกัน ส่วนปฏิทินสุริยคติก็คือปฏิทินสากลที่ใช้กันทั่วไปนะคะ) ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก

สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป

ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ จากธรรมชาติ ตกแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ทิ้งไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาพระแม่คงคาด้วย



เดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนาง
นพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่า “พิธีจองเปรียง” ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 3

ปัจจุบันวันลอยกระทงเป็นเทศกาลที่สำคัญของไทย ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเที่ยวปีละมากๆ ทั้งนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวมักจะเป็นช่วงต้นฤดูหนาว และมีอากาศดี ในวันลอยกระทง ยังนิยมจัดประกวดนางงาม ที่เรียกกันว่า "นางนพมาศ"

สำหรับประเพณีลอยกระทงก็แตกต่างกันไปตามแต่ภูมิภาค อาทิเช่น



ภาคเหนือตอนบน นิยมทำโคมลอย เรียกว่า "ลอยโคม" หรือ "ว่าวฮม" หรือ "ว่าวควัน" ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบอลลูน ประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า "ยี่เป็ง" หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่ (ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย และในปีนี้มีโคมน้องแพนด้าขายด้วยค่ะ แปลกดีจริงๆ)


สำหรับจังหวัดตาก จะลอยกระทงขนาดเล็กทยอยเรียงรายไปเป็นสาย เรียกว่า "กระทงสาย" ซึ่งผู้ที่ปล่อยกระทงสายนี้มีความสามารถอันน่าทึ่งมาก ที่กะระยะได้อย่างพอดิบพอดี ทำให้กระทงลอยไปเป็นสายอย่างสวยงาม น่าทึ่งมากๆ ค่ะ และจังหวัดสุโขทัยก็จะมีขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง หรือ “การเผาเทียนเล่นไฟ” นั่นเองค่ะ

สำหรับภาคอีสาน จะตกแต่งเรือแล้วประดับไฟ เป็นรูปต่างๆ เรียกว่า "ไหลเรือไฟ" โดยเฉพาะที่จังหวัดนครพนม เพราะมีความงดงามและอลังการที่สุดในภาคอีสาน


สำหรับกรุงเทพมหานคร ในปีนี้ก็มีหลายจุดตลอดแนวลำน้ำเจ้าพระยาที่จัดงานในแคมเปญ “สีสันแห่งสายน้ำ” เลือกไปเที่ยวชมกันได้ตามอัธยาศัยค่ะ ส่วนภาคใต้ก็มีการจัดงานวันลอยกระทงอย่างยิ่งใหญ่ด้วยเช่นกัน

สำหรับความเชื่อในแต่ละท้องถิ่นก็มีแตกต่างกันไป สำหรับคนไทยเราเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคาที่มนุษย์ได้ใช้น้ำ ใช้ดื่มใช้กิน รวมไปถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในแม่น้ำ และเป็นการลอยความทุกข์ ความโศกรวมถึงโรคภัยต่างๆ ให้ลอยไปกับแม่น้ำ

สำหรับชาวอินเดียเชื่อกันว่าเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าทรงได้ประทับรอยพระบาทไว้ที่หาดทรายแม่น้ำนัมทามหานทีในประเทศอินเดีย

สำหรับชาวไทยในภาคเหนือมีความเชื่อว่า การลอยกระทงเป็นการบูชาพระอุปคุต ตามตำนานเล่าว่า พระอุปคุตทรงสามารถปราบพญามารได้ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อใดก็ตาม ก็ได้สืบสานประเพณีอันงดงามนี้ให้คงอยู่มานานหลายร้อยปี

และสำหรับในปีนี้ ไม่ว่าท่านจะอยู่ในภูมิภาคใดของประเทศก็ตาม ขอให้ทุกท่านสนุกสนานกับประเพณีลอยกระทงที่กำลังจะมาถึงในวันที่ 2 พ.ย. นี้นะคะ และอย่าลืมใช้กระทงจากวัสดุธรรมชาติด้วยนะคะ ไม่งั้นจะยิ่งเป็นการทำร้ายสายน้ำมากกว่าการขอขมาลาโทษ และเที่ยวกันอย่างมีสติ ระมัดระวังอุบัติเหตุฟืนไฟกันด้วยนะคะ




Have you ever been to Thailand? If you visit Thailand around this time of the year, the early of November, you may enjoy with this great festival all over Thailand – “Loy Krathong Festival”

Loy Krathong (or ลอยกระทง) is a festival celebrated annually throughout Thailand. Loy Krathong is held on the full moon of the 12th month in the traditional Thai Lunar Calendar. In the western calendar this usually falls in November (this year will be on November 2nd )

"Loi" means "to float". "Krathong" is a raft about a handspan in diameter traditionally made from a section of banana tree trunk, decorated with elaborately-folded banana leaves, flowers, candles, incense sticks etc. During the night of the full moon, many people will release a small raft like this on a river. Governmental offices, corporations and other organizations also build much bigger and more elaborate rafts, and these are often judged in contests. In addition, fireworks and beauty contests take place during the festival.



The festival probably originated in India as a Hindu festival similar to Deepavali as thanksgiving to the deity of the Ganges with floating lanterns for giving life throughout the year. According to the writings of H.M. King Rama IV in 1863, the originally Brahmanical festival was adapted by Buddhists in Thailand as a ceremony to honour the original Buddha, Siddhartha Guatama. Apart from venerating the Buddha with light (the candle on the raft), the act of floating away the candle raft is symbolic of letting go of all one's grudges, anger and defilements, so that one can start life afresh on a better foot. People will also cut their fingernails and hair and add them to the raft as a symbol of letting go of the bad parts of oneself. Many Thai believe that floating a krathong will create good luck, and they do it to honor and thank the Goddess of Water, Phra Mae Khongkha (พระแม่คงคา).

The beauty contests that accompany the festival are known as "Noppamas Queen Contests". According to legend, Noppamas was a consort of the Sukothai King Loethai (14th century) and she was the first to float decorated krathongs. The Thai tradition of Loy Kratong started off in Sukothai, but is now celebrated throughout Thailand, with the festivities in Chiang Mai and Ayutthaya being particularly well known.



In Chiang Mai Loi Kratong is also known as "Yi Peng". Every year thousands of people assemble to float the banana-leaf krathong onto the waterways of the city, honouring the Goddess of Water. A multitude of Lanna-style sky lanterns (khom fai) are also launched into the air where they resemble large flocks of giant fluorescent jellyfish gracefully floating by through the skies. These are believed to help rid the locals of troubles and are also taken to decorate houses and streets.


[Special thanks to wikipedia.org]



Loy Krathong Festival in Thailand
(Thank you Youtube for the video clip)



28.10.09

BOF Notice – About BYJ’s Health




[BOF Public Notice] To dear family

shared by delinnia on BYJ’s Official Website (KOB)
10/27/09



Translated and posted by Joanne on Quilt's freeboard - ( Thanks dear Joanne)


Kwon Ohkyeong posted this on the Talk Box of BYJ's official home.
[BOF Public Notice] To dear family

10/27/09




How are you. This is BOF.

In these days, we make generous smile at beautifully tinted autumn leaves, even while straightening up clothes due to cold wind. Do all dear family spend bountiful Autumn?

We are to say in the public notice, just because there have been many family who are worried about and interested in Mr. BYJ's health since he came home from Japan.
After returning from Japan, Mr. BYJ is taking a plenty of rest and getting treatment as directed by a hospital.

Fortunately, he has improved a lot thanks to dear family and he appears to be far healthier than before.

Nowadays, he excercises a little by little for speedy recovery of health, and he works on planned schedules a little by little.

Until he completely recovers his health, not only he himself of course, but we also will work hard with our best efforts in the future too.

Our hearts feel sorry for unexpectedly causing many dear family worry.

Hoping that you watch Mr. BYJ's quick recovery with warm interests from now on also, we wish all dear family also pay attention to health and have active time in cooled down weather.

Thank you.

Respectfully, BOF

When the "Winter Sonata" start its melody again…



by Ladymoon / BYJ Thailand Family
(PLEASE REPOST WITH FULL CREDIT ONLY. THANK YOU]


Someone says, “The river is no return”, but miracle can always happened. Magically, they really can recalled that sweet memories from 7 years ago back to us again…with this animation, “Winter Sonata Anime”.

“Winter Sonata Anime” already started its first episode on DATV. I know, many of us still wondering how the storyline going to be. So, I’d like to share here with family, especially oversea family who may not have the chance now to watch this anime. With my respect to the copyright of DATV, I won’t post any video clips in here. Just want to share some parts of the storyline that not included in 2002 drama series.^^





The story begins when Junsang go to New York for his operation and Yugin decided to go to Paris. While in New York, Junsang mused about his relationship with Yugin…how destiny led them to meet…

[VO Junsang]
Yugin…if we didn’t have that photograph, we wouldn’t have met.
Even now I often think about it.
I shouldn’t have met you. We shouldn’t have met.
One printed photograph, a meeting of two.
The chance occurrence which led to this,
would become such a struggle for the three of us.
No one could have realized it back then…
[Junsang means the old photo of Sang Hyuk’s father and his mother]

[Caption :
Episode 1 : Black and White Photo
Winter Sonata presented by SFW ]


[Opening theme song : From beginning to now]
You tell me that you can’t come back to me.
That you can’t do it anymore.
Everything about you that holds me sway.
Because every time I want to laugh,
You make me break into tears.
Because no matter how hard I try to forget,
You don’t let me forget…

At the same time, Yugin is in Paris and recalled her memory, her last encounter with Junsang…with that promise, “let’s not meet again”…

[VO Junsang in Yugin’s memory]
Yugin, we…from now on, let’s not meet again.
Let’s just…remember the joy we shared at the sea that last time.
Let’s not meet, and just remember the good things.


Ah, this heartbreaking promise must be the reason, why Yugin didn’t run after Junsang to New York…she had promised him, “not meet again” and “live happily”…how can that be?


The condition of his illness is really terrible now…

Doctor : The hematoma near the optic nerve has grown too large. We need to operate as soon as possible.

Junsang : If we operate, will I get better? (Oh, this sounds familiar…sound like Kang Jaeho^^)

Doctor : It depends on the state of the residual blood clot. It’s impossible to say right now.

Junsang : Medication, whatever, anything is fine. Just, until then…
Until then…let me stay like this.


Junsang have no chance to see again. He have to live in the darkness…the rest of his life…but at least, this time he can keep his sweet memories with him…the memory between him and Yugin…


And the story flashed back to the first day they have met, on the bus, as we all know by heart from 2002 drama series. However, I’m so sure that we never bored to feel that pure first love again and again, and again…




And I’d like to share this beautiful song. It’s the ending theme song of “Winter Sonata Anime”. The original soundtrack album (Vol.1) will release on Nov. 25…


When I want to see her, I cannot see her.
My doubtful heart falls upon the world…as snow
Always, I’m loving her.
Her voice, her breathing…is forever in my heart.
I love her, always.
Broken up and far from her,
so that my heart will never hurt again.
I believe in our love, in these happy memories…
that I can smile at.


[I’d like to thank you here for the video clips that shared by pestytea in Youtube, so I can transcribed all these out. Thank you so much.]


ดิฉันต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้สำหรับครอบครัวชาวไทยของเรา ที่ไม่มีพากย์ไทยให้นะคะ เนื่องจากเราประสบปัญหาบทแปลโดนคัดลอกไปแปะตามเว็บบอร์ด ซึ่งทางทีมงานได้เพียรพยายามตักเตือนไปหลายครั้งแล้วบนหน้าเว็บแห่งนี้ แต่เหตุการณ์ดังกล่าวก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่ดี อย่างที่ทางทีมงานเคยบอกไปว่าเรายินดีแบ่งปันข้อมูลและข่าวสารของเบยงจุนให้กับครอบครัวทุกท่าน ไม่ว่าจะมาจากบ้านไหนๆ ก็ตาม เพราะถือว่าเราเป็นครอบครัวเดียวกัน ขอแค่เวลาคัดลอกไป กรุณาใส่เครดิตของแหล่งที่มาให้ด้วย เพราะผลงานทุกชิ้น ทั้งข่าวสาร ข้อมูล ภาพ เรื่องราว และบทแปล ล้วนผ่านความตั้งใจและเพียรพยายามของทีมงานทุกคน ในเมื่อไม่สามารถหยุดพฤติกรรมดังกล่าวของคนบางคนได้ ดิฉันจึงขออนุญาตหยุดซะเอง ก็คือ "หยุดแปล" เพื่อให้ท่านลอกไปไม่ได้นั่นเอง จึงต้องขออภัยเพื่อนๆ อีกมากมายที่ต้องพลอยเดือดร้อนไปด้วยมา ณ ที่นี้นะคะ และขออนุญาตคุยเป็นภาษาต่างชาติแบบนี้ไปเรื่อยๆ สำหรับข่าวคราวและเรื่องราวของคุณเบยงจุน ส่วนเรื่องราวความรู้อื่นๆ ยังคงมีภาษาไทยให้อ่านกันเหมือนเดิมนะคะ ขอบคุณค่ะ



Ladymoon@Copyright


27.10.09

How to make “Kimchi” by Ladymoon.



หลังจากที่ได้อ่านหนังสือของเบยงจุนกันไปแล้ว เชื่อว่าหลายคนคงนึกอยากลุกขึ้นมาทำกิมจิทานเองที่บ้านกันบ้างแน่ๆ (อินกับท่าขยำกิมจิของคุณชายท่าน) วันนี้เราเลยมีวิธีทำกิมจิมาฝากกันค่ะ แต่สูตรนี้ได้มาจากหนังสือของการท่องเที่ยวเกาหลี จึงอาจมีวัตถุดิบบางอย่างที่บ้านเราไม่มี คงต้องดัดแปลงกันไปตามอัธยาศัยนะคะ โดยส่วนตัวดิฉันคิดว่าเราควรหาวัตถุดิบแบบไทยๆ ใส่ลงไปแทนจะดีกว่าการไปค้นคว้าหาของเกาหลีแท้ๆ ซึ่งอาจมีราคาค่อนข้างสูง และต้องไปควานหาตามซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ที่สั่งของต่างประเทศเข้ามาขาย แล้วก็ทำให้เสียดุลย์อีกด้วยนะคะ ทางที่ดีลองดัดแปลงใช้วัตถุดิบในบ้านเรา อุดหนุนเกษตรกรบ้านเรา แล้วก็อาจจะถูกปากเรามากกว่าแบบเกาหลีต้นตำรับแท้ๆ ก็ได้นะคะ





How to make “Kimchi”

[ From “The Wonderful World of Korean Food” / KTO
Thai Version by Ladymoon ]


Kimchi, characterized by its spicy taste and crispiness, is the most well-known Korean dish. Depending on the fermenting process, ingredients, region and weather, the taste of kimchi changes, which is why there are over 200 types of kimchi. According to Health Magazine, kimchi is one of the world’s healthiest foods. Health described it as “loaded with vitamin A, B, and C, but its biggest benefit may be in its ‘healthy bacteria’ called lactobacilli, found in fermented foods like kimchi and yogurt. This good bacteria helps with digestion, plus it seems to help stop and even prevent yeast infections, according to a recent study. And more good news : some studies show fermented cabbage has compounds that may prevent the growth of cancer.”

ก่อนอื่นต้องบรรยายสรรพคุณกันก่อนค่ะ ว่า “กิมจิ” มันมีดีที่ตรงไหนนะ คนเกาหลีถึงขาดไม่ได้ เหมือนคนไทยขาดพริกไม่ได้ อะไรแบบนั้นค่ะ กิมจินั้นโดดเด่นที่รสชาติจัดจ้านและความกรอบของผัก เป็นอาหารเกาหลีที่รู้จักกันทั่วโลก รสชาตินั้นก็มีแตกต่างกันไปตามกรรมวิธีการหมัก, ส่วนผสม, สภาพดินฟ้าอากาศของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งข้อนี้ถ้าใครได้ดูละครเรื่อง “Gourmet” ที่คิมแรวอนแสดง คงจะเข้าใจดีนะคะ ว่าแม้กระทั่งไหที่หมัก ดินที่ใช้ปั้นไห ดินที่ใช้รองก้นไหระหว่างหมัก และแม้กระทั่งเกลือที่ใช้หมัก ล้วนมีผลต่อรสชาติอาหารทั้งสิ้นค่ะ กิมจินั้นมีมากกว่า 200 ชนิดเลยทีเดียว (วันหลังจะเล่าให้ฟังนะคะว่ามีอะไรบ้าง) จากบทความในนิตยสาร Health บอกไว้ว่ากิมจิเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพที่สุดชนิดหนึ่ง เพราะ “อุดมไปด้วยวิตามิน เอ, บี และ ซี แต่คุณประโยชน์ที่สำคัญนั้นอยู่ที่ “แบคทีเรียชนิดดี” ที่มีชื่อว่า แลคโตบาซิลลัส (นึกถึงสาวยาคูลท์เลยนะคะ) ที่พบมากในอาหารประเภทหมัก อย่างเช่น กิมจิหรือโยเกิร์ต เจ้าแบคทีเรียตัวนี้ช่วยในเรื่องของการย่อย ทั้งยังช่วยหยุดและป้องกันการติดเชื้อราอีกด้วย ทั้งยังมีการวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าผักกาดหมักนั้นมีสารที่อาจช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของมะเร็งอีกด้วย”


มาเริ่มลงมือทำกิมจิกันเลยดีกว่าค่ะ





Step 1 – Cutting

The first step in making kimchi is to split the cabbage in quarters. Start cutting at the root of the cabbage and only cut halfway, and then use your hands to split the rest. This will avoid making little pieces of cabbage. Prepare the following ingredients : Korean chili powder, green onions, radishes, carrots, onions, dropworts, pears, anchovy or shrimp sauce, sugar, garlic, ginger, oysters, sesame seeds, and coarse salt.

ขั้นตอนแรกในการทำกิมจิก็คือผ่าเจ้าผักกาดขาวออกเป็น 4 ส่วนค่ะ ผ่าตามยาวนะคะ ผ่ามาแค่ครึ่งเดียวพอนะคะ แล้วใช้มือช่วยฉีกค่ะ จะช่วยให้ผักกาดไม่แยกร่างเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยไปซะก่อน แล้วก็เตรียมเครื่องปรุงต่อไปนี้ค่ะ พริกป่นเกาหลี (อันนี้ถ้าหาไม่ได้คงต้องดัดแปลงใช้พริกป่นไทย หรือจะใช้ผงปาปริก้าที่มีขายเป็นขวดๆ ก็น่าจะได้นะคะ แต่สีอาจไม่แดงเทียบเท่าของคุณพี่เกาหลีเค้า สำหรับดิฉันใช้พริกชี้ฟ้าแดงของไทยนี่แหละค่ะมาบด) ต้นหอม หัวใช้เท้า ขิง หอยนางรม (อันนี้มีจริงๆ ค่ะ ตอนที่ยงจุนทำก็มีค่ะ พี่แกเล่นทำไปกินไป ไม่รู้เหลือใส่กิมจิสักเท่าไหร่) สาลี่ ซอสจากปลาแอนโชวี่หรือกุ้ง น้ำตาล กระเทียม ขิง เมล็ดงา และเกลือหยาบ




Step 2 – Marinating

Sprinkle coarse salt evenly between all the cabbage leaves. After about 10 minutes, immerse the cabbage in a container of salted water. Let the cabbage soak for about six hours, turning it occasionally about ten times during the process.

ต่อไปก็คือโรยเกลือหยาบโดยทาตามใบผักกาดขาวให้ทั่วเลยนะคะ แงะแล้วก็ทาลงไปค่ะ แต่อย่าฉีกให้ขาดนะคะ หลังจากนั้น 10 นาทีก็แช่ผักกาดไว้ในน้ำผสมเกลือ แช่ทิ้งไว้แบบนั้นสัก 6 ช.ม. นะคะ แล้วก็คอยพลิกไปพลิกมาด้วยนะคะ





Step 3 – Rinsing

Rinse the salted cabbage at least twice and let it drain for about 2 to 3 hours. It is important not to salt the cabbage too much. Ideally, the leaves should remain slightly crispy. If the process is overdone, the seasoning will not be fully absorbed.

ต่อจากนั้นก็เอาผักกาดที่แช่น้ำเกลือแล้วมาล้างน้ำอย่างน้อยสัก 2 ครั้งนะคะ แล้วก็ทิ้งไว้ให้แห้งประมาณ 2-3 ช.ม. ดังนั้นตอนทาเกลือบนผักกาดต้องระวังอย่าทามากเกินไปนะคะ เพราะใบผักควรจะยังมีความกรอบอยู่ ถ้าทาเกลือหรือแช่น้ำเกลือมากไป ผักจะเหี่ยวแล้วเวลาทาเครื่องลงไป เครื่องจะไม่จับที่ใบผัก





Step 4 – Filling

Cut each ingredient as directed.

Cut the radish and carrot into thin strips of about 0.2-0.5 cm wide. Cut the onion and green onion to about the same length as carrots and radishes. Before mixing all ingredients, soak radish in salt water for about 30 minutes then rinse.

ทีนี้มาเตรียมเครื่องปรุงกันค่ะ หั่นหัวใช้เท้ากับแครอทเป็นเส้นบางๆ กว้างประมาณ 0.2-0.5 ซ.ม. หั่นต้นหอมให้ได้ความยาวเท่าๆ กันกับหัวใช้เท้าและแครอท ก่อนจะนำไปผสมกัน ให้แช่หัวใช้เท้าในน้ำเกลือสักประมาณ 30 นาทีแล้วนำมาล้างก่อนเพื่อลดความเค็มนะคะ








For every cabbage (2 kgs) – combine and stir 1 cup of Korean chili powder, 30 grams of shrimp sauce or anchovy sauce, 10 grams of sugar, 5 grams of chopped ginger, 40 grams of chopped garlic, some oyster and the 1 pureed pear, and finely chop garlic and ginger, and puree pears, for the filling, combine all ingredients and mix.

ผสมพริกป่น 1 ถ้วย, ซอสจากปลาแอนโชวี่หรือกุ้ง 30 กรัม, น้ำตาล 10 กรัม, ขิงสับ 5 กรัม, กระเทียมสับ 40 กรัม, หอยนางรมและสาลี่บด นำเครื่องปรุงทั้งหมดมาผสมให้เข้ากันนะคะ (คงไม่ต้องถึงขนาดชั่งกันเป๊ะๆ หรอกนะคะ แค่ดูสัดส่วนว่าควรใส่อะไรมากใส่อะไรน้อย หรืออาจปรุงให้ได้รสที่ถูกปากเราก็ได้ค่ะ อย่างเช่น ถ้าชอบกินเผ็ดก็อาจใส่พริกเยอะหน่อย ชอบหวานหน่อยก็ใส่น้ำตาลเยอะหน่อย)





Step 5 – Kimchi

Coat each cabbage quarter with an appropriate amount of filling, making sure it gets between each leaf. To give it a nutty flavor, sprinkle some sesame seeds on each cabbage quarter and stack them in a container. If you want freshly made kimchi, you can eat it unfermented, or if you want to use it in kimchi stew or kimchi pancake, let it ferment for two to three days in a cool area or in a refrigerator.

ทีนี้ก็ถึงขั้นตอนละเลงเครื่องปรุงลงบนผักกาดแล้วค่ะ นำเครื่องปรุงที่เตรียมไว้มาทา...แล้วก็ทา...ลงบนใบผักแต่ละใบ ต้องทาให้ทั่วๆ ทุกใบเลยนะคะ เพิ่มรสชาติหอมมันอีกนิดด้วยการโรยเมล็ดงา (ที่คั่วแล้ว) ลงไปด้วย เสร็จแล้วก็จัดวางใส่กล่อง (เราคงไม่หมักกันเป็นไหแบบคนเกาหลีหรอกนะคะ) แล้วก็ปิดฝาเป็นอันเสร็จพิธีค่ะ ถ้าใครไม่ถูกโรคกับของหมักของดองสามารถกินกิมจิหลังทำเสร็จได้เลย เป็นกิมจิสดค่ะ หรือถ้าใครจะนำไปทำอาหารสารพัดรูปแบบ ให้หมักทิ้งไว้สัก 2-3 วันในตู้เย็นก็นำมาใช้ได้เลยค่ะ

ขอให้อร่อยกับกิมจิสูตรของคุณเองกันนะคะ....



BYJ Photo Design by Evebyj with Moonlight Flower.





Moonlight Flower
(Michael Cretu / Dylan Cross)


Come with me, in the silence of darkness
I want to show you secrets of life
I will guide you where dream couldn't take you
She seldom flew away in the night

You're the ...Moonlight Flower...
You're the voice of the night
When you call I'll follow
We will leave on a trip of delight

I have been to the heights of my senses
Feeling the touch of your cares
I have seen magic things of the night skies
Until the sun rises underneath the skies


Link for music download :

25.10.09

Hanbok (한복) : Traditional dress of Korea...by Amornbyj.



Hanbok 한복) : Traditional dress of Korea...
Amornbyj : Writer

ชุดฮันบก.......

ความงามและเอกลักษณ์ของสุภาพสตรีเกาหลี
ฮัน แปลว่าเกาหลี
บก แปลว่าชุด
เมื่อเอามารวมกันเรียกว่า “ ฮันบก “ แปลว่า ชุดเกาหลี

ฮันบก คือชุดประจำชาติเกาหลี ปัจจุบันไม่นิยมใส่ในชีวิตประจำวัน แต่ก็ยังพอมีเห็นกันบ้างตามชนบทจะเห็นคุณย่าคุณยาย หรือผู้หญิงฐานะดีใส่กัน
จากหนังสือ Look In KOREA



ฮันบก เป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติเกาหลีเป็นเวลาหลายพันปี มาแล้ว ความงดงามและวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมเกาหลีจะถ่ายทอดสื่อความประณีต และทัศนคติ ของบรรพบุรุษชาวเกาหลี ส่วนหนึ่งในเรื่องการแต่งกายผ่านครื่องแต่งกาย ฮันบกนี้ โดยสตรี

ชุด ฮันบก มีความคล้ายคลึงกับชุดไทยของเรา ในเรื่องของการมีวิวัฒนาการมาโดยตลอดตามยุคสมัย จนกระทั่งในสมัยปัจจุบัน ก็มีชุด ฮันบก ประยุกต์ จากที่ได้เห็นกัน ในละครหรือหนัง พีเรียด ของเกาหลีหลายๆเรื่อง
หากติดตามละครประวัติศาสตร์ของเกาหลี ก็จะเห็น วิวัฒนาการของชุด ฮันบกนี้ จาก ภาพยนตร์เมื่อหลายปีก่อน คือ ตำนานรักทะเลสาบพันปี ที่เอ่ยถึงอาณาจักรชิลลาโบราณ และที่สำคัญ ในปี 2003 คือภาพยนตร์เรื่อง Untold Scandal อันเป็นเรื่องอื้อฉาวในราชวงศ์โซซอน




คาสโนว่าเจ้าสำราญยุคโซซอน ที่ขวัญใจของพวกเรา คุณ เบ ยองจุน นั่นเองที่รับบทบาทเป็น โชวอน ติดหนวด เกล้าผม สวมหมวกทรงสูง เป็นเรื่องแรก
ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้ เน้น เรื่องเครื่องแต่งกาย และวัฒนธรรม ของโซซอนมากกว่าภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ
หลังจากนั้น ก็มาถึงละครประวัติศาสตร์ ที่เดินเรียงแถวมามากมาย ทั้ง
จูมง มหาบุรุษกู้บัลลังก์ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นสร้างอาณาจักร โคคุเรียว เป็นยุคสมัยต่อเนื่อง มาจากอาณาจักร พูยอ
ตำนานจอมกษัตริย์เทพสวรรค์ ของกษัตริย์กวางแกโตมหาราช กษัตริย์พระองค์ที่ 19 ของโคคุเรียว
จนมาถึง ความรักของกษัตริย์ คิงมู กษัตริย์พระองค์ที่ 30 ของแพคเจ กับเจ้าหญิงซัลวา เจ้าหญิงแห่งอาณาจักรศัตรู คือชิลลา ที่แม้จะสมหวังที่ฝันฝ่าอุปสรรคกันมาได้ แต่ ก็จบด้วยด้วยการ สิ้นพระชมม์ของเจ้าหญิงที่มีพระชนม์สั้นมาก
แล้วก็ เรื่องที่โด่งดังไปทั่ว แดจังกึม ใน ยุคกษัตริย์ Junjong กษัตริย์พระองค์ที่ 11 แห่งราชวงศ์โซซอน
แล้วก็มีเรื่องของราชวงศ์โซซอน ตามมาอีกหลายเรื่อง ทั้ง ยุคของ กษัตริย์ Seongjong พระองค์ที่ 9 และ และกษัตริย์ จองโจ หรือYi-San พระองค์ที่ 22 แห่งราชวงศ์ โซซอน ( ไม่ได้เรียงลำดับ ตามปีที่การถ่ายทำ)
เราจะเห็น ฮันบก ที่หลากหลายไปตาม ศักดินา และชนชั้น ของผู้สวมใส่ ทุกยุคทุกสมัย


ชุด ฮันบก ที่ดูจะคุ้นตา คนรุ่นเรา ในศตวรรษนี้ ก็ น่าจะเป็น ฮันบก ใน สมัยราชวงศ์ โซซอน นี่แหละ

ผู้เขียน ได้รู้จัก ชุดเกาหลีครั้งแรก ในปีที่ประเทศไทย เป็นเจ้าภาพ กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ น่าจะครั้งแรก เมื่อนานมากมาแล้ว เพราะ มีนางงามหลายท่าน ใส่ชุดประจำชาติต่างๆ เป็นผู้ถือป้าย ประเทศเหล่านั้น ในคราวนั้น มีคุณอาภัสรา หงสกุล สวมชุดประจำชาติเกาหลี ก็เป็น ฮันบก ในยุคราชวงศ์ โซซอน นี่เอง

ชุดประจำชาติ สตรีไทย ก็มีวิวัฒนาการ มาตามยุคสมัยของราชธานี ตั้งแต่สุโขทัย ไล่มา จนรัตนโกสินทร์ ซึ่งเฉพาะ กรุงรัตนโกสินทร์ ก็มีหลายรูปแบบเช่นกัน แค่ชุดไทยพระราชนิยมก็หลายแบบแล้ว หลายรัชกาล คุณร้อยตะวัน คงมีข้อมูล ชุดประจำชาติไทยมาเล่าต่อนะคะ

ชุดฮันบก มองดูหนาและมีหลายชั้น ไม่ใช่เพราะอากาศหนาวอย่างเดียว เป็นเพราะชาวเกาหลีเองมีทัศนะคติคล้ายๆจีน ที่ว่า ผู้หญิงไม่ควรเปิดเผยผิวให้คนอื่นเห็นมากเกินจำเป็น ชุด ฮันบก ก็เลยมีประมาณ 4-5 ชั้น สีสันของชุด ถ้าเป็นชุดของเด็กๆ สีสันจะยิ่งสดใส ทั้งที่ชุด ฮันบก ของผู้ใหญ่ ก็สีสันสดใสอยู่แล้ว

คงพอนึกชุดชั้นในสุดของเสื้อใน และกางเกงใน ได้นะคะ ทุกครั้งที่เห็น ก็เป็นสีขาว (เช่นของพระชายากษัตริย์ ฮองลิม และ แม่นางซุก รวมทั้ง โซ อ็อก หญิงสาววัย 16 ที่กำลังจะมาเป็นภรรยาน้อย สามีแม่นางโช ใน Untold scandal ที่เสียท่าให้ โชวอน ไง)



ชุดฮันบก มีเสื้อกับกระโปรงบางๆใส่เป็นซับในชั้นแรกก่อน มีสุ่มไก่ เพื่อให้กระโปรงท่อนล่างบานขึ้นมา ใส่เสื้อบางๆทับอีกชั้น แล้วถึงจะใส่เสื้อและกระโปรงสีสันสดในอย่างที่เห็นกัน (ถ้าจะออกนอกบ้าน ต้องสวมเสื้อนอกอีกตัวหนึ่งทับไว้ด้วย ( แม่นาง ซุก จะสวมเสื้อนอก เวลาออกนอกบ้านหลายครั้ง รวมทั้งมเหสียุน มเหสีองค์ที่2 ของกษัตริย์ Seongjong เวลาออกนอกพระราชวัง )



ชุดฮันบก ประกอบไปด้วย
ชอ โก รี คือเสื้อนอกท่อนบนของผู้หญิงที่มีความยาวระดับอก แขนยาวถึงข้อมือ ในสมัยก่อน
ชอ โก รีมีความยาวถึงประมาณเอว แต่เมื่อเวลาผ่านไป ชอโกรีก็ค่อยๆสั้นขึ้น จากเอวมาที่อก จนกระทั่งขึ้นไปเหนือหน้าอก และมีการปัก รอบคอของ ชอ โก รี และปลายแขน สวยงาม

โครึม ที่ชอ โกรี
โค รึม จะมีเส้นสั้นและเส้นยาว การผูก โครีม จะไม่ผูก เป็นโบว์ แบบบ้านเรา เขามีแบบฉบับการสอด โครีม ที่ไม่ใช่ผูกโบว์

ซี มา เป็นกระโปรงของผู้หญิงที่ปกปิดร่างกายต่อจากชอโกรี มีความยาวคลุมถึงข้อเท้า



ซก ซี มา เป็นกระโปรงชั้นในสำหรับผู้หญิง ใส่ไว้ชั้นในสุด
เหมือน ชุดซับใน ทั้งเสื้อและกระโปรง( บางทีกระโปรง ก็เป็นสุ่มไก่ติดกับเสื้อซับในเลย ไม่ได้แยกเป็นอีกชิ้น)

ทู รู มา กี เป็นเสื้อนอกขนาดยาวเลยเข่า มีทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ใส่เมื่อออกไปข้างนอกหรือเพื่อสร้างความอบอุ่นในหน้าหนาวและถ้าเป็นขุนนางหรือชนชั้นสูงศักดิ์ก็จะใส่ไว้ตลอด



ผ้าที่นำมาใช้ตัดชุดฮันบกมีอยู่มากมายหลายชนิดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น ผ้าป่าน ผ้าฝ้ายมัส ลิน ผ้าไหม ผ้าแพร
โดยผู้สวมใส่จะเลือกใส่ชุดที่ตัดจากผ้าชนิดใดขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ

ฮันบกที่ใช้สำหรับแต่งกายในฤดูหนาวมักใช้ผ้าที่ทอจากฝ้าย

การสวมชุด ฮันบก จะให้สมบูรณ์จริงๆ ต้องมีการเกล้าผมขึ้น เมื่อเกล้าผม ก็ต้องมีปิ่นปักผมและใส่รองเท้าให้เข้าคู่กันด้วย เมื่อสวมรองเท้า ก็ต้องมีถุงเท้า และความสวยงามพิถีพิถันก็เป็นไปตามศักดินาและผู้สวมใส่ อีกตามเคย



ก่อนที่วัฒนธรรมการแต่งกายแบบตะวันตกจะได้เข้ามาในเกาหลีเมื่อ ร้อยปีมาแล้วนั้น สตรีชาวเกาหลีจะสวมชุดฮันบกเป็นปกติทุกวัน
ในปัจจุบันชุดประจำชาติ ฮันบก จะใช้สวมในโอกาสพิเศษต่างๆ งานมงคลสมรส วัน ซอลลัล ( วันขึ้นปีใหม่ ตามจันทรคติ) หรือวัน ซูซก (วันขอบคุณพระเจ้า)

Dangui(당의): Female's royal court

วันที่มีพิธีการพิเศษต่างๆ เช่น วันรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่ยง จุน เคยรับ เครื่องราชฯ นี้
วันที่ ยงจุนทำพิธีเปิดร้าน โกชิเร เมื่อสองปีก่อนที่ญี่ปุ่น
สุภาพสตรี ในวันนั้น ก็สวมชุด ประจำชาติ ฮันบกนี้




ข้อดีของชุดฮันบก ในความรู้สึกของผู้เขียน คือเป็นชุดที่สวมใส่แล้ว มองไม่เห็นทรวดทรงองค์เอวของผู้สวม จะอ้วนหรือผอม ใส่ชุดฮันบกแล้วดูพองๆ กลม เหมือนกันหมด ไม่มีใคร หุ่นดีกว่าใคร แม้ชุดตัวนอก จะบางใสมาก แต่ ไม่รบกวนกิเลศ เพศตรงข้าม


Hanbok ;

The beautiful Korean hanbok is an indelible symbol of Korea. Hanbok literally means “Korean clothing”. It is usually characterized by simple, elegant lines without pockets and bright, vibrant colors. The styles seen today are based on the Joseon Dynasty-style formal or semi-formal wear worn in traditional celebrations or festivals. Women’s hanbok consists of the jeogori or chogori – the short jacket – and the chima – the long, wrap-around skirt. The men’s hanbok consists of a longer jeogori and baggy baji or pants. The inherent beauty of the hanbok is the abundance of material – they are not meant to be tight fitting. Curves or curved features are important in traditional design of the hanbok.



Original ;

It is theorised dangui dates back to the Korean Three Kingdoms period (57 BC - 668 AD) when a clothing system of China was introduced to Korea. The letter, dang () refers to Chinese Tang Dynasty (618 – 907), so dangui may have been adapted from its clothing along with other ceremonial robes such as hwarot and wonsam. Whether the theory is probable or not, it is certain that dangui was worn during the Joseon period, based on historical documents and remains. The scholar, Yi Jae (李縡 1680 ∼ 1746) mentioned dangui in his book, Sarye pyeollam (literally "Easy Manual of the Four Rites) which defines four important rites based on Confucianism. In the chapter, Gwallyejo (冠禮條) on coming-of-age ceremonies, samja (衫子) is commonly called dangui and its length reaches to the knees and its sleeves are narrow. It is also a woman's sangbok (常服), daily garments when working





Dangui Features ;

The queen consort, the king’s concubines, sanggung (court matron), and yangban women (nobility) wore the garment over a short jacket called jeogori. According to color, there were yellowish green, purple, navy, and white-colored dangui and others, but yellowish green colored one was the most commonly worn dangui during the time.[2]



In addition, dangui can be divided into two types depending on its layer; a double layered dangui (gyeop-dangui 겹당의), and a single layered one (hot-dangui, 홑당의). The former was usually worn during winter while the single layered dangui which is also called dang-jeoksam or dang-hansam was worn for summer. As the Queen wore a white dangui made of a single fabric the day before the Dano festival which falls on the 5th day of the fifth month of the lunar calendar, every women at court followed to change their clothing to the single layered one the next day. Likewise, when the Queen began to wear a double layered dangui the day before Chuseok which celebrates on every 15th day of August in the lunar calendar, all women in the palace changed their clothing to the double layered dangui the next day.[2][6]
The characteristics of dangui is to emphasize the beauty of hanbok’s curvy lines. The form of dangui is similar to that of jeogori, the length of both the front and back which reach to the knees is triple to that of jeogori. Sleeves of dangui are narrow. The side seams are open to the armpit, and the hem is curved. When making a dangui with a yellowish green fabric, the color for the inner fabric and for goreum (고름, ribbons at chest) is red and purple respectively. Two goreum are attached at the left side of git (깃), a fabric band of that trims the collar while one short goreum is at the git’s right side. At the end of the sleeves of dangui is geodeulji, a kind of white patch attached.[2]



The dangui for women at court strictly represented the wear’s rank whereas the dangui for commoners was not allowed to have any style used for the former. The dangui for the Queen, princesses or other royalty, geumbak (gold leaf) patterns were decorated from the shoulder part through the end of the sleeves, as well as the front and back side, and goreum. In geumbak patterns, flower or bat illustrations or Chinese characters referring to longevity (su, ) , fortune (bok , ), or double happiness (hui, ) were used. For the Queen, phoenix patterns were used. When dangui was worn as a wedding dress, the bride wore it over a chima (a wrapping skirt) and jeogori. The wearer also put a hwagwan (a coronet) on the head, attached a norigae (노리개), a type of accessory to the goreum, and wore a pair of shoes made of silk. It is easy to wear and neat, so dangui was one of commonly worn wedding clothing among commoners during the Joseon Dynasty




Source ;
http://blog.daum.net/_blog/ArticleCateList.do?blogid=06FC8&CATEGORYID=189169&dispkind=B2203#ajax_history_home http://cafe.naver.com/ArticleRead.nhn?clubid=10057504&articleid=10038
http://cafe.naver.com/ArticleRead.nhn?clubid=16478475&articleid=2567

http://en.wikipedia.org/wiki/Dangui

http://beyondjane.com/fashion/style/simple-beauty-the-korean-hanbok/




Amornbyj@Copyright