10.2.10

[Article] Chinese New Year's Mythology / ตำนานและที่มาของวันตรุษจีน




ตำนานเทศกาลวันตรุษจีน
Roytavan : Author
Original : http://twssg.blogspot.com/

ตรุษจีน เป็นวันสำคัญของคนจีนที่มีมาแต่โบราณที่เรียกว่า “กว้อชุนเจี๋ย” หรือ “กว้อเหนียน” เล่ากันว่าในสมัยโบราณ ในป่าทึบแห่งหนึ่ง มีสัตว์ป่าที่ดุร้ายและน่ากลัวมากตัวหนึ่ง เรียกว่า “เหนียน” มันออกอาละวาดกินคนเป็นประจำ พระเจ้าจึงลงโทษมัน อนุญาตให้มันลงมาจากเขาได้เพียงหนึ่งครั้งใน 365 วัน ดังนั้น เมื่อฤดูหนาวใกล้จะผ่านไป ฤดูใบไม้ผลิเวียนมาใกล้ เหนียน ก็จะออกมาทำร้ายผู้คน เพื่อป้องกันการมาของ เหนียน ทุก ๆ ครัวเรือนจึงต่างสะสมเสบียงอาหาร และกับข้าวจำนวนหนึ่งไว้ในบ้าน เมื่อถึงตอนค่ำของวันที่ 30 เดือน 12 ก็จะปิดประตูและหน้าต่างเอาไว้ ไม่หลับไม่นอนตลอดคืน เพื่อต่อสู้กับ เหนียน จนกระทั่งถึงรุ่งเช้าก็จะเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 1 เมื่อ เหนียน กลับไปแล้ว ทุก ๆ ครัวเรือนก็จะเปิดประตูออกมาแสดงความยินดีต่อกัน ที่โชคดีไม่ได้ถูก เหนียน ทำร้าย

ต่อมาพบว่า เหนียน มีจุดอ่อน มีอยู่ครั้งหนึ่งเมื่อ เหนียน มาถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีเด็กกลุ่มหนึ่งกำลังหวดแส้เล่นกันเมื่อ เหนียน ได้ยินเสียงแส้ดังเปรี้ยงปร้างก็เลยตกใจเผ่นหนีไปและเมื่อ เหนียน ไปถึงหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่ง เห็นมีชุดเสื้อผ้าสีแดงตากอยู่หน้าบ้านของครอบครัวหนึ่ง สีแดงฉูดฉาดทำให้ เหนียน ตกใจและเผ่นหนีไปอีก เมื่อ เหนียน มาถึงหมู่บ้านแห่งที่สาม ปรากฏว่าไปพบเห็นกองเพลิงกองหนึ่งบนถนน แสงเพลิงที่เจิดจ้าทำให้ เหนียน ต้องเผ่นหนีไปอีก ตั้งแต่นั้นมาผู้คนต่างรู้ว่า ถึงแม้ เหนียน จะดุร้ายแต่มันก็กลัวสีแดง กลัวเสียงที่ดัง และกลัวไฟ ทำให้ผู้คนสามารถคิดหาวิธีกำจัด เหนียน ได้โดยไม่ยากนัก


เมื่อวันส่งท้ายตรุษจีนเวียนมาอีกครั้งหนึ่ง ทุก ๆ ครัวเรือนจึงต่างนำกระดาษสีแดงมาติดไว้บนประตูหน้าบ้าน แขวนโคมไฟสีแดง พร้อมกับจุดประทัดและตีฆ้องรัวกลองอย่างต่อเนื่อง เมื่อ เหนียน มาถึงในตอนเย็น เห็นทุก ๆ ครัวเรือนมีแสงไฟสว่างไสว มีเสียงประทัดดังสนั่นจึงตกใจเผ่นหนีกลับเข้าป่าไป และไม่กล้าออกมาอาละวาดอีก ทุกๆ คนจึงผ่านพ้นคืนแห่งอันตรายไปอย่างปลอดภัย เมื่อฟ้าสางแล้ว ผู้คนจึงออกมาจากบ้าน กล่าวคำอวยพรซึ่งกันและกันอย่างมีความสุข พร้อมกับการนำอาหารออกมารับประทานร่วมกันอย่างสนุกสนาน...นี่แหละคือที่มาของวัน "ตรุษจีน"



ตำนานปีศาจ “เหนียน” / “年” 兽的传说
เล่ากันมาว่า ประเทศจีนในสมัยโบราณมีปีศาจตนหนึ่ง นามว่า “เหนียน” หัวมีขนรุงรัง ดุร้ายเป็นอย่างมาก “เหนียน” อาศัยในทะเลลึกเป็นเวลายาวนาน ทุกปีพอถึงวันสิ้นปีก็จะปีนขึ้นฝั่ง มาทำร้ายผู้คนและสัตว์เลี้ยง ดังนั้นทุกปีพอถึงวันสิ้นปี ผู้คนในหมู่บ้านบนภูเขาต่างก็อุ้มลูกจูงหลานเข้าไปในหุบเขาลึก เพื่อซ่อนตัวไม่ให้ปีศาจ “เหนียน”มาทำร้าย

วันสิ้นปีในปีนี้ คนในหมู่บ้าเถาชุนกำลังพากันหอบลูกจูงหลานไปหลบภัยบนภูเขา มีชายแก่ขอทานคนหนึ่งมาจากนอกหมู่บ้าน แขนสะพายกระเป๋า เคราขาวปลิวตามลม ตาเป็นประกาย บรรดาพี่น้องในหมู่บ้านเดียวกันล้วนปิดบ้านแน่นหนา บ้างเก็บข้าวของ บ้างต้อนวัวไล่แพะ ทั่วทุกแห่งสับสนอลหม่าน ทุกคนต่างตกอยู่ในภาวะรีบร้อนหวาดกลัว ในเวลานี้ ใครจะมีกะจิตกะใจมาสนใจชายแก่ขอทานล่ะ

มีเพียงยายแก่ที่อยู่ทางตะวันออกของหมู่บ้านให้อาหารแก่ชายแก่ อีกทั้งแนะนำให้เขารีบขึ้นเขาไปซ่อนตัวจากปีศาจ “เหนียน” ชายแก่ลูบเคราแล้วยิ้ม กล่าวว่า “ หากแม้นว่าท่านให้ข้าพักที่นี่หนึ่งคืน ข้าจะขับไล่ปีศาจเหนียนให้ท่าน ” ยายแก่มองเขาอย่างตกตะลึง เห็นเขาผมขาวหน้าแดงมีเลือดฝาด จิตใจกระปรี้กระเปร่า มีน้ำใจสูงส่ง แต่ยายแก่ก็ยังคงแนะให้เขาหลบหนีต่อไป ชายแก่ขอทานยิ้มแต่ไม่ได้พูดอะไร ยายแก่ไม่มีทางเลือก จำต้องทิ้งบ้านขึ้นเขาไปหลบภัย พอถึงเที่ยงคืน ปีศาจเหนียนก็ตรงดิ่งมายังหมู่บ้าน มันพบว่าบรรยากาศในหมู่บ้านไม่เหมือนกับทุกปี บ้านของยายทางด้านตะวันออก บนประตูแปะกระดาษสีแดง ในบ้านจุดเทียนสว่างไสว ปีศาจเหนียนตัวสั่นเทาไปหมดทั้งร่าง ส่งเสียงร้องออกมาทีหนึ่ง ปีศาจเหนียนหันไปจ้องเขม็งยังบ้านของยายแก่ชั่วครู่ ทันใดนั้นมันก็วิ่งเข้าไปอย่างบ้าคลั่ง พอเข้าไปใกล้ประตู ภายในบ้านก็มีเสียงประทัดดัง “ปัง ปัง” ขึ้นมา ปีศาจเหนียนตัวสั่นเทิ้ม ไม่กล้าเข้าไปใกล้อีก แท้จริงแล้ว ปีศาจเหนียนกลัวสีแดง แสงไฟ และเสียงประทัดที่สุด เวลานั้นเองประตูบ้านของยายแก่ก็เปิดออก มีเพียงชายชราที่ใส่ชุดยาวสีแดงยืนหัวเราะเสียงดังอยู่ เจ้าเหนียนหน้าถอดสี แล้ววิ่งหนีเตลิดเปิดเปิงไป



เช้าวันที่สองในวันปีใหม่ ผู้คนที่ไปหลบภัยกลับมาเห็นหมู่บ้านตนสงบสุขก็ตกตะลึง เวลานั้นยายแก่ก็รีบอธิบายกับพวกผู้คนในหมู่บ้านว่านี่เป็นคำสัญญาของชายแก่ขอทาน พวกชาวบ้านพร้อมใจกันมุ่งหน้าไปบ้านยายแก่ พบเพียงกระดาษสีแดงที่แปะอยู่หน้าประตูบ้านของยายแก่ ภายในสวนมีไม้ไผ่กองหนึ่งที่ยังเผาไหม้ไม่หมดยังคงส่งเสียงระเบิดเป๊าะแป๊ะ ภายในบ้านยังมีเทียนสีแดงที่ยังคงมีแสงสว่างเหลืออยู่......

พวกชาวบ้านดีใจเป็นล้นพ้น เฉลิมฉลองความเป็นศิริมงคลที่มาถึง ค่อยๆเปลี่ยนชุดใหม่เปลี่ยนหมวกใหม่ ไปบ้านเพื่อนเยียมทเยียนญาติสนิทมิตรสหาย เรื่องนี้แพร่ออกไปรอบหมู่บ้านอย่างรวดเร็ว ทุกคนล้วนแต่ทราบวิธีการขับไล่ปีศาจเหนียน ตั้งแต่นั้นมาในคืนวันสิ้นปี ทุกบ้านก็จะแปะคำโคลงคู่สีแดง จุดประทัดเสียงดัง แต่ละบ้านจุดไฟสว่างไสว เฝ้ารอเวลาให้ถึงวันปีใหม่ พอเช้าวันปีใหม่ ก็ไปพากันแวะเวียนไปเยี่ยมเยียนเพื่อสนิทมิตรสหาย ประเพณีนี้นี้แพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวาง กลายเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของประชาชนชาวจีน



ที่มาวันตรุษจีน
การไหว้ตรุษจีนมีประวัติยาวนานย้อนหลังกลับไปถึงสมัยราชวงศ์โจว เมื่อกว่า 3,000 ปีมาแล้วแต่เดิมมีการไหว้กันยาวนานถึง 15 วัน แต่ในปัจจุบันสังคมเปลี่ยนไป ธรรมเนียมการไหว้ตรุษจีน จึงลดลงเหลือเพียง 3 วัน ดังนี้ วันจ่าย หรือ ตื่อเส็ก คือวันก่อนวันสิ้นปี เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปซื้ออาหาร ผลไม้และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ก่อนที่ร้านค้าทั้งหลายจะปิดร้านหยุดพักผ่อนยาว ในตอนค่ำจะมีการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่ หรือ ตี่จู่เอี๊ย ให้ลงมาจากสวรรค์เพื่อรับการสักการะบูชาของเจ้าบ้าน หลังจากที่ได้ไหว้อัญเชิญขึ้นสวรรค์เมื่อ 4 วันที่แล้ว ถ้าเราเดินเข้าไปในบ้านหรือร้านค้าของจีน คงเคยเห็นศาลเจ้าเล็กๆสีแดงสด ศิลปะจีน วางอยู่บนพื้น ข้างหน้าศาลวางเครื่องบูชา นั่นคือศาลตี่จู่เอี๊ยหรือเจ้าที่นั่นเอง ธรรมเนียมการนับถือตี่จู่เอี๊ยนี้คล้ายกับการนับถือพระภูมิเจ้าที่ของคนไทย นั่นเอง



ขนบธรรมเนียมประเพณีปฎิบัติในวันตรุษจีน
ประเพณีวันตรุษจีน หรือ วันขึ้นปีใหม่จีน เป็นประเพณีที่สืบทอดจากปฏิทินตามจันทรคติของจีน ซึ่งถือเป็นวันแรกของปี หรือวันแรกของเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ คนจีนจะถือวันแรกของเดือนแรก หรือ วันขึ้น 1 ค่ำเดือน 1 เป็น "วันตรุษจีน" ซึ่งปีนี้ปฏิทินสุริยคติ ตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธุ์ โดยคนจีนจะถือ "วันตรุษจีน" เป็นวันไหว้เพื่อต้อนรับเทพเจ้าแห่งโชคลาภ ไฉ่ซิงเอี๊ย

ในคืนก่อนวันตรุษจีนคนจีนถือเป็นวันครอบครัว ญาติพี่น้องที่อยู่แดนไกลจะถือเอาวันนี้กลับมาพบปะสังสรรค์กัน และจะไหว้เจ้า ไหว้ฟ้าดิน รวมถึงบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เนื่องจากคนจีนถือว่าผู้ล่วงลับไปแล้ว จะคอยอยู่ปกป้องครอบครัวให้มีความเจริญผาสุก รวมถึงนำโชคลาภสู่สมาชิกในครอบครัวด้วย นอกจากนี้ การเลือกเวลาไหว้ให้เหมาะกับปีเกิดของแต่ละบุคคลก็มีความสำคัญมาก เพราะมีความเชื่อว่าการไหว้ให้ถูกเวลามีฤกษ์ดี ไหว้ให้ถูกทิศมีชัยภูมิที่ดี ไหว้ให้เหมาะกับบุคคลมีนักษัตรปีเกิดที่ดี และยังไหว้ให้ถูกขั้นตอนประเพณี



ทั้งนี้วันตรุษจีนจะมีการเตรียมของไหว้อย่างพิถีพิถัน แบ่งเป็นเนื้อสัตว์ ผลไม้ ขนมหวาน กับข้าวคาว กับข้าวเจ อย่างละ 3 หรือ 5 ชนิด พร้อมสุรา น้ำชา ข้าวสวย และกระดาษเงินกระดาษทองประเภทต่างๆ โดยจะจัดเรียงตามลำดับความสำคัญตามชนิดของอาหาร ซึ่งจะมีเสียงเรียกพ้องกับเสียงของคำมงคล และผลไม้ที่ขาดไม่ได้บนโต๊ะไหว้ก็คือ ส้มมหามงคลสีทอง ที่ชาวจีนเรียกว่าส้มไต่กิก เพราะมีความหมายหมายถึงความสวัสดีมงคลอย่างยิ่ง

สำหรับ "วันไหว้" จะทำกันในวันสิ้นปี ซึ่งปกติมีการไหว้ 3-4 ชุด เริ่มจาก "ไหว้เจ้าที่" ในช่วงเช้าด้วยชุดซาแซ คือ หมู เป็ด ไก่ ที่อาจเปลี่ยนเป็นไข่ย้อมสีแดงได้ ขนมเทียน และขนมถ้วยฟู หรือขนมอื่นๆ ผลไม้ไหว้มีส้มสีทอง องุ่น แอปเปิ้ล พร้อมกับกระดาษเงิน กระดาษทอง ต่อด้วยช่วงสายๆ ไม่เกินเที่ยง "ไหว้บรรพบุรุษ" เครื่องไหว้จะประกอบด้วยชุดซาแซ อาหารคาวหวาน ส่วนมากก็ทำตามที่ผู้ล่วงลับไปแล้วชอบ เต็มที่จะมี 10 อย่าง นิยมว่าต้องมี น้ำแกง เพื่ออวยพรให้ชีวิตราบรื่น และกับข้าวเลือกที่มีความหมายมงคล ส่วนขนมไหว้บรรพบุรษต่างๆ ก็มีความหมายมงคลเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม หลังจากไหว้บรรพบุรษแล้ว ช่วงเที่ยงหรือบ่ายก็จะไหว้ผีไม่มีญาติ จากนั้นก็เป็นช่วงกลางดึกของคืนวันสิ้นปีย่างเข้าตรุษจีน ที่จะมีการไหว้ ไฉ่ซิงเอี๊ย หรือเทพเจ้าแห่งโชคลาภ โดยให้หันโต๊ะไหว้ไปทางทิศตะวันตก ซึ่งช่วงเวลาไหว้เทพเจ้าแห่งโชคลาภที่ดีที่สุดของปีนี้อยู่ระหว่างเวลา 03.00 - 05.00 น. เป็นช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 26 มกราคม ทั้งนี้ ชาวจีนจะเตรียมจัดของไหว้เทพเจ้าแห่งโชคลาภอย่างพิถีพิถัน เพราะในช่วงเวลาที่กำลังจะเข้าวันตรุษจีน โลกกำลังหมุนไปทางทิศนี้ แล้วเมื่อย่างเข้าวันปีใหม่จีนหรือวันตรุษจีน ก็ยังนิยมไปไหว้ขอพรและอวยพรจากญาติผู้ใหญ่ โดยจะนำส้มสีทองจำนวน 4 ใบ ไปมอบให้ด้วยเสมือนนำโชคดีไปให้ เพราะเสียงไปพ้องกับคำว่าทองในภาษาจีนแต้จิ๋ว



ความหมายของผลไม้ไหว้วันตรุษจีน
- กล้วย หมายถึง กวักโชคลาภเข้ามา และขอให้มีลูกหลานเต็มบ้านเต็มเมือง
- แอปเปิ้ล หมายถึง ความสันติสุข สันติภาพ
- สาลี่ หมายถึง โชคลาภมาถึง (ควรระวังไม่นิยมไหว้บรรพบุรุษและวิญญาณไร้ญาติ)
- ส้มสีทอง หมายถึง ความสวัสดีมหามงคล
- องุ่น หมายถึง ความเพิ่มพูน

ความหมายของอาหารไหว้วันตรุษจีน
- ไก่ หมายถึง ความสง่างาม ยศ และความขยันขันแข็ง ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ต้องเป็นไก่เต็มตัว หมายถึง มีหัว ตัว
ขา ปีก มีความหมายถึง ความสมบูรณ์
- เป็ด หมายถึง สิ่งบริสุทธิ์ ความสะอาด ความสามารถอันหลากหลาย
- ปลา หมายถึง เหลือกินเหลือใช้ อุดมสมบูรณ์
- หมู หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ มีกินมีใช้
- ปลาหมึก หมายถึง เหลือกิน เหลือใช้ (เหมือนปลา)
- บะหมี่ยาวหรือหมี่ซั่ว หรือ ฉางโซ่วเมี่ยน ตามชื่อหมายถึง อายุยืนยาว
- เม็ดบัว หมายถึง การมีบุตรชายจำนวนมาก
- ถั่วตัด หมายถึง แท่งเงิน
- สาหร่ายทะเลสีดำ หมายถึง ความมั่งคั่งร่ำรวย
- หน่อไม้ หมายถึง การอวยพรให้ร่ำรวยผาสุก

*** สิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง คือ เต้าหู้ขาว เนื่องจากสีขาว คือ สีสำหรับงานโศกเศร้า***



ความหมายของขนมไหว้วันตรุษจีน
- ขนมเข่ง คือ ความหวานชื่น ราบรื่นในชีวิต ขนมเข่งที่ใส่ในชะลอม หมายถึง ความหวานชื่นอันสมบูรณ์
- ขนมเทียน คือ เป็นขนมที่ปรับปรุงขึ้นจากชาวจีนโพ้นแผ่นดินดัดแปลงมาจากขนมท้องถิ่นของไทย จากขนมใส่ไส้
เปลี่ยนจากแป้งข้าวเจ้าผสมกะทิมาเป็นแป้งข้าวเหนียวแทน มีความหมายหวานชื่น ราบรื่น รูปลักษณ์เป็นกรวยแหลม
มีลักษณะเป็นมงคลเหมือนเจดีย์
- ขนมไข่ คือ ความเจริญเติบโต
- ขนมถ้วยฟู คือ ความเพิ่มพูนรุ่งเรือง เฟื่องฟู
- ขนมสาลี่ คือ รุ่งเรือง เฟื่องฟู
- ซาลาเปา หรือ หมั่นโถว คือ ไหว้เพื่อให้เปาไช้ แปลว่าห่อโชค
- จันอับ (จั๋งอั๊บ) หมายถึง ปิ่นโต หมายถึงความหวานที่เพิ่มพูน มีความสุขตลอดไป



Chinese New Year's Mythology
Roytavan : Edit from Wikipedia.
http://twssg.blogspot.com/

Chinese New Year or Spring Festival is the most important of the traditional Chinese holidays. It is sometimes called the "Lunar New Year" by English speakers. The festival traditionally begins on the first day of the first month (Chinese: 正月; pinyin: zhēng yuè) in the Chinese calendar and ends on the 15th; this day is called Lantern Festival. Chinese New Year's Eve is known as chú xī. It literally means "Year-pass Eve".



According to tales and legends, the beginning of Chinese New Year started with the fight against a mythical beast called the Nien (Chinese: 年; pinyin: nián). Nien would come on the first day of New Year to devour livestock, crops, and even villagers, especially children. To protect themselves, the villagers would put food in front of their doors at the beginning of every year. It was believed that after the Nien ate the food they prepared, it wouldn’t attack any more people. One time, people saw that the Nien was scared away by a little child wearing red. The villagers then understood that the Nien was afraid of the colour red. Hence, every time when the New Year was about to come, the villagers would hang red lanterns and red spring scrolls on windows and doors. People also used firecrackers to frighten away the Nien. From then on, Nien never came to the village again. The Nien was eventually captured by hong jun lao zu, an ancient Taoist monk. The Nien became hong jun lao zu's mount.



Nian Monster (年兽/年獸)
In Chinese mythology, a Nian (simplified Chinese: 年兽; traditional Chinese: 年獸; pinyin: nián shòu) is a beast that lives under the sea or in the mountains. Once each spring, on or around Chinese New Year, it comes out of hiding to attack people, especially children. The Nian is sensitive to loud noises and is afraid of the color red. The Chinese Lion Dance is known to have originated from the legend of the Nian. The tradition began when a Nian attacked a village. After the attack, the villagers discussed how to make the Nian leave them alone. Eventually they came up with a plan where drums, plates and empty bowls were hit and firecrackers were thrown, causing loud banging sounds that would scare off the Nian. This scared the Nian, and since that time, the Nian has not appeared in the village again. The Nian is still believed to exist, but that it is scattered about the jungle and mountains, never to appear in front of a human again.


Chinese New Year Festival
Chinese New Year is the longest and most important festivity in the Lunar Calendar. The origin of Chinese New Year is itself centuries old and gains significance because of several myths and traditions. Ancient Chinese New Year is a reflection on how the people behaved and what they believed in the most.

Celebrated in areas with large populations of ethnic Chinese, Chinese New Year is considered a major holiday for the Chinese and has had influence on the new year celebrations of its geographic neighbors, as well as cultures with whom the Chinese have had extensive interaction. These include Koreans (Seollal), Tibetans and Bhutanese (Losar), Mongolians (Tsagaan Sar), Vietnamese (Tết), and formerly the Japanese before 1873 (Oshogatsu). Outside of Mainland China, Hong Kong, Macau, and Taiwan, Chinese New Year is also celebrated in countries with significant Han Chinese populations, such as Singapore, Indonesia, Laos, Malaysia, the Philippines, and Thailand. In countries such as Australia, Canada and the United States, although Chinese New Year is not an official holiday, many ethnic Chinese hold large celebrations and Australia Post, Canada Post, and the US Postal Service issues New Year's themed stamps.



Within China, regional customs and traditions concerning the celebration of the Chinese new year vary widely. People will pour out their money to buy presents, decoration, material, food, and clothing. It is also the tradition that every family thoroughly cleans the house to sweep away any ill-fortune in hopes to make way for good incoming luck. Windows and doors will be decorated with red colour paper-cuts and couplets with popular themes of “happiness”, “wealth”, and “longevity”. On the Eve of Chinese New Year, supper is a feast with families. Food will include such items as pigs, ducks, chicken and sweet delicacies. The family will end the night with firecrackers. Early the next morning, children will greet their parents by wishing them a healthy and happy new year, and receive money in red paper envelopes. The Chinese New Year tradition is a great way to reconcile forgetting all grudges, and sincerely wish peace and happiness for everyone.



Traditionally For Chinese New Year,
On the days before the New Year celebration Chinese families give their home a thorough cleaning. There is a Cantonese saying "Wash away the dirt on ninyabaat" (年廿八,洗邋遢), but the practice is not usually restricted on nin'ya'baat (年廿八, the 28th day of month 12). It is believed the cleaning sweeps away the bad luck of the preceding year and makes their homes ready for good luck. Brooms and dust pans are put away on the first day so that luck cannot be swept away. Some people give their homes, doors and window-frames a new coat of red paint. Homes are often decorated with paper cutouts of Chinese auspicious phrases and couplets. Purchasing new clothing, shoes, and receiving a hair-cut also symbolize a fresh start.

In many households where Buddhism or Taoism is prevalent, home altars and statues are cleaned thoroughly, and altars that were adorned with decorations from the previous year are also taken down and burned a week before the new year starts, and replaced with new decorations. Taoists (and Buddhists to a lesser extent) will also "send gods" (送神), an example would be burning a paper effigy of Zao Jun the Kitchen God, the recorder of family functions. This is done so that the Kitchen God can report to the Jade Emperor of the family household's transgressions and good deeds. Families often offer sweet foods (such as candy) in order to "bribe" the deities into reporting good things about the family.


The biggest event of any Chinese New Year's Eve is the dinner every family will have. A dish consisting of fish will appear on the tables of Chinese families. It is for display for the New Year's Eve dinner. This meal is comparable to Christmas dinner in the West. In northern China, it is customary to make dumplings (jiaozi 饺子) after dinner and have it around midnight. Dumplings symbolize wealth because their shape is like a Chinese tael. By contrast, in the South, it is customary to make a new year cake (Niangao, 年糕) after dinner and send pieces of it as gifts to relatives and friends in the coming days of the new year. Niangao literally means increasingly prosperous year in year out. After the dinner, some families go to local temples, hours before the new year begins to pray for a prosperous new year by lighting the first incense of the year; however in modern practice, many households hold parties and even hold a countdown to the new lunar year.


Red envelopes or red packets (Cantonese: lai sze or lai see) (利是, 利市 or 利事); (Mandarin: 'hóng bāo' (红包); Hokkien: 'ang pow' (POJ: âng-pau); Hakka: 'fung bao'; are passed out during the Chinese New Year's celebrations, from married couples or the elderly to unmarried juniors. It is also common for adults or young couples to give red packets to children. Red packets are also known as 壓歲錢/压岁钱 (Ya Sui Qian, which was evolved from 壓祟錢/压祟钱, literally, the money used to suppress or put down the evil spirit ) during this period.[5]

Red packets almost always contain money, usually varying from a couple of dollars to several hundred. Per custom, the amount of money in the red packets should be of even numbers, as odd numbers are associated with cash given during funerals (帛金 : Bai Jin). The number 8 is considered lucky (for its homophone for "wealth"), and $8 is commonly found in the red envelopes in the US. The number six is also very lucky due to the reason, in Chinese six[六,liu] can mean smooth, as in having a smooth year. Sometimes chocolate coins are found in the red packets.



Odd and even numbers are determined by the first digit, rather than the last. Thirty and fifty, for example, are odd numbers, and are thus appropriate as funeral cash gifts. However, it is common and quite acceptable to have cash gifts in a red packet using a single bank note – with ten or fifty yuan bills used frequently.

The act of requesting for red packets is normally called (Mandarin): 讨紅包, 要利是. (Cantonese):逗利是. A married person would not turn down such request as it would mean that he or she would be "out of luck" in the new year. While this practice is common in South China, in the North people give cash without any cover to their sons and daughters, nephews and nieces, and children of their relatives and friends. Unlike the South, it is common for people give Ұ50, Ұ100 or even more, odd or even numbers are not taken into consideration anymore.

No comments:

Post a Comment

Note: Only a member of this blog may post a comment.