19.11.10

[Repost Article] Loy Krathong Festival



On this Sunday, November 21st is the full moon of the 12th month in Thai Lunar Calendar and a night for one important festival in Thailand, Loy Krathong.

คืนวันอาทิตย์ที่ 21 นี้คือคืนวันเพ็ญเดือน 12 ตามปฏิทินไทย และเป็นค่ำคืนหนึ่งในเทศกาลสำคัญของเมืองไทย เทศกาลลอยกระทง

Loy Krathong is a festival celebrated annually throughout Thailand. Loy Krathong is held on the full moon of the 12th month in the traditional Thai Lunar Calendar. In the western calendar this usually falls in November.

ประเพณีลอยกระทงมีการเฉลิมฉลองกันทุกปีทั่วไทย โดยจะจัดขึ้นในคืนเพ็ญเดือน 12 ตามปฏิทินไทย ในปฏิทินสากลจะอยู่ประมาณเดือนพฤศจิกายน

"Loi" means "to float". "Krathong" is a raft about a handspan in diameter traditionally made from a section of banana tree trunk (although modern-day versions use specially made bread 'flowers' and may use styrofoam), decorated with elaborately-folded banana leaves, flowers, candles, incense sticks etc. During the night of the full moon, many people will release a small raft like this on a river. Governmental offices, corporations and other organizations also build much bigger and more elaborate rafts, and these are often judged in contests. In addition, fireworks and beauty contests take place during the festival.

“กระทง” จะมีขนาดประมาณหนึ่งฝ่ามือ ทำจากหยวกกล้วย (แต่เดี๋ยวนี้มีแบบที่ทำจากขนมปัง และบางแห่งก็ยังคงใช้โฟม) ประดับประดาด้วยใบตอง ดอกไม้ ธูปเทียน เมื่อพระจันทร์เต็มดวงผู้คนจะนำกระทงนี้ไปลอยในแม่น้ำ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยราชการหรือเอกชนจะพากันทำกระทงขนาดใหญ่พิเศษเพื่อประกวดกัน นอกจากนั้นก็มีการจุดพลุและการประกวดเทพีด้วย




According to the writings of H.M. King Rama IV in 1863, the originally Brahmanical festival was adapted by Buddhists in Thailand as a ceremony to honour the original Buddha, Siddhartha Guatama. Apart from venerating the Buddha with light (the candle on the raft), the act of floating away the candle raft is symbolic of letting go of all one's grudges, anger and defilements, so that one can start life afresh on a better foot. People will also cut their fingernails and hair and add them to the raft as a symbol of letting go of the bad parts of oneself. Many Thai believe that floating a krathong will create good luck, and they do it to honor and thank the Goddess of Water, Phra Mae Khongkha.

จากพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อปี 1863 มีบันทึกไว้ว่าประเพณีของลัทธิพราหมณ์นี้ถูกนำมาดัดแปลงเพื่อเป็นการถวายสักการะแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า นอกจากการบูชาด้วยแสงจากเทียนแล้ว การลอยกระทงไปตามน้ำนั้นถือเป็นสัญลักษณ์ของการลอยสิ่งที่ไม่ดีออกไปจากตัวเรา ทำให้เราเริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยสิ่งดีๆ บางคนจะตัดเล็บและผมลอยไปกับกระทงด้วย หลายคนเชื่อว่าการลอยกระทงคือการนำโชคดีมาสู่ตัว เป็นการรำลึกถึงพระคุณของพระแม่คงคา

The beauty contests that accompany the festival are known as "Noppamas Queen Contests". According to legend, Noppamas was a consort of the Sukothai King Loethai (14th century) and she was the first to float decorated krathongs.

สิ่งที่อยู่คู่เทศกาลก็คือการประกวดเทพี ที่รู้จักกันในชื่อ “การประกวดนางนพมาศ” ตามตำนานกล่าวว่า นางนพมาศคือพระมเหสีของกษัตริย์สุโขทัย พระเจ้าลือไท (ศตวรรษที่ 14) ทรงเป็นคนแรกที่ประดิษฐ์กระทงขึ้นมา

The Thai tradition of Loy Kratong started off in Sukhothai, but is now celebrated throughout Thailand, with the festivities in Chiang Mai and Ayutthaya being particularly well known.

ประเพณีลอยกระทงจึงมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่ปัจจุบันมีเฉลิมฉลองกันทั่วประเทศ ที่มีชื่อเสียงมากๆ ก็คือที่เชียงใหม่ และพระนครศรีอยุธยา




In Chiang Mai Loi Kratong is also known as "Yi Peng". Every year thousands of people assemble to float the banana-leaf krathong onto the waterways of the city, honouring the Goddess of Water. A multitude of Lanna-style hot-air lanterns (khom) are also launched into the air where they resemble large flocks of giant fluorescent jellyfish gracefully floating by through the skies. These are believed to help rid the locals of troubles and are also taken to decorate houses and streets.

ที่เชียงใหม่ประเพณีลอยกระทงรู้จักกันในชื่อ “เทศกาลยี่เป็ง” ทุกๆ ปีคนนับพันจะมาลอยกระทงในสายน้ำ เพื่อแสดงความคารวะต่อพระแม่คงคา แล้วก็ยังมีการปล่อยโคมลอยแบบล้านนาขึ้นสู่ท้องฟ้า โคมเรืองแสงหน้าตาเหมือนแมงกะพรุนลอยอย่างงดงามขึ้นสู่ท้องฟ้า พวกเขาเชื่อว่านี่เป็นการขจัดปัดเป่าทุกข์ภัยให้พ้นไปจากตัว และมีการประดับโคมตามบ้านเรือนและท้องถนนด้วย


[Source : wikipedia.org]




No comments:

Post a Comment

Note: Only a member of this blog may post a comment.