Korean Traditional Song - Kangwon-Do Arirang (강원도 아리랑)
(Lyric)
In Kangwon-Do, there is Mt. Keumgang.
In Mt. Keumgang, there are twelve thousand peaks.
In twelve thousand peaks, there are eighty thousand and nine temples.
One of them is Temple Yujeong.
In Temple Yujeong, Holy House of Seven Stars lies behind the main sanctum.
All people gathered at Holy House.
They have prayed for 100 days that Holy Spirit of Seven Starts should bless them with sons or daughters.
But children were not their fortune.
They had better entertain lonely foreigners
People go to picnic at riverside in Jeongseon.
A big talker mutters something to himself.
Water foams flow along the river at all seasons.
bing-geul, bing-geul, (whirling, whirling)
bang-geul, bang-geol, (whirling, whirling)
yori-jori, jori-yori, (hither and thither, thither and hither)
bee bee bae bang geul. (whirrrrrrrling)
It whirls and returns.
Why doesn't my lover return home?
----------------------
บ้านหลังนี้ มีเรื่องราวที่ทันสมัย เรื่องราวในยุคปัจจุบัน แต่ตัวดิฉันเป็นคนยุค โบราณ (ตาม อายุตัวเอง ด้วย) และ... ก็.... เป็นคนชอบสะสม เรื่องราว โบราณ โบราณ ก็เลยขออนุรักษ์ ความ โบราณ โบราณ แอบเอาไว้ มุมหนึ่งในบ้านหลังนี้ ด้วย
ลองอ่านตำนานของเกาหลีที่น่าสนใจสักเรื่องไม่ใช่เรื่องของยงจุน แต่ยงจุนก็คงภาคภูมิใจกับตำนานเรื่องนี้ เป็นเรื่องของสตรีสาวผู้กล้าหาญ ที่คนเกาหลียกย่อง (ตามที่ในหนังสือเขาเขียนไว้)
แต่ต้องขออัญเชิญ พระราชดำรัส ที่น่าสนใจก่อน
“เทพนิยายและตำนานของแต่ละประเทศ ถึงแม้จะไม่ใช่ความจริงทางประวัติศาสตร์ แต่ก็สามารถแสดงเอกลักษณ์ของแต่ละชนชาติได้อย่างน่าประหลาด เมื่อนำโลกของนิทานพื้นบ้านมาประกอบเข้าด้วยกัน เราจะสามารถเข้าใจได้เลา ๆว่าผู้คนของประเทศนั้นหรือเขตนั้น มีความคิดอย่างไรต่อธรรมชาติและความเป็นความตายนับถืออะไร กลัวอะไร มีพลังจินตนาการอย่างไร เป็นต้น “
พระราชดำรัสของสมเด็จพระจักรพรรดินี มิชิโกะ แห่งประเทศญี่ปุ่น ทรงประทานในการประชุมใหญ่ของคณะกรรมการนานาชาติด้านหนังสือเด็กและเยาวชน (IBBY) ครั้งที่ 26 ณ กรุงนิวเดลฮี ประเทศอินเดีย เมื่อ พ.ศ 2541 (แปลโดย พรอนงค์ นิยมค้า)
นางสาวอารีรัง
ชาวเกาหลี ทุกคนรู้จัก เพลง อารีรัง กันดี ทุกครั้งที่ได้ยินเพลงนี้พวกเขาจะร้องคลอตามไปด้วย หรืออย่างน้อยก็ร่วมร้องสร้อยเพลง และถูกสร้างเป็นภาพยนตร์อย่างแพร่หลายเรื่องราวของนางสาว อารีรัง เป็นเรื่องแสนเศร้าของผู้หญิงคนหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไป
ในเมืองเม่อ หยาง จังหวัด หยองซาง-นามดู มีเด็กสาวแสนสวยผู้หนึ่งชื่อ แอรัง เธอเป็นบุตรสาวของพนักงานปกครองเมืองนี้ เธอเปรียบดั่งดอกไม้งามยามแรกผลิ เด็กรับใช้หนุ่มผู้ใกล้ชิดในบ้านบิดาของเธอแอบหลงรักเธอ เขาปรารถนาจะได้เธอมาเป็นคู่ครอง เนื่องจากฐานะต่ำต้อยของเขา เขารู้ดีว่าไม่มีหวังที่จะได้เธอมาเป็นภรรยาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย จึงใช้วิธีติดสินบนแม่นมของเธอ ให้ล่อเธอออกมาที่ศาลาสวยงามแห่งหนึ่ง ในคืนพระจันทร์เต็มดวง
ในขณะที่ แอรัง กำลังเพลิดเพลินชมธรรมชาติอันงดงามนั่นเอง แม่นมของเธอก็รีบหนีไป แล้วเด็กรับใช้หนุ่มคนนั้นก็ออกมาจากที่ซ่อนใกล้กอไผ่ และบังคับให้เธอ ยอมเป็นภรรยาของเขา แต่เธอกลับปฏิเสธเขาอย่างเหยียดหยามและขับไล่เขาให้ออกไปจากที่นั่นโดยเร็ว
เมื่อเด็กหนุ่มชักมีดสั้นออกมาใช้บังคับ แอรัง เธอก็ต่อสู้อย่างเข้มแข็งเพื่อปกป้องเกียรติยศและคุณงามความดีของเธอแม้รู้ดีว่าการกระทำเช่นนั้นจะเป็นอันตรายถึงชีวิตก็ตาม เด็กหนุ่มจึงแทงเธอถึงแก่ความตายและลากศพที่มีรอยแผลเหวอะหวะและมีเลือดไหลไปซ่อนไว้ในกอไผ่ กว่าบิดา มารดาของแอรัง จะรู้ว่าบุตรสาวหายไป ก็เป็นตอนสายของวันรุ่งขึ้น ทั้งสองสั่งให้บริวารแยกย้ายกันออกตามหา แต่ไม่พบร่องรอย
หลังจากนั้นไม่นาน บิดาผู้ระทมทุกข์ของแอรัง ก็ถูกย้ายไปทำงานที่กรุงโซล และมีพนักงานปกครองคนใหม่ถูกส่งมาทำงานแทน แต่แล้วก็มีผู้พบพนักงานปกครองผู้นั้นนอนตายอยู่ในห้องพักในเช้าวันรุ่งขึ้นของวันที่เขาเดินทางมาถึงบ้านพักข้าราชการหลังนั้น และพนักงานปกครองคนต่อมาก็ประสบชะตากรรมเดียวกัน ผู้ตนต่างเล่าลือกันว่าวิญญาณของ แอรัง ได้มาร้องขอความช่วยเหลือจากบุคคลทั้งสอง แต่ความตกใจกลัวสุดขีดเมื่อเห็นเธอ ทำให้ทั้งสองช็อกตาย ไม่มีข้าราชการคนใดเต็มใจมารับตำแหน่งนั้น ในที่สุด ชายหนุ่มคนหนึ่งผู้มีชาติตระกูลดีและมีความกล้าหาญได้เดินทางมารับตำแหน่งเพื่อจะสืบสวนเรื่องลึกลับดังกล่าว
คืนหนึ่งขณะที่ชายหนุ่มผู้นี้กำลังนั่งสูบยากล้องอยู่เงียบๆตามลำพัง เกิดมีลมกระโชกขึ้นมาทันที แล้วมีร่างซึ่งน่ากลัวเดินเข้ามาในห้องเขา ชายหนุ่มพยายามควบคุมความกลัวแล้วถามร่างนั้นว่าเป็นใครและมาเพื่อประสงค์ใด ร่างที่ได้รับบาดเจ็บนั้นเดินเข้ามาใกล้เขา มีมีดสั้นเสียบอยู่ที่หน้าอก มือถือธงสีแดงสามอัน เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ส่งความหมายให้เขา
ร่างนั้นยืนนิ่งเงียบอยู่จนพนักงานปกครองผู้นี้ต้องผงกศีรษะเป็นเชิงบอกว่า เขาเข้าใจการส่งสัญญาณความหมายของเธอ ตลอดคืนนั้นพนักงานปกครองเฝ้าพยายามแปลความหมายที่ซ่อนเร้นของสีแดง ธง และเลขสาม ที่ร่างนั้นพยายามสื่อสารกับเขา
เช้าวันรุ่งขึ้น พนักงานปกครองได้เรียกนายร้อยโทคนหนึ่ง เข้ามาพบและถามว่ารู้จักคนที่ชื่อ ฮง (สีแดง)คิ (ธง) แซม (สาม) หรือไม่ ปรากฏว่าข้าราชการทั้งหมดในเมืองนั้นรู้จักชายคนนี้ดี เมื่อ ฮง คิ แซม ถูกเรียกมาพบพนักงานปกครอง เขาก็สารภาพทันทีว่าเขาคือผู้ฆ่า แอรัง ทั้งยังพาผู้คนไปดูสถานที่ซึ่งเขาฝังศพเธอไว้ ศพเธอยังสดและไม่เน่าเปื่อยเลย
เพื่อให้วิญญาณของ แอรัง ไปสู่สุคติและเพื่อเป็นการระลึกถึงความกล้าหาญของเธอ ชาวเมือง เม่อหยางได้สร้างศาลาหลังหนึ่งและป้ายหินขนาดเล็กจารึกชื่อเธอไว้ เป็นอนุสรณ์สถานแห่งคุณงามความดีและชีวิตของเธอ
เมื่อเวลาผ่านไป การเรียกชื่อเด็กสาวผู้นี้ก็เปลี่ยนไปจาก “แอรัง “ เป็น “อารีรัง” เรื่องราวที่เธอต่อสู้อย่างกล้าหาญเพื่อรักษาความบริสุทธิ์ของเธอยังตราตรึงอยู่ในจิตใจของชาวเกาหลีจวบจนกระทั่งทุกวันนี้
ยังมีเพลงเกาหลีชื่อ “อารีรัง “เหมือนกันอีกเพลงหนึ่ง แต่สาระสำคัญของเนื้อร้องต่างกัน เพลงนี้เป็นเพลงคลาสสิกของเกาหลี กล่าวถึงชายหญิงคู่หนึ่งซึ่งต้องพลัดพรากจากกัน และฝ่ายหญิงคร่ำครวญอธิษฐานขอให้ชาย กลับมาหาเธออยู่ทุกคืนวัน
(มีเพลงไทยสากลชื่อ “ เสียงครวญจากเกาหลี “ คงนำสาระสำคัญของเนื้อร้องนี้มา จากเพลง อารีรัง ชื่อหญิงสาวในเพลง ไทยเป็น อารีดัง )
เล่าโดย คีรีบูน นามปากกาของรองศาสตราจารย์ ดร. สมจิต เอี่ยมศุภนิมิตร อดีตอาจารย์ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร เคยสอนวิชาแปลมากว่า 15 ปี จบการศึกษา จากจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และที่ประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา จากหนังสือ ยอดเรื่องเล่าจากเกาหลี
Korean Traditional Music (Arirang)
“อารีรัง “ เป็นเพลงที่ร้องกันมาแต่สมัยโบราณ ซึ่งถือเป็นประเพณีอย่างหนึ่งของเกาหลี เมื่อเกาหลีใต้และเกาหลีเหนือมีงานที่ต้องร่วมมือกันทำมักจะร้องเพลงนี้ จะไม่ร้องเพลงชาติของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เมื่อทั้งสองฝ่ายได้ร่วมร้องเพลงนี้ทำให้รู้สึกเป็นประเทศเดียวกันไม่มีเกาหลีใต้และเกาหลีเหนือ มีแต่ประเทศเกาหลีเนื้อหาของบทเพลงนี้ทำให้ผู้ฟังรู้สึกประทับใจและโศกเศร้ามากด้วย เพราะความหมายของเพลงบอกว่า “ เรา” คือคนเกาหลี
อารีรัง เป็นคำโบราณ จึงมีการแปลความหมายออกเป็นสองแบบ
ความคิดเห็นที่ 1 “อารี “ แปลว่า สวยงาม และ “รัง” แปลว่า ที่รัก รวมความคือ สุดที่รัก
ความคิดเห็นที่ 2 “อารี “ แปลว่า “คิดถึงใจจะขาด “และ “รัง “ แปลว่า ที่รัก รวมความคือ “คิดถึงสุดที่รัก “
ในภาษาเกาหลี ยังมีคำว่า “ อารีตับดะ” แปลว่า สวยงาม และ “อารีดา “แปลว่าแสบหรือเจ็บปวดใจ
อา-รี-รัง
อา-รี –รัง อา- รี-รัง อา -รา-ริ.- -โย
สุดที่รัก ฉันคิดถึงเธอ ใจจะขาด
อา- รี-รัง – โค- - แก-รืล-นอ-มอ- คัน-ดา
สุดที่รัก ข้ามเนินเขาไป
นา-รึล-บอ-รี-โค-คา-ซี -นึน-นิ-มึน
สุดที่รัก เธอทิ้งฉันไป
ซิบ-รี-โด-โม-กา- ซอ-บัล-ปิยอง-นัน-ดา
เธออาจจะเป็นอะไรไป ก่อนจะเดินถึง 3 ลี้
โดย คิม โฮะ จุง
Hangul
아리랑, 아리랑, 아라리요...
아리랑 고개로 넘어간다.
나를 버리고 가시는 님은
십리도 못가서 발병난다.
Romanization
Arirang, Arirang, Arariyo...
Arirang gogaero neomeoganda.
Nareul beorigo gasineun nimeun
Simnido motgaseo balbyeongnanda.
Lyric Meaning
Arirang, Arirang, Arariyo...
Crossing over Arirang Pass.
Dear[5] who abandoned me
Will not walk even ten ...before his/her feet hurt.
สงสัย ว่า ยงจุน ของพวกเราร้องเพลง อารีรัง บ้างหรือปล่า เพราะยงจุน เป็นคนยุคสมัยใหม่
อารีรัง เป็นชื่อ ของสถานี วิทยุ และโทรทัศน์ ของเกาหลี ด้วย และคงมีการใช้ชื่อนี้ ในอีกๆ หลายๆที่ ไหมคะ
ระยะนี้มีแต่ เรื่องเขียน ของระดับ ดร. ติด ๆกัน เลย ล่าสุด ก็ เรื่องของ ฮัลยู ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ ของ คุณ กาญจน์มุนี ศรีวิศาลภพ หรือ คุณ ร้อยตะวัน ของพวกเรา รออ่านตอนต่อไปอยู่ค่ะ อย่างไรเสีย เราคงได้อ่านต่อไปก่อนที่ คุณ ร้อยตะวัน จะเดินทาง ไปเป็นกำลังใจให้เหล่าบรรดาศิษย์ ที่จะไปแข่งขัน ปอม –ปอม ที่ ประเทศ อังกฤษ กับคุณ (อาจารย์ ) โจ นะคะ ขอส่งกำลังใจ ไปด้วย นะคะ คุณโจ..........
ต้องขอขอบคุณ คุณ Ladymoon ที่กรุณา แปลไทย ฮัลยู ให้อ่านนะคะ
정선아리랑
강원도 정선 지방의 노래이다. 정선아리랑 가운데는 말을 촘촘히 엮은 엮음아리랑과 엮지 않은 아리랑이 있는데 여기 실은 것은 엮지 않은 것이다.
정선아리랑에 관한 유래전설은 여러 가지가 있다. 첫째는 고려왕조를 섬기던 선비들이 송도에서 은신하면서 지난날 모시던 임금을 사모하고 충절을 맹세하며 가족과 고향에 대한 그리움을 읊은 노래라는 설이 있다.
둘째 기원은 1545(명종1년)을 전후하여 뜻있는 선비들이 난을 피해 낙향하여 과거를 회상하며 읊은 것이 정선아리랑 가락으로 불려지게 되었다고 한다.
셋째는 옛날 정선골에 아직 철이 들지 않은 10살된 신랑에게 시집간 20살 색시가 자살을 결심하고 강가로 나갔다가 물레방아가 빙글빙글 돌고 있는 것을 보고 세월도 물레방아처럼 돌고 돌아 신랑도 자랄 때가 있으리라 깨닫게 되어 집으로 되돌아가면서 부른 노래라는 설도 있다.
정선아리랑이 전국에 퍼진 것은 고종 2년 대원군이 경복궁을 중수하기 위하여 전국에서 장정을 끌어다 부역을 시켰을 때 태백산 나무를 나르던 정선 사람들이 불러 퍼지게 되었다고 전한다.
"Arirang Pass"
There are apparently a number of passes in Korea called "Arirang Pass." One such is a pass among some hills in central-northeastern Seoul. That Arirang Pass, however, was originally called Jeongneung Pass and was only renamed in 1926, to commemorate the release of the film Arirang. Older versions of the song long predate the movie.
The Arirang Pass (아리랑 고개) is an imaginary rendezvous of lovers in the dreamland although there is a real mountain pass, called, "Arirang Gogae," outside the Small East Gate of Seoul. The heroine of the story from which the Arirang Song originated was a fair maid of Miryang. In fact, she was a Miss Touch-me-not, and was killed by her unrequited lover. But as time went on, the tragic story changed to that of an unrequited lady-love who complained of her unfeeling lover. The tune is sweet and appealing. For the story, please refer to "Miss Arirang" in the "Korean Cultural Series, Vol. VI, Folk Tales of Old Korea." Arirang was the base songs of some title events such as the 1988 Olympics.
Arirang,
The original form of Arirang is Jeongseon Arirang, which has been sung in Jeongseon County for more than 600 years. However, the most famous version of Arirang is that of Seoul. It is the so-called Bonjo Arirang, although it is not actually bonjo (본조; 本調; "Standard"). It is usually simply called Arirang, and is of relatively recent origin. It was first made popular by its use as the theme song of the influential early feature film Arirang (1926). This version of the song is sometimes called Bonjo Arirang, Sin (Shin; "New") Arirang, or Gyeonggi Arirang, since its provenance is, properly speaking, Seoul, which was formerly part of Gyeonggi Province. (The titles Bonjo Arirang and Sin Arirang are sometimes applied to other versions of the song.)
Miryang Arirang
Bird Pass or "Saejae" is the summit of a high mountain, rising north of Moonkyung in the ancient highway, linking Seoul with Miryang and Tongnae (Pusan). Its sky-kissing heights are so rugged that in their eyes. This is a love song of a dancing girl from Miryang who was left behind by her lover from Seoul (Hanyang. She is calling him to take her with him to Hanyang. She believed that her own beauty was above all flowers in Hanyang. The words in the first line of the chorus are sounds of bitter sorrow at parting. This song was composed by Kim Dong Jin.
Kangwon-do Arirang.정선 아리랑
The highland maids would like to make up their hair with castor and camelia oils and go love-making instead of going to work in the soya-bean fields. Moroo is a mountain grape; darae is a banana-shaped fruit with black seeds studded in its flesh. These are precious foods to mountain folk. The song is sarcastic, but emotional to confort the fair solitary reapers who go about gathering the wild fruits in the deep mountains of Kangwon-do.
No comments:
Post a Comment
Note: Only a member of this blog may post a comment.