26.11.12

[Article] “พิธีอาบน้ำเพ็ญ” ความเชื่อโบราณในวันลอยกระทง



“พิธีอาบน้ำเพ็ญ” ความเชื่อโบราณในวันลอยกระทง
Original : TWSSG TEAM


ผู้สันทัดกรณีพิธีกรรมความเชื่ออันเกี่ยวโยงกับลอยกระทงรายหนึ่ง
เล่าย้อนสะท้อนยุคอดีตว่า... ความสำคัญของวันเพ็ญเดือน 12 นั้น คนไทยส่วนใหญ่ย่อมทราบถึง “ประเพณีลอยกระทง” ที่มีมาแต่โบราณในสมัยสุโขทัย ที่มีพื้นฐานความเชื่อมาจากลัทธิพิธีกรรมของพราหมณ์ ผสานกับศรัทธาในศาสนาพุทธ จนเกิด “ประเพณีชักโคม” ขึ้นเสาริมแม่น้ำเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณีในชั้นดาวดึงส์ และ “ประเพณีลอยโคม” บูชารอยพระพุทธบาท มีตำนานกล่าวขานถึง “นางนพมาศ” พระสนม “พระร่วง” ซึ่งได้คิดทำ “กระทงรูปดอกบัว” ถวายให้ลอยตามกระแสน้ำ จนเกิด “ประเพณีลอยกระทงประทีป” สืบต่อกันมา...





และสิ่งที่สืบต่อกันมาอันเกี่ยวเนื่องกับประเพณีลอยกระทง

ก็แตกแขนงเป็นหลายส่วน รวมถึงด้านพิธีกรรมความเชื่อ อย่างเช่น... “พิธีอาบน้ำเพ็ญ” ซึ่งเป็นความเชื่อในเรื่องการ “ใช้น้ำเป็นสื่อกลางในการดูดพลังจากพระจันทร์” โดยการอาบน้ำตามสายน้ำต่าง ๆ หรืออาบในที่โล่งแจ้งจากภาชนะที่เตรียมใส่น้ำไว้




พิธีอาบน้ำเพ็ญนี้เชื่อกันมาแต่โบราณว่า

เป็น การอาบน้ำชำระบาป สาปส่งสิ่งที่ไม่ดี และขจัดสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายให้หายไปจากจิตใจและร่างกาย เพื่อเป็นการสร้างเสริมบารมีและสิริมงคลแก่ชีวิต ถือเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ของตนเองและครอบครัว จะทำกันในคืนวันพระจันทร์เต็มดวงของวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12

“ปีหนึ่ง จะมีเพียงวันเดียวที่ทำพิธีนี้ ในอดีตจะทำ ณ แม่น้ำที่เชื่อว่ามีความบริสุทธิ์ดุจดั่งน้ำทิพย์ ที่เต็มไปด้วยพลังอำนาจแห่งดวงจันทรา ที่สร้างอหังการปาฏิหาริย์ให้แข็งกล้า จนบังเกิดความขยันหมั่นเพียร เรียนรู้สู้ทุกอย่าง สร้างความเจริญรุ่งเรือง หนุนนำเนื่องแก่ผู้กระทำอย่าง สูงสุด”


...ผู้ศึกษาเรื่องนี้ระบุ และบอกอีกว่า...

พิธี นี้ก็มีวัดถือปฏิบัติกันมา เป็นการทำเฉพาะบางแห่ง โดยประเพณีในการอาบน้ำเพ็ญจะใช้พิธีกรรมที่มีพระสงฆ์และฆราวาสมาร่วมพิธีกัน ที่ลานกลางแจ้ง เพื่ออาบน้ำในตอนเที่ยงคืน โดยน้ำที่ใช้อาบนั้นจะต้องมีพระสงฆ์สวดเจริญพระพุทธมนต์ บางแห่งก็จะมีสายสิญจน์โยงสู่ภาชนะที่เก็บน้ำต่อเนื่องไปยังผู้เข้าร่วมพิธี ทุกคน เพื่อให้มนต์และคาถาแผ่เมตตาเชื่อมโยงไปให้บังเกิดแต่สิ่งที่ดี มีความสำเร็จ มีความสุข สุขภาพแข็งแรง
"อาบแสงเพ็ญ” คือชื่อเรียกของอีกหนึ่งพิธีกรรมความเชื่อที่มีในยุคอดีต ที่เกี่ยวข้องกับ “ลอยกระทง” ซึ่งผู้สันทัดกรณีคนเดิมบอกว่า... สำหรับพิธีอาบแสงเพ็ญ ซึ่งจะกระทำในคืนเพ็ญเต็มดวงเดือน 12 นั้น ไม่ค่อยจะเป็นที่แพร่หลายหรือปฏิบัติกันมากนัก ผู้ปฏิบัตินั้นส่วนใหญ่มักจะเป็นบุคคลที่ได้รับรู้มา หรือได้รับการสืบทอดวิชาประเภทศาสตร์ลี้ลับ ไม่เป็นที่เปิดเผยแก่บุคคลหรือสาธารณชนทั่วไป




การอาบแสงเพ็ญ

จะ นิยมทำกันในเวลาที่พระจันทร์เต็มดวงลอยเด่นเห็นประกายแสงจ้าสถิตอยู่บนฟาก ฟ้า ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นช่วงเวลาที่มีมนต์ขลัง โดยช่วงที่เต็มไปด้วย “พลังสูงสุด” คือช่วงเที่ยงคืนที่ “พระจันทร์อยู่ตรงหัวพอดี” ซึ่งในการอาบแสงเพ็ญนั้นจะทำได้หลายแบบ...

“ทั้ง แบบที่มีเครื่องนุ่งห่มปิดบังร่างกาย หรือมีน้อยชิ้น หรือแบบที่ไม่มีเครื่องนุ่งห่มเลย ซึ่งการอาบแสงเพ็ญนั้นเชื่อกันว่าเป็นการดูดพลังจากพระจันทร์โดยไม่ต้องใช้ น้ำสัมผัสกายเป็นสื่อกลาง”


นอกจากนี้ ผู้รู้ยังบอกต่อไปว่า...

ยัง มีเรื่องเล่าต่อ ๆ กันมาสำหรับผู้มีวิชาทางไสยเวทว่า ผู้หญิงที่ต้องการเพิ่มเสน่หายาใจแก่ตนเองให้อาบแสงเพ็ญตอนเที่ยงคืน จะมีมนต์เสน่หาเป็นที่รักใคร่เมตตาอย่างยิ่ง โดยเฉพาะจากเพศตรงข้าม อีกทั้งผู้มีวิชาถือคาถาอาคมจะอาบแสงเพ็ญเพื่อให้วิชาแกร่งกล้าสามารถอาจหาญ มากขึ้น นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่าคนเจ็บป่วย นักเรียน นักศึกษา หมอดู หากได้อาบแสงเพ็ญในคืนเดือนเพ็ญจะทำให้โรคภัยไข้เจ็บดีขึ้น การเรียนดีขึ้น ความจำดีขึ้น การพยากรณ์จะถูกต้องแม่นยำมากขึ้น

ทั้งนี้และทั้งนั้น จากพิธีกรรม-ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับคืน “ลอยกระทง” นี้ หากพิจารณาถึงปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับพระจันทร์

No comments:

Post a Comment

Note: Only a member of this blog may post a comment.