14.2.10

[Article for Valentine] Aphrodite : Goddess of Love / อะโฟรไดต์ [Aphrodite] หรือ วีนัส : เทพีแห่งความรัก



อะโฟรไดต์ [Aphrodite] หรือ วีนัส [Venus] : เทพีแห่งความรัก
Original : http://twssg.blogspot.com/

อะโฟรไดต์ หรือ วีนัส เป็นเทพธิดาเพียงองค์เดียวในคณะเทพแห่งโอลิมปัสที่มีประวัติความเป็นมาไม่กระจ่างชัดไม่ทราบถึงผู้ให้กำเนิดเพราะเกิดจากฟองทะเล เซฟเฟอร์ (Zephyr) เทพแห่งลมประจิม (ลมตะวันตก) เป็นผู้พบเทพธิดาผู้เลอโฉม ขณะแสงเงินแสงทองกำลังส่องฟ้ายามรุ่งอรุณ ในเวลานั้นเทพธิดาวีนัสลอยอยู่บนฟองของน้ำทะเลซึ่งเลื่อนไหลไปตามคลื่นความงามของนางแม้เทพแห่งลมประจิมเองก็ถึงกับตกตะลึงแทบลืมหายใจ เมื่อได้สติจึงช่วยโชยพัดจนมาถึงเกาะดอกไม้ที่มีชื่อว่า ซีเทรา (Cythera) ณ ที่แห่งนี้เทพธิดาแห่งเสน่ห์และความงาม 3 องค์ได้เชิญนางขึ้นฝั่ง ต่างคอยรับใช้และช่วยกันแต่งกายให้ด้วยเสื้อผ้าอันงดงามอีกทั้งอัญมณีล้ำค่า แล้วเชิญประทับรถทองเทียมด้วยนกพิราบขาวเพื่อนำไปยังวิมานโอลิมปัส (บางตำนานว่าเทพีผู้รักษาทวารเขาโอลิมปัส ได้ลงมารับนางขึ้นไป ณ เทวสภา)

เทพเจ้าทุกองค์ต่างชื่นชมและเชิญเทพธิดาวีนัสให้ขึ้นประทับ ณ บัลลังก์เข้าร่วมเป็นคณะเทพแห่งโอลิมปัสพระองค์หนึ่ง มหาเทพซีอุสเกรงว่าจะเกิดการแย่งชิงเทพธิดาผู้เลอโฉมขึ้นในระหว่างเทพบุตร จึงมีพระดำรัสยกเทพธิดาวีนัสให้เป็นพระชายาของเทพบุตรเฮเฟสทัสผู้มีนิสัยสุขุมเยือกเย็นและหนักแน่น ตำนานตรงนี้มีเกร็ดเล่าแทรกว่าความจริงมหาเทพซีอุสต้องการรับเทพีวีนัสไว้เป็นพระชายา แต่ทรงทราบว่าพระมเหสีเฮราไม่มีวันยินยอม จึงยกให้เป็นพระชายาของพระโอรสเพื่อตอบแทนที่เทพวิศวกรรมเฮเฟสทัสสร้างสายฟ้าถวายเป็นอาวุธของพระองค์


เทพธิดาวีนัสเสด็จกลับไปเยือนเกาะซีเทราปีละครั้ง และทรงดำลงไปในทะเล อันเป็นแหล่งที่พระองค์ทรงอุบัติขึ้นมา เมื่อโผล่ขึ้นมาจากน้ำ เทพธิดาผู้เลอโฉมจะดูสดชื่นเหมือนวันแรกที่เทพแห่งลมประจิมได้พบ เนื่องจากมีพระสิริโฉมงดงามและนิสัยร่าเริงชอบความสนุกสนาน จึงไม่พอพระทัยในพระสวามีเฮเฟสทัสผู้มีขาพิการ อีกทั้งยังคร่ำเคร่งทรงงานหนักอยู่แต่ในโรงงานที่สกปรกและดังหนวกหูทั้งวันทั้งคืน

เอริสหรือมาร์สผู้งามสง่าคือเทพบุตรที่เทพีแห่งความรักพึงพอใจ กระนั้นในภายหลังพระนางก็ยังแอบแบ่งหัวใจให้กับ เจ้าชายแอนไคซิส (Anchises) จนมีโอรสด้วยกันคือ เจ้าชายอีเนียส [Aeneas] ซึ่งเป็นวีรบุรุษที่สำคัญคนหนึ่งของเมืองทรอย และพระองค์ (อีเนียส) ยังเป็นผู้นำความยิ่งใหญ่ของบรรดาเทพเจ้าแห่งโอลิมปัสไปเผยแพร่ ณ กรุงโรม ซึ่งเชื้อสายของพระองค์เป็นผู้สร้าง นามของเทพเจ้าแห่งโอลิมปัสได้รับการขนานนามเป็นภาษาโรมันและได้รับการยกย่องให้ยิ่งใหญ่ขึ้นอีกครั้ง ณ อาณาจักรโรมัน



ตำนานดอกอโดนิส (adonis) หรือดอกอะนิโมนิ (anemone)

ดังที่กล่าวไว้ในตอนท้ายของประวัติความเป็นมาแห่งเทพธิดาวีนัสแล้วว่า นอกจากเทพบุตรเอริสหรือมาร์สผู้สง่างาม เทพีแห่งความรักผู้เลอโฉม ยังมีเรื่องเสน่หากับนายพรานหนุ่มผู้หนึ่งนามว่า อโดนิส [adonis] อันเนื่องมาจากพิษศรแห่งความรักของโอรสคิวปิด ซึ่งเกิดขึ้นโดยมิได้ตั้งใจ

เรื่องมีอยู่ว่าวันหนึ่งขณะที่พระมารดาวีนัสทรงหยอกเย้าอยู่กับโอรสคิวปิด นางเผลอไปถูกศรเข้าโดยบังเอิญ ครั้นได้ยลโฉมอโดนิสนายพรานหนุ่มก็บังเกิดความรักหลงใหล แต่เนื่องจากเทพบุตรคิวปิดมิได้ยิงศรรักเข้าสู่ดวงใจของอโดนิส เรื่องจึงกลายเป็นว่าเทพธิดาผู้เลอโฉมหลงรักพรานหนุ่มผู้เป็นมนุษย์เพียงข้างเดียว นางเพียรเฝ้าติดตามอย่างห่วงใยและคอยตักเตือนมิให้พรานหนุ่มกระทำการล่าสัตว์ด้วยวิธีเสี่ยงต่ออันตราย แต่อโดนิสหาได้รับฟังหรือสนใจใยดีแต่ประการใด

ครั้งหนึ่งอโดนิสเกิดพลาดพลั้งถูกหมูป่าที่บาดเจ็บเพราะโดนไล่ล่าจนตรอกถลาเข้าขวิดจนล้มลงขาดใจตาย เทพธิดาวีนัสทรงเทพยานเทียมหงส์ผ่านมาพบจึงกรรแสงฟูมฟายโอดครวญ และเนื่องจากไม่ต้องการให้วิญญาณของชู้รัก ถูกนำไปสู่ยมโลก เลยใช้เทวฤทธิ์บันดาลให้หยาดโลหิตของอโดนิสกลายเป็นบุปผชาติชนิดหนึ่ง เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความโศกเศร้า ดอกไม่นั้นมีสีแดงเลือดดังสีทับทิม เรียกกันว่า ดอกอโดนิส หรือ ดอกอะนิโมนิ เทพธิดาวีนัสบันดาลให้รูปปั้นนางกัลละเทีย [galatea] มีชีวิตเทพธิดาวีนัสเป็นเทพีแห่งความรักอย่างแท้จริง นางได้ช่วยดลบันดาลให้หนุ่มสาวหลายคู่สมหวัง ดังเรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้

ณ เกาะไซปรัส อันเป็นเกาะหนึ่งที่มีศาลของเทพธิดาวีนัสซึ่งชาวเมืองนิยมทำการบวงสรวงบูชา มีช่างปั้นฝีมือดีผู้หนึ่งชื่อว่า พิกเมเลียน [pygmalion] เขาได้ปั้นรูปผู้หญิงที่มีความงามเลิศล้ำขึ้นมาและให้นามของนางว่า กัลละเทีย [galatea] เนื่องจากนางมีรูปลักษณะเสมือนมนุษย์อย่างไม่ผิดเพี้ยน พิกเมเลียนจึงเกิดความรักจนหลงใหล ทั้งที่ก่อนหน้านี้เขาไม่เคยสนใจผู้หญิงคนใดในโลก ช่างปั้นหนุ่มได้ทูลขอให้เทพธิดาวีนัสเนรมิตรให้นางอันเป็นที่รักยิ่งมีชีวิตเลือดเนื้อขึ้นมา และก็ได้ดังความประสงค์ เปลวไฟที่แท่นบูชาพุ่งขึ้นสามครั้งตามคำอธิษฐานเสี่ยงทาย พิกเมเลียนดีใจอย่างหาที่เปรียบมิได้ เมื่อกลับมาถึงบ้านและบรรจงจูบอย่างทะนุถนอม นางกัลละเทียก็กลับมีชีวิตเลือดเนื้อขึ้นมาเหมือนมนุษย์ทุกประการ ทั้งสองได้แต่งงานกันและให้กำเนิดบุตรผู้หนึ่งนามว่า เพฟอส [paphos]



ตำนานเหตุที่ผลหม่อนมีสีแดงดังเลือด

ยังมีตำนานเกี่ยวกับความรักที่เทพธิดาวีนัสได้ให้ความช่วยเหลืออีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งแม้จะจบลงด้วยความเศร้า แต่ก็เป็นอุทาหรณ์ที่ดี
ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว หนุ่มสาวคู่หนึ่งมีความรักต่อกันอย่างแท้จริง ฝ่ายชายนั้นมีนามว่า พิรมัส [pyramus] ฝ่ายหญิงสาวนั้นมีนามว่า ธิสบี [thisbe] แต่พ่อแม่ของทั้งสองฝ่าย กลับเป็นศัตรูคู่อาฆาตทั้งที่บ้านมีกำแพงชิดติดกัน เทพธิดาวีนัส ได้ช่วยให้หนุ่มสาวได้มีโอกาสพรอดรักกันตรงรอยแตกของกำแพงบ้านนั้นเอง

ครั้นเมื่อทั้งสองนัดไปพบกัน ณ นอกประตูเมือง ตรงที่มีต้นหม่อน ( ซึ่งในสมัยนั้นผลหม่อนยังมีสีขาว ) ขึ้นอยู่ ธิสบีมาถึงที่นัดก่อน แต่หล่อนโชคร้ายโดนสิงโตตัวหนึ่งไล่ล่า แม้จะหนีรอดไปได้แต่เกิดทำผ้าคลุมหน้าหล่นไว้ พิรมัสมาพบผ้าคลุมหน้าของสาวรักมีรอยถูกสิงโตฟัดจนขาดไม่มีชิ้นดี เข้าใจว่าธิสบีตกเป็นเหยื่อของสิงโตไปแล้ว จึงชักมีดแทงตัวตายด้วยความเศร้าเสียใจ ครั้นธิสบีย้อนมาหาคนรัก ณ จุดนัด พบร่างของพิรมัสนอนสิ้นใจอยู่นางก็แทงตัวตายตาม ศพของสองหนุ่มสาวผู้บูชาความรักแต่ขาดสติไตร่ตรอง นอนอยู่เคียงข้างกัน ณ ใต้ต้นหม่อน ซึ่งบัดนี้ผลของมันซึ่งเคยขาวราวไข่มุก ได้เปลี่ยนเป็นสีแดงเลือดนับแต่นั้นมา เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจมิให้หนุ่มสาวที่กำลังอยู่ในห้วงแห่งความรักใจร้อนวู่วามเหมือนพิรมัสกับธิสบี



เทพธิดาวีนัส เทพีผู้ครองความมีลูกดก
(ตำนานนกกระสาคาบเด็กมาหย่อนลงในปล่องไฟ)


ในสมัยโบราณเชื่อกันว่า เทพธิดาวีนัสนอกจากเป็นเทพีแห่งความรักผู้เลอโฉมแล้ว ยังเป็นเทพีครองความมีลูกดกอีกด้วย ชาวกรีกและโรมันนับถือนกกระสาอันเป็นนกคู่บารมีของเทพธิดาวีนัส โดยรับหน้าที่คาบห่อผ้าซึ่งภายในมีทารกไปมอบให้กับครอบครัวที่จะมีเด็กเกิด หรือหากนกกระสาสองผัวเมียมาทำรังบนนั้นมีลูกและจะประสบความรุ่งเรือง ดังนั้นชาวยุโรปจะรู้สึกยินดีหากมีนกกระสามาทำรังบนหลังคาบ้าน เรื่องนี้อาจเป็นตำนานที่แต่งขึ้นเพื่อตอบคำถามเด็ก ๆ ว่าพวกเขามาจากไหน ตำนานนกกระสานำเด็กมามอบให้ครอบครัวที่จะให้กำเนิดเด็กทารก โดยคาบมาหย่อนลงในปล่องไฟ จึงพอจะช่วยให้คำถามยาก ๆ คลี่คลายได้ในระดับหนึ่ง



Aphrodite : Goddess of Love

Aphrodite, the goddess of love, beauty and fertility, was revered by the Phoenicians from at least 3200 BC. She was distinguished from the other leading goddess of the Near East -- and in Greece later -- primarily because those others wore armor and fought in battle. The other goddesses included the Greek Athena (in full armor in the Parthenon), and the Canaanite Astarte.

Aphrodite's nature reflected the peaceful Phoenician society in which she developed. She was the heart of their community, even when other deities later joined her. The people there referred to her simply as "Our Lady." She had an intimate relationship with Adonis near Byblos in Lebanon.

The sea-going Phoenicians brought Aphrodite with them to islands across the Mediterranean such as Cythera, and then to Cyprus. Many years later, when classical Greece arose and Cyprus became that society's valued source of copper, the legend of beautiful Aphrodite came to mainland Greece.

This is the most famous description of her birth. It occurred following a dispute between Uranus -- father of the gods -- and his son Chronos, who castrated him.

The genitals, cut off with adamant
And thrown from land into the stormy sea,
Were carried for a long time on the waves.
White foam surrounded the immortal flesh,
And in it grew a girl. At first [she] touched
On holy Cythera, from there [she] came
To Cyprus, circled by the waves. And there
The goddess came forth, lovely, much revered,
And grass grew up beneath her delicate feet.
Her name is Aphrodite among men
And gods, because she grew up in the foam. . . .

Hesiod : Theogony 185-195

After her arrival at Cyprus, Aphrodite appeared in many of the Greek epics and legends. Later she also appeared in the epics of the Romans, who called her Venus. She was always the beautiful goddess of love.



Aphrodite (Venus) and Adonis

At Byblos in Lebanon a beautiful baby boy was born and left without parents to care for him. Our Lady Aphrodite fell in love with him, and placed him in the care of the goddess of the underworld for safekeeping. Unfortunately when she went back to claim the boy, the other woman had also fallen in love with him and would not give him up. As a compromise it was agreed the boy would live half of the year with each of them. Nurtured by the love of these two women, he grew into a handsome and influential young man in the hills above Byblos. He became known as 'adon, which meant "lord," and then as Adonis.

Tragically, one of the male gods became jealous of Adonis. The rival changed himself into a wild boar and fatally gored the handsome young man. As Adonis lay dying in the arms of Aphrodite, drops of his blood spilled out and stained the anemone flower crimson red. When he was gone, Aphrodite went to the goddess of the underworld again to see if their bargain could be restored. Her outpouring of grief and love was so strong that it was agreed Adonis would live again. He would stay in the hills of Byblos for six months each year during spring and summer, and then return below for fall and winter.

In observance of these things, the river which coursed down from these hills to a place near Byblos was called the Adonis River (today, Nahr Ibrahim ). Each year when runoff from the Lebanon Mountains turned the river red, it was said to be the blood of Adonis. The crimson-red anemone continued to bloom there each year. And the grotto at Afqa on the side of the mountain from which the Adonis River flowed became a place of pilgrimage.

In his honor “Adonis gardens” were grown by sprouting seeds in a dish which sprang up bright and green, but then perished. This was done every year in memory of his life and death. At the same time, a period of mourning was declared during which women would wail and expose their breasts in an expression of grief. After seven days of mourning, Adonis was reborn amid effusive celebration and festivities.

The Greeks later became so caught up in these emotional observances that the legend of Adonis was brought completely into their mythology as well.

The story of Byblos, and of the cedar-covered Lebanon mountains in which Adonis lived, are explored in greater detail in Chapters 2 – 9 of Phoenicians: Lebanon's Epic Heritage.



The Legend of Mulberry : Pyramus and Thisbe

The hero and heroine of a Babylonian love story related by Ovid in his Metamorphoses, Pyramus and Thisbe grow up as neighbors and fall in love. Although their parents refuse to consent to their union, the lovers resolve to flee together and agree to meet under a mulberry tree. Thisbe, first to arrive, is terrified by the loud roar of a lioness, and in her haste to leave she drops her veil, which the lioness tears to pieces with jaws stained with the blood of an ox. Pyramus, upon finding the veil, believes that Thisbe has been devoured by the lioness and stabs himself. When Thisbe returns and finds her lover mortally wounded under the mulberry tree, she kills herself. From that time forward, legend relates, the fruit of the mulberry, previously white, was purplish black.

The story of Pyramus and Thisbe was reexamined and retold by such authors as Marie de France in her Lai de Piramos e Tisbe, William Shakespeare in A Midsummer Night's Dream, Luis de Góngora in his parody romance La fábula de Píramo y Tisbe, and Théophile de Viau in his tragedy Pyrame et Thisbé.


The Legend of Heron and Aphrodite

The heron has rich mythological associations in many cultures, and researching these will yield much information. In Greek mythology, the heron has been indicated as being a messenger from the gods, including deities like Athene and Aphrodite. White herons are often indicated as representing the sun, particularly in Eastern and Egyptian mythologies.



No comments:

Post a Comment

Note: Only a member of this blog may post a comment.