26.12.09

The History of Auld Lang Syne : Song for New Year.



The History of Auld Lang Syne : Song for New Year.
ประวัติเพลง Auld Lang Syne :
Roytavan : Writer

เพลงที่ทุกคนได้ยินอยู่นี้ ถ้าใครเคยได้ยินหรือคุ้นหูมาก่อนก็จะทราบว่าบทเพลงนี้ เป็นบทเพลงที่ใช้ร้องสำหรับการต้อนรับเทศกาลปีใหม่แบบสากล เท่าที่เราพอจะจำได้ติดหูติดตา นึกได้ว่ามีภาพยนตร์อยู่ 2 เรื่องที่มีฉากหลังเป็นฉากนับถอยหลังเพื่อนย่างก้าวเข้าสู่ศักราชใหม่หรือปีใหม่ คือ Forrest Gump กับ When Harry Met Sally ซึ่งนอกจากบรรยากาศฉากหลังที่มีภาพของฝูงชนมหาศาลมายืนรวมตัวกันเพื่อนับถอยหลังก้าวสู่ปีใหม่ พร้อม ๆ ไปกับการจุดดอกไม้ไฟ หรือพลุไฟเพื่อเฉลิมฉลองแล้ว

หลังนาฬิกาเดินผ่านเวลาศูนย์นาฬิกา ก็จะมีเพลง Auld Lang Syne ที่ฝูงชนเหล่านั้นต่างเปล่งเสียงร้องพร้อมกันออกมา นั่นเป็นครั้งแรก ๆ จากในภาพยนตร์ ที่เราเพิ่งจะรู้ว่าเพลงที่มีทำนองเพลงเดียวกับ “เพลงสามัคคีชุมนุม” นั้น ทั่วโลกเขานำมาใช้ร้องเพลงต้อนรับการก้าวสู่ศักราชใหม่ จากเดิมที่เรางมโข่งอยู่หลายปีนึกว่าเพลงทำนองนี้ใช้สำหรับเหล่า ลูกเสือ เนตรนารี และยุวกาชาดเท่านั้น

"Auld Lang Syne" เป็นบทกลอนบทหนึ่งที่ถูกประพันธ์ขึ้นในปี 1788 โดย Robert Burns และได้ถูกแต่งทำนองขึ้นมาในรูปแบบดนตรีโฟลค์ เพลงนี้ในหมู่ชาวยุโรป จะร้องกันตอนช่วงนาทีสุดท้ายของสิ้นปีก่อนขึ้นปีใหม่ ทำนองคล้ายๆกับเพลงสามัคคีชุมนุมบ้านเรา โดยมากแล้ว ไม่ค่อยมีใครจำเนื้อเพลงนี้ได้หรอก จะคุ้นหูก็แต่ทำนอง

เพลงนี้ถูกประพันธ์เป็นภาษาสก๊อต และดัดแปลงเป็นภาษาอังกฤษมีทั้งเพลง old long since โดย James Watson ในปี1711 , more long long ago และ days gone by....


ว่าด้วยความเป็นมาของเนื้อเพลง "โอลด์ แลง ซายน์(Auld Lang Syne)"

เพลง "โอลด์ แลง ซายน์ (Auld Lang Syne)" ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย "โรเบิร์ต เบิร์นส์" (Robert Burns ค.ศ.1759-1796) กวี นักคิด นักประพันธ์เพลงผู้มีแนวคิดเสรีนิยม ทั้งเป็นชาวนาด้วย เป็นความภาคภูมิใจแห่งสกอตแลนด์ขนาดขนานนามให้ว่าเป็น "ลูกชายแห่งสกอตแลนด์" ได้รับยกย่องเป็นกวีแห่งชาติสกอต แม้จะจากไปตั้งแต่อายุน้อยเพียง 37 ปี แต่ผลงานเขาอยู่ยืนยงมายาวนานถึงทุกวันนี้ และหนึ่งในนั้นคือบทเพลง โอลด์ แลง ซายน์ ซึ่งในภาษาสกอตคำนี้แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า Old long Ago หรือ เมื่อเนิ่นนานมาแล้ว....

เบิร์นส์สร้างสรรค์โอลด์ แลง ซายน์ เมื่อ ค.ศ.1788 โดยดัดแปลงทำนองจากเพลงพื้นบ้านสกอต ส่วนเนื้อเพลงที่ส่วนใหญ่ว่าด้วยเรื่องการเริ่มต้นใหม่ การให้อภัย และการลืมเรื่องบาดหมางทั้งหลาย ได้รับการตีความไปต่างๆ นานา บ้างว่าพูดถึงการให้ลืมสิ่งเก่าไปรับสิ่งใหม่ๆ ขณะที่สายชาตินิยม ว่า เบิร์นส์ซึ่งเป็นนักคิดคนสำคัญย่อมต้องแต่งเพลงนี้เพื่อพูดถึงอดีตอันเกรียงไกรของชาวสกอต อย่างไรก็ตามมีผู้เสนอความเห็นว่า อาจเป็นเนื้อหาส่วนตัวของเบิร์นส์เอง คือเพลงนี้เขาแต่งเพื่อระบายความรู้สึกหวนหาอดีต คิดถึงเพื่อนเก่า คนรักเก่า วันเวลาเก่าๆ

เพลงโอลด์ แลง ซายน์ มาเกี่ยวข้องกับวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ โดยที่เพลงนี้เป็นเพลงเฉลิมฉลองปีใหม่ของชาวสกอตอยู่ก่อน ว่ากันว่าครั้งสกอตแลนด์สมัยโบราณ คนในหมู่บ้านจะคล้องแขนต่อกันเป็นวงกลมและร้องเพลงไปเรื่อยๆ จนผ่านคืนส่งท้ายปีเก่าแล้วข้ามไปยังปีใหม่ โอลด์ แลงก์ ซายน์ มากลายเป็นเพลงเฉลิมฉลองปีใหม่ในอีกนานาพื้นที่ของโลกเมื่อ "กีย์ ลอมบาร์โด" (Guy Lombardo) นักดนตรีชาวแคนาดา เล่นเพลงนี้ในรายการวิทยุของอเมริกาช่วงรอยต่อระหว่าง ค.ศ.1938-1939 ซึ่งแม้จนบัดนี้เพลงฉบับของลอมบาร์โด ยังคงใช้เปิดเป็นเพลงแรกของปีเพื่อเฉลิมฉลองงานปีใหม่ที่ไทม์สแควร์

หลายประเทศเอาทำนองเพลงโอลด์ แลง ซายน์ ไปใช้ต่างโอกาสกัน อาทิ ไต้หวันใช้ทำนองเพลงนี้เปิดในวันจบการศึกษาและในงานศพ ขณะที่ญี่ปุ่นนำไปแปลงเป็นเพลง Hotaru no Hikari (แสงหิ่งห้อย) ใช้ในงานพิธีจบการศึกษาเช่นกัน ส่วน รพินทรนารถ ฐากูร ปราชญ์วรรณกรรมชาวอินเดีย เอาทำนองเพลงนี้ไปแต่งเป็น About the Old Days และสำหรับประเทศไทย เอาทำนองมาใส่เนื้อใหม่ ประพันธ์โดย เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (ม.ร.ว.เปีย มาลากุล) ให้ชื่อเพลง สามัคคีชุมนุม

ท่อนสร้อยติดหูของโอลด์ แลง ซายน์ คือ
"Should auld acquaintance be forgot,
and never brought to mind.
Should auld acquaintance be forgot,
and days of auld lang syne."

แปลว่า ขอสิ่งเก่าๆ จงถูกลืมเลือนไป และไม่เก็บมาใส่ใจ ขอสิ่งเก่าๆ จงถูกลืมเลือนไป และไหลไปสู่อดีตเนิ่นนาน" หรืออีกนัยหนึ่ง"Auld Lang Syne" แปลตามภาษาอังกฤษก็คือ The Good Old day เป็นคำอวยพรตามธรรมเนียมของชาวสก็อตแลนด์ ความหมายของโคลงที่เป็นเนื้อเพลงนี้ ประมาณว่า เป็นการเริ่มต้นใหม่ การให้อภัย และการลืมเรื่องบาดหมางทั้งหลาย เพลงนี้ เวลาที่ชาวสก็อตแลนด์เขาขับร้องเมื่อศตวรรษ 18 เขาจะให้คนในหมู่บ้านจับมือร่วมร้องเพลงพร้อมกันในรูปวงกลมในคืนคืนส่งท้ายปีเก่าต่อเนื่องปีใหม่ ทุกวันนี้ เพลงโอลด์ แลง ซายน์ ถือเป็นของสาธารณสมบัติ จากข้อกำหนดคือผู้เขียนได้เสียชีวิตมากว่า 100 ปี ...



The History of Auld Lang Syne :

Robert Burns sent a copy of the original song to the Scots Musical Museum with the remark, “The following song, an old song, of the olden times, and which has never been in print, nor even in manuscript until I took it down from an old man". Some of the lyrics were indeed "collected" rather than composed by the poet; the ballad "Old Long Syne" printed in 1711 by James Watson shows considerable similarity in the first verse and the chorus to Burns' later poem, and is almost certainly derived from the same "old song". It is a fair supposition to attribute the rest of the poem to Burns himself.

There is some doubt as to whether the melody used today is the same one Burns originally intended, but it is widely used both in Scotland and in the rest of the world.

Singing the song on Hogmanay or New Year's Eve very quickly became a Scots custom that soon spread to other parts of the British Isles. As Scots (and other Britons) emigrated around the world, they took the song with them.

Canadian band leader Guy Lombardo is often credited with popularising the use of the song at New Year’s celebrations in America, through his annual broadcasts on radio and television, beginning in 1929. The song became his trademark. In addition to his live broadcasts, Lombardo recorded the song more than once. His first recording was in 1939. A later recording on September 29, 1947 was issued as a single by Decca Records as catalog #24260.

However, earlier newspaper articles describe revellers on both sides of the Atlantic singing the song to usher in the New Year.

Auld Lang Syne Lyric :

As detailed above, auld lang syne literally means "old long since", but a more idiomatic English translation would be something like "long long ago", "days of long ago", or "olden days". "For old times' sake," or "to the (good) old days," or "To days(or times) gone by" may be modern-day expressions, in common use as toasts, that capture the spirit of "for auld lang syne". Although the song begins with a question whether old times should be forgotten, the song is generally interpreted as a call to remember long standing friendships. Thomson’s Select Songs of Scotland was published in 1799 in which the second verse about greeting and toasting was moved to its present position at the end.

Most common use of the song involves only the first verse and the chorus. The last lines of both of these are often sung with the extra words "For the sake of" or "And days of", rather than Burns' simpler lines. This allows one note for each word, rather than the slight melisma required to fit Burns' original words to the melody.

The following table of lyrics includes the first few stanzas of the James Watson poem, probably derived from the same folk song as Burns used as the basis for his poem.




--------------------------

Original Old Long Syne Lyric : by James Watson (1711)

Should Old Acquaintance be forgot,
and never thought upon;
The flames of Love extinguished,
and fully past and gone:
Is thy sweet Heart now grown so cold,
that loving Breast of thine;
That thou canst never once reflect
on Old long syne.

CHORUS:
On Old long syne my Jo,
in Old long syne,
That thou canst never once reflect,
on Old long syne.
My Heart is ravisht with delight,
when thee I think upon;
All Grief and Sorrow takes the flight,
and speedily is gone;
The bright resemblance of thy Face,
so fills this, Heart of mine;
That Force nor Fate can me displease,
for Old long syne.

CHORUS:
Since thoughts of thee doth banish grief,
when from thee I am gone;
will not thy presence yield relief,
to this sad Heart of mine:
Why doth thy presence me defeat,
with excellence divine?
Especially when I reflect
on Old long syne

CHORUS:
(several further stanzas)



Auld Lang Syne : English translation

Should auld acquaintance be forgot,
And never brought to mind?
Should auld acquaintance be forgot
And days of auld lang syne?

For auld lang syne, my dear,
For auld lang syne,
We'll take a cup o' kindness yet
For auld lang syne.

We twa hae run aboot the braes
And pou'd the gowans fine;
We've wander'd mony a weary foot
Sin' auld lang syne.

We two hae paidled i' the burn,
Frae mornin' sun till dine;
But seas between us braid hae roar'd
Sin' auld lang syne.

And here's a hand, my trusty friend,
And gie's a hand o' thine;
We'll take a cup o' kindness yet
For auld lang syne.

Should auld acquaintance be forgot,
And never brought to mind?
Should auld acquaintance be forgot
And days of auld lang syne?

For auld lang syne, my dear,
For auld lang syne,
We'll take a cup o' kindness yet
For auld lang syne.

For auld lang syne, my dear,
For auld lang syne,
We'll take a cup o' kindness yet
For auld lang syne.




Auld lang syne (Translation to Korean)

Should auld acquaintance be forgot
and never brought to mind?
Should auld acquaintance be forgot
and auld lang syne?

오랜 친구가 잊혀져
기억조차 나지 않게 되는 것인가?
오랜 친구가 잊혀지고
그리운 옛날도 잊혀져야만 하는 것인가?


For auld lang syne, my dear,
for auld lang syne,
we'll take a cup of kindness yet.
For auld lang syne!

그리운 옛날을 위해, 사랑하는 이여
그리운 옛날을 위해
우리 이제 우정의 술잔을 들도록 하세.
그리운 옛날을 위해!

We twa hae paidl'd in the burn
frae morning sun till dine.
But seas between us braid hae roar'd
Sin' auld lang syne.

우리 둘은 시냇물에서 노를 저었지.
아침 해가 떠서부터 저녁 식사때까지
하지만 우리를 갈라놓은 넓은 바다는
큰소리로 우르렁거렸네.
그리운 그 옛시절부터

For auld lang syne, my dear,
for auld lang syne,
we'll take a cup of kindness yet.
For auld lang syne!

그리운 옛날을 위해, 사랑하는 이여
그리운 옛날을 위해
우리 이제 우정의 술잔을 들도록 하세.
그리운 옛날을 위해!

There's a hand, my trusty fiere,
and gie's a hand o' thine.
We'll take a right guid-willie waught
for auld lang syne!

여기 손이 있네, 나의 진실한 친구여.
그리고 내게도 자네의 손을 내밀게.
진정한 우정을 나누는
술 한 모금을 마시도록 하세.
그리운 옛날을 위해!

For auld lang syne, my dear,
for auld lang syne,
we'll take a cup of kindness yet.
For auld lang syne!

그리운 옛날을 위해, 사랑하는 이여
그리운 옛날을 위해
우리 이제 우정의 술잔을 들도록 하세.
그리운 옛날을 위해!

[참고사항] auld lang syne → old long ago
또는 times gone by braes → hills 또는 hillsides,
fit → foot, gowans → daisies, monie → many,
pou'd → pulled, sin → since, twa → two.

Auld Lang Syne ..Song for New Year.
Auld Lang Syne : wikipedia



1 comment:

  1. электронные книги про секс
    пацаны геи порно секс пацанов
    транссексуалы секс
    бесплатно загрузить порно
    секс сотовый

    ReplyDelete

Note: Only a member of this blog may post a comment.