24.5.10

[Article] ภาพยนตร์สั้นเรื่อง ‘จดหมายถึงลุงบุญมี’ ที่มาของ "ลุงบุญมีระลึกชาติ"


[Article] ภาพยนตร์สั้นเรื่อง ‘จดหมายถึงลุงบุญมี’ ที่มาของ "ลุงบุญมีระลึกชาติ"
Cr. - สนธยา ทรัพย์เย็น และทีมงานฟิล์มไวรัส
Edit - TWSSG TEAM

ภาพยนต์ไทยเรื่อง "ลุงบุญมีระลึกชาติ" ผลงานการกำกับภาพยนต์ของ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ซึ่งคว้ารางวัล "ปาล์มทองคำ" ในสายประกวดหลัก เทศกาลหนังนานาชาติเมืองคานส์ครั้งที่ 63 ประเทศฝรั่งเศล เอาชนะหนังที่เป็นตัวเต็งของรางวัลนี้ อย่าง"อนาเธอร์ เยียร์" ของผู้กำกับชาวอังกฤษ ไมค์ เลห์ ได้อย่างสมภาคภูมิ นับเป็นข่าวดีของคนไทยในปีนี้ และนี่อาจเป็นก้าวย่างใหม่ของวงการภาพยนต์ไทย ที่รัฐบาลควรหันกลับมาให้ความสนใจกับคนทำหนังอย่างจริงจังมากขึ้น หลายท่านอาจจะรู้เรื่องเกี่ยวกับภาพยนต์เรื่อง "ลุงบุญมีระลึกชาติ" กันมาบ้างแต่อาจไม่รู้ถึงที่มาของภาพยนต์เรื่องนี้ว่ามีความเป็นมาอย่างไร

ก่อนจะมาเป็นภาพยนต์คุณภาพระดับโลกนั้น เดิมที "ลุงบุญมีระลึกชาติ" เป็นภาพยนตร์สั้นเรื่อง ‘จดหมายถึงลุงบุญมี’ หรือ ‘A Letter to Uncle Boonmee’ ความยาว ๑๗ นาทีที่โดดเด่นจนสามารถคว้ารางวัล Grand Priize จากเทศกาลภาพยนตร์สั้นนานาชาติแห่งเมือง Oberhausen ครั้งที่ 55 มาก่อนแล้ว


นายทหารกับบ้านร้าง ใน ‘A Letter to Uncle Boonmee’

เปิดฉากขึ้นมาสิ่งแรกที่ปรากฏก็คือภาพจากมุมมองภายในของหน้าต่างบานเกล็ดของบ้านไม้ในชนบทหลังหนึ่ง จากนั้นกล้องก็ค่อย ๆ เคลื่อนไปสำรวจสิ่งของต่าง ๆ ที่อยู่ภายในบ้านโดยเฉพาะภาพถ่ายของบรรพบุรุษ ใบประกาศเกียรติคุณ ปฏิทิน โปสเตอร์ดารา และอื่น ๆ นานาอีกสารพัดด้วยจังหวะจะโคนอันแช่มช้อยลอยละล่องอย่างเสรีไปตามส่วนต่าง ๆ ของบ้านที่ไร้ร้างผู้อยู่อาศัย โดยในระหว่างการสำรวจนี้ก็จะมีการอ่านจดหมายด้วยสำเนียงเสียงอีสานของชายผู้ไม่ปรากฏโฉมหน้าคลอประกอบไปด้วย ถ้อยความในจดหมายเขียนถึงคุณลุงที่ชื่อ ‘บุญมี’ ด้วยเนื้อหาทำนองว่า

“ผมมาอยู่ที่นี่ได้สักระยะหนึ่งแล้ว ผมอยากจะเห็นชีวิตของลุงเป็นหนัง ผมจึงเสนอโครงการหนังเกี่ยวกับการระลึกชาติ แต่บ้านในแถบนาบัวนี้ไม่เหมือนกับบ้านที่ผมเขียนไว้ในบทหนังเลย บ้านของลุงเป็นอย่างไรกันนะ? มีวิวสวย ๆ แบบนี้หรือเปล่า? ไม่แน่หรอกนะบางส่วนของบ้านเหล่านี้อาจจะคล้ายกับบ้านของลุงก็ได้“

เมื่อชายคนแรกบรรยายเนื้อความในจดหมายจบลง ภาพการเลื่อนไหลไปสำรวจส่วนต่าง ๆ ของบ้านก็ยังดำเนินต่อไปแต่ในคราวนี้จะมีเสียงชายอีกคนหนึ่งมาอ่านข้อความในจดหมายนั้นซ้ำอีกครั้งด้วยสำเนียงอีสานเหมือนกันแต่ด้วยเนื้อเสียงที่ต่างออกไป เมื่อทวนเนื้อหาจนจบแล้วเราจึงได้เห็นพลทหารหน้าเหลี่ยมนายหนึ่งกำลังนั่งทานอะไรสักกะอย่างอยู่บนเรือนก่อนจะเขวี้ยงเศษลงไปให้สุนัขใต้เรือนได้กินต่อ หนังตัดภาพมาที่ภายในตัวบ้านอีกครั้งโดยคราวนี้เราจะได้พบเห็นสถานการณ์อันน่าประหลาดใจชวนให้ต้องสงสัยเมื่อลิง gorilla ตัวหนึ่งกำลังนอนเอกเขนกอยู่ภายในมุ้งสีชมพู!



แต่ดูเหมือนผู้กำกับอภิชาติพงศ์จะไม่ได้ตื่นเต้นอะไรไปกะเราด้วย เขาก็ยังสั่งให้กล้องเคลื่อนที่ต่อไปราวไม่เห็นว่าเป็นสิ่งที่น่าตกใจอะไรนักหนา แล้วแฉลบมาสำรวจเมียงมองบ้านอีกหลังที่นายทหารประมาณ ๓-๕ นายกำลังช่วยกันใช้จอบขุดอะไรบางอย่างอยู่ แต่ยังไม่ทันรู้ว่าพวกเขากำลังเจาะหาหรือปลูกพืชผักชนิดใด กล้องก็ไถลไปสำรวจส่วนอื่น ๆ ของตัวบ้านต่อเสียแล้ว ปล่อยให้พวกเขาเว้าอีสานคุยกันต่อไปในระดับเสียงที่ฟังไม่ได้ศัพท์นัก แต่เอ๊ะ! แล้วนั่น! ใครอุตริเอาไก่ไปอบฟางในโอ่งน้ำใบใหญ่ เอ๊ย! ไม่ใช่! นั่นมันยานอวกาศแห่งบ้านนาบัวนี่นา! เห็นตั้งหรากลางกลุ่มควันตรงลานหลังบ้านก็นึกว่าอะไร แถมเล่นโผล่ออกมาแบบหน้าตายไม่เปิดโอกาสให้รู้ที่มาที่ไปจึงยิ่งชวนให้หลากใจว่า เออ! หมู่บ้านนี้มีอะไรแปลกดีพิลึกดีเนาะ!

มิทันไรเสียงคำรามของเครื่องยนต์รถ motorcycle ก็ดังขึ้นมาอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย ก่อนจะต่อด้วยเสียงบรรยายที่แทรกขึ้นมาขณะกล้องกำลังกวาดรูปถ่ายใบหน้าของผู้ที่เคยอยู่อาศัย “ห้องนี้เคยมีทหารมาอาศัยอยู่ พวกเขาฆ่าและทรมานชาวบ้าน จนชาวบ้านทนไม่ไหวต้องหนีเข้าป่า . . .” อืมบรรยากาศชักจะเริ่มวังเวงจนน่ากลัวซะแล้วแฮะ แต่ผู้กำกับอภิชาติพงศ์ก็ไม่ได้สืบสานเรื่องราวอะไรใด ๆ ต่อไป หากนำพาคนดูออกจากบริเวณบ้านไปสำรวจแนวป่าใกล้ ๆ ที่ ๆ เราจะได้เห็นทั้งลิง gorilla ตัวใหญ่ ศาลพระภูมิรกร้าง ฝอยละอองอะไรบางอย่างที่ปลิวละล่องเป็นทางอยู่เหนือยอดไม้ ซึ่งก็อาจเป็นได้ทั้งปุยนุ่น ละอองเกสรดอกไม้ กองทัพยุงหรือฝูงแมงหวี่อพยพ! ก่อนที่ความมืดจะเข้าปกคลุมจนมองไม่เห็นอะไรในที่สุด

และนั่นก็คือสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในหนังสั้นเรื่อง ‘จดหมายถึงลุงบุญมี’ ที่เมื่อดูจบแล้วก็อดไม่ได้ที่จะตะลึงพรึงเพริดไปกับลีลาอันแสนจะวิจิตรบรรเจิดของหนัง ซึ่งถึงแม้ว่าโดยเนื้อหาแล้วมันจะไม่ได้นำเสนออะไรออกมาเป็นรูปธรรม แต่ผู้กำกับอภิชาติพงศ์ก็ยังสามารถหยิบจับ ‘วิญญาณ’ แห่งสถานที่เหล่านั้นมาบันทึกลงบนแผ่นฟิล์มได้อย่างทรงพลังจนน่าอัศจรรย์ใจยิ่ง ด้วยทักษะและฝีไม้ลายมือในเชิงการกำกับที่สามารถเทียบชั้นระดับบรมครูอย่าง Michelangelo Antonioni หรือ Wim Wenders ได้แบบไม่น้อยหน้าเลยทีเดียว


Source : ปลุกผีคอมมิวนิสต์แห่งบ้านนาบัว , “ลุงบุญมีระลึกชาติ” ผลงานใหม่ล่าสุดของอภิชาติพงศ์ , [VOD & News]"ลุงบุญมีระลึกชาติ" คว้า"ปาล์มทองคำ" , Uncle Boonmee Who Can Recall His Past Lives




A Letter to Uncle Boonmee (Grand Prize for his new film : 55th Oberhausen Short Film Festival

A Letter to Uncle Boonmee : Synopsis
Filming in Nabua in northeastern Thailand, site of a bloody 1965 battle between communist farmers and the totalitarian government, Apichatpong employs a roving, floating camera and incantatory omniscient narration to simultaneously evoke the dangerous cycles of violence and repression, and the hope of perpetual rebirth and remembrance. —TIFF

A Letter to Uncle Boonmee is part of the multi-platform Primitive project which focuses on a concept of remembrance and extinction set in the northeast of Thailand. Boonmee is the main character of the feature film of the project.

This short film formed part of the program for the Hors Piste at the Centre Pompidou, Paris.



Uncle Boonmee Who Can Recall His Past Lives : Synopsis
Uncle Boonmee is suffering from kidney failure. As an avid practitioner of Yoga, he is well aware of his body. He knows that he will die in 48 hours. He feels his illness must be related with his bad karma. He has killed too many communists, he says. Boonmee calls his distant relatives to take him back from hospital to die at home, a longan farm. There, they are greeted by the ghost of his deceased wife who has re-appeared to take care of him. His lost son also returns from the jungle in an ape-like form. The son has mated with a creature known as a ‘monkey ghost’ and has lived in the trees with her for the past 15 years. On the first night, Boonmee talks about his past lives that he remembers. On a second night, while the ghost wife is doing his kidney dialysis, Boonmee has a sudden urge to visit a place she has mentioned. So the group takes a journey into the jungle at night. It is full of animals and spirits. They finally reach a cave on top of the hill. Boonmee realizes that this is the cave in which he was born in the first life that he can remember. Then he passes away, taking with him tales that span hundreds of years. –The Match Factory

No comments:

Post a Comment

Note: Only a member of this blog may post a comment.