ก็ยังไปตอนที่ 4 ไม่ถึงเสียที เพราะว่าในตอนท้ายๆของตอนที่3 องค์ชายทัมด๊ก เสด็จไปเคารพพระศพ ของท่านหญิง ยอน (ทรงเป็นขนิษฐา ของ กษัตริย์ โซซูริม (พระปิตุลา)เป็นพระธิดาของ กษัตริย์ Gogugwon (พระอัยกา) องค์ชาย พนม พระหัตถ์ แสดงคารวะ (แม้จะท่าทางเก้งก้าง แต่ ก็ดูน่ารัก) ก็เลย อยากเล่าเรื่อง แทรก ก่อน การเล่าเรื่องย่อ
ราชินี ซอซอนโน ของกษัตริย์ จูมง พาพระโอรสองค์ชายพีรู ตั้งเมืองใหม่ที่ มิชูฮอล แต่ไม่มีมีการกล่าวขวัญว่ามีทายาท แต่อย่างใด องค์ชายออนโจ ที่ตั้งเมืองใหม่ที่วิเรซุง ต่อมาเรียกว่า Sipje กาลต่อมา เมื่อองค์ชายพีรู สิ้นพระชนม์ องค์ชายออนโจ ได้ รวม มิซุฮอล และวิเรซุง เป็น แพคเจ และก็ มีการย้ายเมืองหลวง องค์ชายออนโจ เป็นกษัตริย์องค์ที่1 ของแพคเจ รวมกษัตริย์ของแพคเจมี 31 พระองค์ และ องค์ชาย ชาง (ซอยองโด) เป็น กษัตริย์ Mu องค์ ที่ 30 ของแพคเจ
จาก องค์ชาย ยูริ แห่ง โคคุเรียว และองค์ชาย ออนโจ แห่ง แพคเจ ทั้ง สอง อาณาจักร ต่างอยู่ดีมีสุข กันเรื่อยมา
โคคุเรียว และแพคเจ เริ่ม เกิดความขัดแย้ง เมื่อเกือบสามร้อยปีต่อมา ใน กษัตริย์ องค์ที่ 9 ของแพคเจ ชื่อกษัตริย์ CHAEKGYE มีมเหสี ชื่อ BOGWA ซึ่งเป็นธิดาของ เจ้าเมือง Daifang และในปี 286 ตรงกับกษัตริย์องค์ที่ 13 ของ โคคุเรียว Seocheon ( 270-292) ที่ โคคุเรียว ไปโจมตี Daifang และ เมืองแพคเจ ต้องส่งกำลังทหารไปช่วย Daifang ต่อมา กษัตริย์องค์ที่ 14 ของโคคุเรียว Bongsang โอรสองค์โตของกษัตริย์ Seocheon (King องค์ที่13)สิ้นพระชนม์ พระนัดดาของ King องค์ที่ 14 Micheon ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ที่15 ต่อด้วยGogugwonกษัตริย์องค์ที่ 16 (โอรส King องค์ที่15) พระอัยกา ของ กษัตริย์กวางแกโต (ปี 331-371)
ถูกแพคเจโจมตีและ สิ้นพระชนม์ขณะสู้รบโดยโอรสของกษัตริย์ Geunckogo (kingองค์ที่ 13 ของแพคเจ) ชื่อ Geungusu ( King องค์ที่ 14 ของแพคเจ) ที่ปราสาท Pyongyang ของ โคคุเรียวเอง แพคเจ
กำลังเรืองอำนาจมากในขณะนั้น และโคคุเรียว ตกเป็นเมืองขึ้นของแพคเจ พระปิตุลาขององค์ชายทัมดัก เป็นกษัตริย์องค์ที่ 17 (ปี371-384 ) King sosurim( gubu) ต่อจาก ต่อจากกษัตริย์องค์ที่16 เมื่อสิ้นพระชมม์ พระอนุชา ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ที่18 king gogukyang(lyeon) (384-391)และนี่คือพระบิดาขององค์ชายทัมดัก นับได้ว่า กษัตริย์ ทั้ง 3 พระองค์ ทรงเป็นกษัตริย์ที่อ่อนแอ อยู่ภายใต้อำนาจของแพคเจ และ มาถึง รัชสมัย ของ กษัตริย์ กวางแกโต มหาราช
“ราชันย์แห่งแผ่นดินอันไพศาล"
องค์ชายทัมดัก ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ที่ 19 ของโคคุเรียว ในปี 391-413 รวมพระชนม์ 39 ชันษา
แต่พระโอรส King jangsu (king องค์ที่ 20 ) ทรงอยู่บนบัลลังก์ยาวนานมาก
มีพระชนม์ถึง 96 ชันษา อยู่ในราชสมบัติ 77 ปี
และเจริญรอยตามที่กษัตริย์กวางแกโตวางวางรากฐานไว้ ทรงนำพามหาอาณาจักรโคคุเรียวเกรียงไกร ขึ้นจุดสูงสุด ของประวัติศาสตร์เกาหลี
มีการถวายพระนาม มหาราช ให้ กษัตริย์กวางแกโต มหาราช ผู้ทรงวางรากฐาน
และรวมกษัตริย์ของโคคุเรียวทั้งสิ้น 28 พระองค์
ส่วนกษัตริย์ Asin คู่แข่งของ องค์ชายทัมดัก ที่เมือง แพคเจ ขึ้นครองราชสมบัติของแพคเจ ในปี 392-405 และเป็นกษัตริย์องค์ที่ 17 ของแพคเจ
จาก วิกิ พีเดีย
เคยอ่านเจอว่าในสมัยโบราณโน้น ศาสนาพุทธ เข้าไปในเกาหลี
Goguryo was the first Korean Kingdom to adopt Buddhism as a state religion in 372,under King Sosurim reign.
ที่แพคเจ ในรัชสมัยของ กษัตริย์ Chimnyu ( ค.ศ. 384-385) ขอลอกทั้งประโยคเลยว่า
Also in 384 .the Indian Buddhist monk Marananta came to Bakeje from Eastern Jin. King Chimnyu welcomed him into the palace,and shortly thereafter adopted Budddhism .In 385 he order that a Buddhist temple be built at the Bakeje capital of Hansan and ten people became monks..
จาก นิตยสาร This is Korea เป็นนิตสารของบ้านเรา เป็นข้อมูลการไปท่องเที่ยวเกาหลี
ในอาณาจักรโคเรียว (ค.ศ 918-1392) ศาสนาพุทธมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด มีงานจิตรกรรมแบบพุทธ และศิลปวัตถุอื่นๆเกิดขึ้นมากมายในวัดต่างๆทั่วประเทศ ส่วนสมัยราชวงศ์โซซอน (ค.ศ.1392-1910) ลัทธิขงจื้อกลายเป็นหลักปรัชญาในการบริหารประเทศ
แต่ก็พบอีกว่า มีวัดแฮอินซา ตั้งอยู่ในบริเวณอุทยานแห่งชาติ คายาซาน สร้างขึ้นในปี ค.ศ 802 เก็บรักษาศิลปวัตถุจำนวนมาก ในอาคาร 90 อาคาร (ศาลเจ้าและกุฎิและอาคารย่อยต่างๆ ) เป็นที่เก็บรักษาแผ่นไม้แกะสลัก สำหรับพระไตรปิฎก ฉบับ เกาหลี จำนวน 8 หมื่นแผ่น เป็นการรวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่สมบูรณ์ ที่สุด ของเอเชีย ตะวันออก แผ่นไม้เหล่านี้ทำขึ้นในปี ค.ศ 1251 เป็นการขอร้องให้พระพุทธเจ้าคุ้มครองประชาชนในช่วงที่ กองทัพมองโกเลียกำลังรุกรานประเทศ
ในปี ค.ศ.1995 องค์การยูเนสโกได้จัดให้แผ่นไม้แกะสลักพระไตรปิฎก หรือ ซางเกียง พันจอน เป็นหนึ่งในมรดกอันมีค่าของโลก
No comments:
Post a Comment
Note: Only a member of this blog may post a comment.