24.10.09

ดอกพิกุลก็คือดอกแก้ว....


....ดอกพิกุล ก็คือดอกแก้ว............

ดอกพิกุล ร่วงราย ชายกลิ่นหอม (ชาย-ลมพัดอ่อนๆ)
ช่างยั่วย้อม เยื้องกราย ชายตาหา (ชาย-ชำเลือง )
สีเหลืองนวล อวลอาย ชายโรยรา (ชาย- เห็นจะ,ค่อนข้าง)
เด็ดก้านหญ้า เสียบสาย ชายมาลัย (ชาย-ปลาย)

ดอกหญ้าชู อยู่ใกล้ ให้เอื้อมเด็ด
ร้อยแล้วเสร็จ รัดชาย คลายสงสัย
ดอกแก้วคือ พิกุล กรุ่นหทัย
เนื้อเพลงนัย น้อยใจยา พารำพึง.............

ชอ.ช้าง สระอา ยอยัก รวมกันอ่านว่า ชาย

คำเดียวสั้นๆ สามอักษร แปลได้ตั้ง หลายความหมาย ข้างต้น ยังไม่รวมความชายที่แปลว่า สุภาพบุรุษ อีกด้วย
ภาษาไทยของชาติเราลึกซึ้งจริงๆ

.ดอกพิกุล ออกดอกเดี่ยวอยู่รวมกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่งหรือซอกใบ ดอกมีสีขาว เมื่อบานจะเห็นริมดอก เป็น จัก ๆ

กลิ่นหอมเย็น เมื่อใกล้โรย เป็นสีเหลืองอมน้ำตาล ดอกบานเพียงวันเดียวแล้วร่วง เมื่อโรยร่วงหล่นพื้นดอกพิกุล ก็ยังหอม

ในพระราชพิธีโบราณของไทย ถือว่าดอกพิกุล เป็นมงคลอย่างหนึ่ง

สำหรับ เด็กบ้านนอก มีภูมิปัญญา ที่จะหาสิ่งใกล้ตัวมาใช้ประโยชน์เพื่อให้ได้มาซึ่งความสมประสงค์ในสิ่งที่ต้องการ เช่นอยากจะร้อยมาลัย ขึ้นมาอย่างกระทันหัน หรือหาของประกอบการละเล่นอื่นๆ ยังมีอีกหลายอย่างเลย

ต้นพิกุล เมื่อกาลก่อน มักจะปลูกตามวัด ยังไม่นิยมปลูกตามบ้านเรือนเหมือนสมัยนี้ และแต่ละต้น ก็สูงใหญ่ทั้งนั้น ต้องรอดอกพิกุลร่วงหล่นพื้นนั่นแหละถึงจะได้เชยชมกัน
หญ้า ที่ใช้ก้านร้อยดอกไม้ได้ มีหลายชนิด ในภาพข้างต้น ก็สองชนิดแล้ว สังเกตุที่ตัวดอกหญ้านะคะ

ส่วนภาพข้างล่าง พลอยโพยม Search มาจาก google น่าจะเป็นภาพมาจาก

www.panmai.com/PvFlower/fl_28.shtml




ดอกพิกุล

แต่ชาวลานนาเรียกดอกพิกุลนี้ว่าดอกแก้ว


ดอกแก้ว....

ซึ่งไม่ทราบว่า ชาวลานนาจะเรียกอะไร ท่านใดทราบกรุณา เฉลยด้วยนะคะ

ดอกพิกุล ว่ากันว่า เป็นดอกไม้ประจำจังหวัด กำแพงเพชร, ยะลา, ลพบุรี

No comments:

Post a Comment

Note: Only a member of this blog may post a comment.