ชองเกจอนเป็นอีกสถานที่ที่มักถูกบรรจุไว้ในรายการทัวร์นะคะ คลองสายนี้ถือเป็นตัวอย่างศึกษาที่น่าสนใจ เพราะจากคลองเก่าโบราณ ที่รายล้อมไปด้วยทัศนียภาพที่ไม่น่าดู บ้านเรือนผุพัง ขยะเน่าเสีย แต่ทางรัฐบาลกลับสามารถพัฒนาจนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันน่าสนใจ มีความงดงาม น้ำใสสวยสะอาด จนผู้คนสามารถสัมผัสแตะต้องได้ ถือว่าเป็นเรื่องน่าทึ่งอย่างมากค่ะ เมืองไทยเราน่าจะลองทำดูบ้างนะคะ (คลองแสนแสบแสบแสนของบ้านเราน่ะ ขอแค่สักครึ่งของเขาก็ยังดีนะคะ ท่านผู้ว่าฯ จัดเป็นคลองท่องเที่ยวสวยงามแบบเวนิซน่าจะดี....ฝันมากไปหรือเปล่านะ...)
Cheonggyecheon (Hangul: 청계천) is a nearly 6 km long, modern public recreation space in downtown Seoul, South Korea. The massive urban renewal project is on the site of a stream that flowed before the rapid post-war economic development required it to be covered by transportation infrastructure. The $900 million project initially attracted much public criticism, but after opening in 2005 has become popular among city residents and tourists.
ชองเกจอน มีความยาวเกือบ 6 ก.ม. เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจกลางกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ โครงการพัฒนาคลองโบราณแห่งนี้ใช้งบไปประมาณ 900 ล้านดอลลาร์ ทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในตอนเริ่มแรก แต่หลังจากที่เปิดตัวในปี 2005 เป็นต้นมา สถานที่แห่งนี้กลับกลายเป็นจุดพักผ่อนและท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมอย่างมาก
Cheonggyecheon is a 5.8 km creek flowing west to east through downtown Seoul, and then meeting Jungnangcheon, which in turn connects to the Hangang (river) and empties into the Yellow Sea. During the 1948-1960 presidency of Syngman Rhee, Cheonggyecheon was covered with concrete for roads. In 1968, during the presidency of Park Chung-Hee, an elevated highway was built over it.
ชองเกจอนเป็นลำธารยาว 5.8 ก.ม. ไหลจากทิศตะวันตกสู่ทิศตะวันออกผ่านใจกลางกรุงโซล แล้วไปบรรจบกับจุงนังจอน ซึ่งไหลไปบรรจบกับแม่น้ำฮัน แล้วไหลลงสู่ทะเลเหลือง ช่วงปี 1948-1960 ชองเกจอนถูกทับด้วยถนนคอนกรีต ต่อมาในปี 1968 ได้มีการสร้างเป็นถนนยกระดับอยู่เหนือลำธารสายนี้
The stream was named Gaecheon (open stream) after the first refurbishment project to construct a drainage system during the Joseon Dynasty. The work, which included dredging and bolstering the banks of the stream and building the bridges, was carried out every 2~3 years during this period from the reign of Taejong, the third king of the Joseon Dynasty. The King Yeonjo especially undertook the refurbishment work as a national project.
ลำธารสายนี้ชื่อว่า เกจอน (ลำธารเปิด) หลังจากถูกขุดขึ้นมาเพื่อเป็นระบบระบายน้ำในสมัยโชซอน งานก่อสร้างทั้งการขุดลอกคลอง สร้างตลิ่ง สร้างสะพาน ต้องทำกันทุกๆ 2-3 ปีตั้งแต่สมัยของกษัตริย์เทจง กษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์โชซอน ในสมัยของกษัตริย์ยอนโจ ถือว่างานบูรณะดังกล่าวเป็นโครงการแห่งชาติเลยทีเดียว
Gacheon was renamed to Cheonggyecheon, its current name, during the Japanese colonial period. During this time, financial difficulties prevented the colonialists from covering up the stream despite several attempts to do so.
After the Korean War (1950~1953), more people migrated into Seoul to make their living and settled down along the stream in shabby makeshift houses. The accompanying trash, sand, and waste, and deteriorating conditions resulted in an eyesore in the city. The stream was covered up with concrete step by step for 20 years since 1958, and a 5.6 km-long, 16 m-wide elevated highway was completed in 1976. This area became an example of ‘successful industrialization and modernization’.
เกจอนถูกเปลี่ยนชื่อเป็นชองเกจอนในสมัยที่เกาหลีตกเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่น หลังจากสงครามเกาหลี มีผู้คนมากมายอพยพเข้ามาอยู่ในกรุงโซล มีการก่อสร้างบ้านพักแบบชั่วคราวอยู่ตลอดแนวสองฝั่ง ทั้งขยะ ทราย สิ่งปฏิกูลต่างๆ ทำให้เกิดภาพที่ไม่น่าดูขึ้นใจกลางเมืองหลวง ตัวลำธารค่อยๆ ถูกปกคลุมไปด้วยถนนคอนกรีตตลอด 20 ปี สุดท้ายถนนไฮเวย์ยกระดับยาว 5.6 ก.ม. กว้าง 16 เมตร ก็ถูกสร้างจนเสร็จในปี 1976 สถานที่แห่งนี้ถือเป็นตัวอย่างความสำเร็จที่งดงามของโลกอุตสาหกรรมและความทันสมัย
[Special Thanks to wikipedia.org]
Cheonggyecheon Stream on DiscoveringKorea.com
No comments:
Post a Comment
Note: Only a member of this blog may post a comment.