28.9.09

Soju - 소주 (โซจู) สินค้าส่งออกของเกาหลีใต้ได้ดีเพราะอิทธิพลจากละครโทรทัศน์



Soju - 소주 (โซจู) สินค้าส่งออกของเกาหลีใต้ซึ่งได้ดีเพราะอิทธิพลจากละครโทรทัศน์...
วันนี้ขอนอกเรื่องสักนิด ...สินค้าส่งออกที่ได้ดีจากอิทธิพลละครโทรท้ศน์ของเกาหลีใต้มีมากมาหลายชนิด และ หนึ่งในสินค้าส่งออกนั้นก็คือ เหล้าโซจู นั่นเอง เรื่องราวของโซจูกับวัฒนธรรมการดื่มการกินของเกาหลี เป้นอย่างไรนั้นก็คงกล่าวคร่าว ๆ ได้ดังนี้




소주 (โซจู) - เหล้าเกาหลี เห็นเค้าว่ากันว่า แรงมาก คอไม่แข็ง แค่กระดกเดียวก้ออาจคอพับได้ แต่เด็กไทยต่ำกว่าอายุ 18 อย่ากินนะ ที่เกาหลีเค้ากินกันเพราะอากาศมันหนาว แล้วก็จะขายในขวดเขียวๆแบบนี้

โซจู วอดก้าตะวันออก มิตรสหายจากแดนโสม

สิ่งที่กองทัพกุบไลข่าน ในยุคไล่ล่าอาณานิคมได้มาไม่ใช่เพียงแผ่นดินอันกว้างใหญ่ไพศาลเท่านั้น หากยังรวมถึงวัฒนธรรมอันหลากหลายจากดินแดนที่พิชิตมาครอบครองได้ และ "โซจู" คือหนึ่งในนั้น

ก่อนหน้านั้นชาว เกาหลี นิยมดื่ม เหล้า พื้นเมืองที่ทำจากธัญพืชและน้ำนมสัตว์ หากทว่าเหล้า "โซจู" ชนิดนี้ทำจากข้าวเจ้า ซึ่งเป็นเหล้าพื้นเมืองชนิดหนึ่งของเอเชียกลาง ในขณะที่ชาวมองโกเลียดั้งเดิมยังนิยมดื่มเหล้าที่หมักจากน้ำนมสัตว์มากกว่า ครั้นพอกองทัพมองโกลพิชิตแผ่นดินไหนได้ ก็จะนำคนในดินแดนที่ยึดได้มาร่วมกองทัพเพื่อเป็นการเสริมทัพให้ยิ่งใหญ่และเกรียงไกรด้วยเสมอ ซึ่งรวมถึงทัพเอเชียกลาง และเมื่อครั้งที่ทัพมองโกลยกทัพมาถึงคาบสมุทรเกาหลี ทหารเอเชียกลางเองก็นำวิธีการหมักเหล้าข้าวเจ้าชนิดนี้เองมาเผยแพร่ในคาบสมุทรนี้ด้วย ซึ่งตรงกับสมัยราชวงศ์โกเรียวของประเทศเกาหลีพอดี

หลังจากที่มองโกลสามารถครอบครองแผ่นดินจีนทั้งหมด รวมถึงคาบสมุทรเกาหลี วัฒนธรรมการดื่มเหล้าที่ทำจากธัญพืชก็กลายเป็นเครื่องดื่มชั้นสูงของราชสำนักเกาหลีในช่วงราชวงศ์นี้ไปโดยปริยาย

พอครั้นสิ้นราชวงศ์โกเรียว ลุถึงราชวงศ์โจซอน เหล้าที่หมักจากธัญพืชก็จะมักดื่มกันราชวงศ์อยู่ดี ในขณะที่สามัญชนทั่วไปก็ยังคงดื่มเหล้าที่ทำจากน้ำนมของชาวมองโกล ทว่าเหล้าชนิดนี้ได้กลายเป็นเครื่องดื่มของสามัญชน แทนที่จะดื่มกันเฉพาะในราชสำนักเท่านั้น ในช่วงที่เกาหลีตกอยู่ในอาณานิคมของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่สิ้นยุคศักดินา คือตรงกับสมัยราชวงศ์โจซอนของเกาหลีนั่นเอง ขณะที่ชาวญี่ปุ่นเป็นเจ้าอาณัติก็ชื่นชอบเครื่องดื่มชนิดนี้อยู่ไม่น้อยเช่นกัน ญี่ปุ่นเรียกเหล้าชนิดนี้ว่า โซชู (Soshu) แต่ที่เกาหลีเรียกเหล้าที่หมักจากข้าวชนิดนี้ว่า โซจู (Soju) ซึ่งจากสายตาของคนนอกอาจจะมองว่าทั้งสองชาตินี้อาจจะดูไม่ลงรอย หรือว่าเกิดการยอมรับกันสักเท่าไหร่นัก หากทว่าเหล้าชนิดนี้กลับกลายเป็นสิ่งเดียวที่ทั้งสองชาติต่างยอมรับ และชื่นชมในรสชาติ

โซจู เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกิดจากการผสมของข้าวจ้าว ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และมันฝรั่ง ผ่านกระบวนการหมักบ่มแบบดั้งเดิมของชาวเอเชียกลางที่สืบทอดมาอย่างช้านาน ทำให้ได้เครื่องดื่มที่ใสบริสุทธิ์ ปราศจากกลิ่นและสี รสชาติบางเบาดื่มได้ลื่นคอ แต่ถ้าดื่มมากลื่นจนเพลินอาจจะหัวทิ่มได้โดยไม่รู้เนื้อรู้ตัวทีเดียว เพราะมีระดับแอลกอฮอล์สูงถึง 25-45% หลังสิ้นสุดสงครามเกาหลี เป็นช่วงเวลาที่แดนกิมจิขาดแคลนข้าวอย่างหนัก จึงมีข้อห้ามในการนำข้าวมาหมักเพื่อเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้มีกรรมวิธีใหม่ๆ ในการทำเหล้าโซจูขึ้นมานั่นคือการหันมาใช้แอลกอฮอล์สังเคราะห์แทน

จนกระทั่งในปี 1965-1991 รัฐบาลเกาหลีเริ่มอนุญาตให้มีการผลิตเหล้าโซจูกันเป็นเรื่องเป็นราว จึงเป็นช่วงเวลาที่การหมักเหล้าจากข้าวบาร์เลย์ได้หวนกลับคืนมาอีกครั้ง รวมกระทั่งการผลิตเหล้าโซจูจากแอลกอฮอล์สังเคราะห์ก็ยังมีการผลิตกันอย่างต่อเนื่องอยู่ จนทำให้โซจูกลายเป็นเครื่องดื่มอันเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติเกาหลีไปในที่สุด และเนื่องจากรสชาติที่ถูกใจ หาดื่มง่ายแม้กระทั่งร้านอาหารข้างทางก็มีเหล้าชนิดนี้เอาไว้บริการ และที่สำคัญราคาไม่แพงเลยเมื่อเทียบกับเครื่องที่มีแอลกอฮอล์ชนิดอื่นๆ ราคาตกขวดหนึ่งก็ประมาณ 1,000 วอน แต่ที่ขายในเมืองไทยตามซูเปอร์มาร์เก็ตก็ตกประมาณขวดละ 170 บาท ถ้าเป็นร้านอาหารเกาหลีที่อยู่ในโรงแรมในบ้านเราก็ตกอยู่ที่ประมาณ 250-450 บาท จึงทำให้โซจูกลายเป็นเครื่องดื่มที่ป๊อบปูล่าที่สุดในแดนกิมจินับแต่นั้นมา ซึ่งในปีที่ผ่านมายอดขายของเหล้าพื้นเมืองชนิดนี้มียอดขายสูงถึง 300 ล้านขวดเลยทีเดียว นับว่าเป็นเครื่องดื่มที่แซงหน้าเครื่องดื่มอมตะอย่างไวน์ เบียร์ หรือวิสกี้นามกระฉ่อนทั้งหลายได้อย่างสบาย เรียกได้ว่าชาวเกาหลีนั้นเป็นนักดื่มตัวยงไม่แพ้ชาติไหนๆ และถ้าขึ้นทำเนียบว่าเป็นนักดื่มตัวจริง แล้วละก็ทุกคนต้องผ่านการดื่มเหล้าโซจูมาก่อนด้วยกันทั้งนั้น

ไม่เพียงแต่ชาวเกาหลีเท่านั้นที่นิยมดื่มเหล้าโซจู หากทว่าโซจูยังกลายเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมอย่างมากทั้งในบาร์ญี่ปุ่น หรือแม้แต่ไทเป ปัจจุบันเหล้าโซจู ยังขยายความนิยมไปยังสหรัฐอเมริกา และอีกหลายประเทศทั่วโลก จนกระทั่งได้รับฉายานามว่า "วอดก้าแห่งตะวันออก" เครื่องดื่มที่ชาวแดนกิมจิภูมิใจเป็นหนักหนา

ด้วยกระแสความนิยมของเหล้าโซจู นี้เองจึงทำให้ในประเทศเกาหลีมีการผลิตเหล้าชนิดนี้ออกมาวางตลาดมากมายหลายยี่ห้อ แต่ดูเหมือนว่า จินโร จะเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านอุตสาหกรรมผลิตแอลกอฮอล์หรือสุราของประเทศเกาหลีใต้ เพียงรายเดียวที่ผลิตเหล้าโซจูออกมามากมาย และได้รับความนิยมมากที่สุดคือสามารถขายได้ถึง 70 ล้านขวดในปีที่ผ่านมา สำหรับโซจู ที่ได้รับความนิยมจากแดนกิมจิ ซึ่งถูกกล่าวขาน และมักถูกเลือกดื่มเป็นอันดับแรกๆ ก็คือ

ชัมจินิซึลโร

เริ่มผลิตในปี 1988 มีกรรมวิธีที่ละเอียดอ่อน ด้วยการกลั่นกรองจากถ่านไม้ไผ่ 3 ชั้นด้วยกัน หลังจากกลั่นด้วยอุณหภูมิ 1,000 องศาเซลเซียส จึงได้เครื่องดื่มที่รสบริสุทธิ์รสชาติละมุนละไม ระดับดีกรีอยู่ที่ 22% ว่ากันว่าดื่มแล้วจะไม่มีอาการแฮงก์โอเวอร์ เพราะกลั่นจากน้ำแร่บริสุทธิ์ เหล้าชนิดนี้จึงเป็นเหล้ายอดนิยมสูงสุด ทว่าส่วนใหญ่จะหาดื่มได้เฉพาะในเกาหลี และในแถบประเทศใกล้เคียงเท่านั้น

จินโร โซจู เป็นเครื่องดื่มที่มีดีกรีมากกว่าประเภทแรกเล็กน้อย คือประมาณ 24 ดีกรี เป็นเครื่องดื่มปราศจากสีและกลิ่น รสบางๆ สามารถดื่มแบบเพียวๆ หรือจะผสมกับมะนาว เหมือนมาร์การ์ริต้าที่ดื่มกับเตกิล่าก็จะช่วยเพิ่มรสชาติแปลกใหม่ยิ่งขึ้น จินโร โซจู ยังมีอีกประเภทหนึ่งที่กรองจากไม้ไผ่เรียกว่า จินโร ชัมจินิซึลโร ซึ่งมีดีกรีเท่ากัน แต่กระบวนการผลิตเหมือนกันกับชัมจินิซึลโร

จินโร โกลด์ โซจู เป็นแบรนด์ยอดนิยมในเกาหลี ดีกรีอยู่ที่ 25% ผ่านกระบวนการกลั่นกรองอันพิถีพิถันถึง 10 ขั้นตอนทีเดียว ไร้สี ไร้กลิ่น รสชาติเข้มข้นขึ้นมาอีกนิด เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบดีกรีร้อนแรงในระดับปานกลาง

คู โซจู อีกหนึ่งแบรนด์เก่าแก่ที่ได้รับความนิยมมากในแดนกิมจิ เริ่มผลิตมาตั้งแต่ปี 1926 ปัจจุบันจะเน้นเป้าหมายใหญ่ คือผลิตมาเพื่อนำไปผสมกับค็อกเทล

อันดอง โซจู เหล้าพื้นบ้านของเมือง เกียงซังบุกโด อันเป็นมรดกสืบทอดมาจากราชวงศ์โกเรียวทีเดียว ดื่มง่าย รสชาติคล้ายโซจูทั่วไป หากทว่ามีดีกรีถึง 45 ดีกรี บรรดาคอทองแดงแดนกิมจิล่ะโปรดปรานนักกับโซจูยี่ห้อนี้

คอมวาบู โซจู รสชาติเหมือนวอดก้าแถบรัสเชียตะวันออก แต่ดื่มง่ายกว่า มีดีกรี 25% ซึ่งหาดื่มได้ในเกาหลี

นอกจากนี้ โซจู ยังมีการเพิ่มรสชาติแปลกใหม่ ทั้ง มะนาว แตงโม แอปเปิล บ๊วย ฯลฯ เพื่อให้สอดรับกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่นั่นเอง

ในขณะที่เหล้าโซจู มีรสชาติคล้ายๆ กับวอดก้าในแถบรัสเซีย จนได้รับการยกย่องให้เป็น "วอดก้าแห่งตะวันออก" แต่สำหรับคิม ฮันนา ชาวโสมผู้จัดการร้านอาหารเกาหลี "คองจู" โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส นั้นยกย่องให้โซจูนั้นเป็นเครื่องดื่มแห่งมิตรภาพในหมู่เพื่อนพ้องที่รักใคร่ เพราะไม่จำเป็นต้องมีพิธีรีตองอะไร หรือว่าต้องการบรรยากาศที่เลิศหรูมากนัก ขอเพียงมีโอกาสได้ดื่มด่ำกับเหล้าโซจูกับสหายที่รู้ใจก็สุดวิเศษแล้วในค่ำคืนนี้ และถ้าต้องการดื่มเหล้าโซจูให้ได้รสชาตินั้น คิม ฮันนาบอกว่า "จะต้องดื่มกับซี่โครงหมู และหมูสามชั้นย่างแบบเกาหลีต้นตำรับ และที่ขาดไปเสียมิได้ก็คือกิมจิ" เรียกว่าการดื่มเหล้าโซจู นั้นเป็นการเรียกน้ำย่อย ซึ่งมีส่วนช่วยทำให้อาหารมือนั้นเลิศรสอย่าบอกใครเชียว

สำหรับวิธีการดื่มเหล้าโซจูให้สะใจได้รสชาติที่ร้อนแรงนั้นจะต้องดื่มเมื่อแช่เย็น และควรรินเป็นชอตแล้วกระดกทีเดียวให้หมดแก้ว ความร้อนเร่าจะผ่านลำคอก่อนจะแผ่ซ่านสู่กระเพาะ เมื่อนั้นต่อมลิ้นจะดีดดิ้นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกให้รู้ว่าความสุขสำราญเริ่มต้นขึ้นแล้ว ใครที่เป็นแฟนซีรีส์เกาหลียอดฮิต อย่าง ฟูล เฮ้าส์ ออลทัม อิน มาย ฮาร์ต หรือ สวีต 18 ฯลฯ คงจะเห็นวิธีการดื่มด่ำเหล้าโซจูที่ถูกต้องมาแล้ว หรือถ้าต้องการให้รสชาติไม่ร้อนแรงจนเกินไปนัก คิม ฮันนา แนะนำว่าให้ใช้แตงกวาสไลต์บางๆ แช่ลงไปในเหล้าโซจู ก็จะช่วยทำให้เจ้าเหล้าชนิดนี้ลดดีกรีลงไปได้เยอะเลยเชียว แถมรสชาติยังนุ่มนวลลิ้นกว่าที่คิด

การรินโซจู ก็ถือเป็นธรรมเนียมการดื่มที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน วิธีการก็คือต้องผลัดกันรินให้กันนะครับ แล้วใช้สองมือถือแก้วชอตรับการรินด้วยความเต็มใจ และเมื่อมีคนรินให้ก็ควรจะรินกลับด้วย และถ้ามีผู้ใหญ่นั่งอยู่ก็ควรจะรินให้ก่อน และถ้าดื่มเหลือห้ามรินทับลงไป ต้องเทของเก่าทิ้งออกเสียก่อนถึงจะรินลงไปใหม่ และสิ่งหนึ่งที่บ่งบอกว่าคุณเป็นเพื่อนที่รู้ใจกันจริงๆ แล้วละก็จะต้องดื่มโซจูจากแก้วเพื่อนคนนั้น และเพื่อนคนนั้นก็จะต้องยินยอมรับไมตรีจากสหายรักด้วยการดื่มเหล้าโซจูจากแก้วของเราด้วยเช่นกัน นักดื่มบางคนยังบอกอีกว่าการดื่มโซจูต้องดื่มบนโต๊ะอะลูมิเนียมเหมือนในหนังเกาหลี เวลาดื่มแล้วจะต้องเอาแก้วกระแทกบนโต๊ะมันถึงจะสะใจในรสชาติ...!

http://www.thaigoodview.com/node/13409


Soju Googs Product of South Korea ... influence from Korea Drama...


Soju (Hangul 소주; Hanja 燒酒) is a distilled beverage native to Korea.

Most brands of modern soju are made in South Korea. Though traditionally made from rice, most major brands supplement or even replace the rice with other starches such as potato, wheat, barley, sweet potato, or tapioca (called dangmil in Korean). Soju is clear in colour and typically varies in alcohol content from about 20% to about 45% alcohol by volume (ABV), with 20% ABV being most common. Its taste is comparable to vodka, though often slightly sweeter because of the sugars added in the manufacturing process.


Etymology :
Linguistically, the word soju is the Korean rendering of the Chinese 燒酒; pinyin: shaojiu, which literally means "burned liquor". (Incidentally, the Dutch-derived English word brandy—literally "burned wine"—uses the same linguistic concept to describe a distilled alcoholic beverage.) The Chinese word shaojiu is rendered in Japanese as shōchū, the word that denotes a distilled alcoholic beverage that is similar to soju.



Soju in Korea : History

Soju was first distilled around 1300s during the Mongol invasions of Korea. The Mongols had acquired the technique of distilling arak from the Persians[1] during their invasion of Central Asia/Middle East around 1256, then it was subsequently introduced to Koreans and distilleries were set up around the city of Kaesong. Indeed, in the area surrounding Kaesong, soju is known as arak-ju (hangul: 아락주).[2]
From 1965 until 1991, in order to alleviate rice shortages, the Korean government prohibited the traditional direct distillation of soju from fermented grain. Instead, highly distilled ethanol from any source was mixed with water and flavorings to create diluted soju . Although the prohibition has now been lifted, cheap soju continues to be made this way. The Korean government regulates the alcohol content of diluted soju to less than 35%.
Several regions have resumed manufacturing soju from the traditional distillation of grain, resulting in distilled soju. Soju from Andong is the most famous of all, with an ABV around 45%.

http://en.wikipedia.org/wiki/Soju



No comments:

Post a Comment

Note: Only a member of this blog may post a comment.