9.2.09

Dhamma

ภาพจาก watkoh.com

Agreat man with liberated mind.

The so-called person or being is composed of nama and rupa .
Nama and rupa (mentality and materiality) are devided into five aggregates. The physical phenomenon is only one aggregate. called rupakhanda. Nama ( mentality ) consists of four aggregates.
1. Vedanakhandha - the aggregate of felling.
2. Sannakhandha - the aggregate of perception.
3. Sankharakkhandha – the aggregate of mental formations.
4. Vinnanakhandha - the aggregate of consciousness.

Sometimes the Omniscient Buddha gave a discourse summarizing these five aggregates as two processes – nama and rupa. mental and physical phenomena. Thus nama and rupa must be thoroughly realized by the meditator so that he can liberate the mind from all defilements.

มหาบุรุษ...บุรุษผู้เป็นอิสระ พ้นแล้วจากทุกข์ทั้งปวง

สิ่งมีชีวิตอันเป็นสมมุติเรียกกันว่า “บุคคล” ย่อมประกอบขี้นด้วย นามและรูป นามและรูป (จิตและกาย ) ยังแบ่งออกได้เป็น ๕ กอง เรียกกันว่า ขันธ์ ๕ โดย รูป ( สภาวธรรมทางกาย) นับเป็น ๑ ขันธ์ เรียกว่า รูปขันธ์ ส่วน นาม (สภาวธรรมทางจิต) ประกอบด้วยขันธ์ ๔ กอง ด้วยกันคือ

1. เวทนาขันธ์ - ส่วนที่เสวยอารมณ์หรือรับรู้ความรู้สึก รู้สึก (สุข ทุกข์ เฉยๆ)
2. สัญญาขันธ์ – ความจำได้หมายรู้
3. สังขารขันธ์ – สภาพที่ปรุงแต่งจิต
4. วิญญาณขันธ์ – ตัวรู้ หรือจิตที่รับรู้อารมณ์ ( เมื่ออายตนะภายในและภายนอกกระทบกัน)

ในบางพระสูตร พระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงย่อ เอา ขันธ์ ทั้ง ๕ ลงเหลือเป็น ๒ กระบวนการ คือ นาม และรูป (สภาวธรรมทางจิตและสภาวธรรมทางกาย) ด้วยเหตุนี้เอง ผู้ปฎิบัติธรรมจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความรู้แจ้งตามที่เป็นจริง ใน นาม และรูป ให้ทะลุปรุโปร่ง จึงจะสามารถปลดปล่อยจิตของตนให้พ้นจากกิเลสทั้งมวลได้.


To realise mental phenomena ( nama) is much more important than to realize physical phenomena ( rupa) because it is mental phenomena that create the world. Here “ the world “ means all living beings in the world. The Buddha said.

“ Mano pubbangama dhamma.
mano settha manomaya
Manasa ce padutthena,
bhasati va karoti va,
Tato nam dukkhamanveti,
Cakkam va vahato padam “


“ The mind is the leader,
the mind is dominant,
all things are made by mind.
If one should speak or act with corrupt mind,
Suffering ( Dukkha ) caused by that follows him,
As the Wheel of a cart followers the ox’s hoof .”


และพึงเข้าใจด้วยว่า การเข้าไปเห็นแจ้งในสภาวธรรมทางจิต (นาม) สำคัญยิ่งกว่าการเห็นแจ้งในสภาวะธรรมทางกาย (รูป) เพราะสภาวธรรมทางจิต (นาม ) นี่แหละที่สร้างโลกขึ้นมา... คำว่า “ โลก “ ในที่นี้หมายถึง สรรพสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งมวลในโลกนี้ ดังพระพุทธพจน์ ที่ว่า


“ มโน ปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฎฺฐา มโนมยา
มนสา เจ ปทุฏฺเฐน ภาสติวา กโรติ วา
ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ จกฺกํว วหโต ปทํ . “
( พุทธ ) ธรรมบท ๒๕/๑๓


“ สิ่งทั้งหลายมีใจเป็นผู้นำ
มีใจเป็นใหญ่
สำเร็จได้ด้วยใจ
ถ้าคนมีใจชั่วแล้ว พูดอยู่ก็ตาม ทำอยู่ก็ตาม
ความทุกข์ย่อมติดตามบุคคลนั้น เพราะความทุจริต ๓ ทาง นั้น
เหมือนล้อเกวียนหมุนไปตามรอยเท้าโคผู้กำลังลากอยู่ฉะนั้น”


So when you do an unwholesome deed, the cause is unwholesome mentally, unwholesome mental states are called “akusala” in pali . Wholesome mental state are called “kusala” .A wholesome mind brings about wholesome speech and deeds.


The root cause of good deeds and good speech is a wholesome mind. The root cause of bad deeds and bad speech is and unwholesome mind . When the mind is unwholesome, deeds and speech become unwholesome, and this produces suffering. When the mind is wholesome, then deeds and speech are wholesome, which produces happiness and peace.


เมื่อใดก็ตามที่บุคคลกระทำการไม่ดีใดๆ ซึ่งชั่วร้ายหรือผิดศีลธรรม ต้นเหตุที่ก่อให้เกิดการกระทำไม่ดีนั้นๆก็คือจิตที่ไม่ดี จิตที่ผิดศีลธรรมซึ่งภาษาบาลีเรียกว่า “อกุศล” นี่เอง ส่วนจิตที่ดีงามมีศีลธรรมนั้นภาษาบาลีเรียกว่า “กุศล” และจิต อันเป็นกุศลนี่เองที่นำมาซึ่งวาจาและการกระทำอันเป็นกุศลด้วย

“กุศลจิต” จึงเป็นรากเหง้าของวาจาและการกระทำอันเป็นกุศลทั้งหลาย ส่วนรากเหง้าของวาจาและการกระทำที่ไม่ดีไม่งามหรือทุจริตชั่วร้ายก็คือ “อกุศลจิต” นี่เอง เมื่อจิตไม่เป็นกุศล ก็ย่อมพาให้วาจาและการกระทำไม่เป็นกุศลตามไปด้วย นี่เองคือสาเหตุที่ก่อให้เกิดความทุกข์ หากจิตเป็นกุศลเสียแล้ว วาจาและการกระทำก็ย่อมเป็นกุศลตามไปด้วย และย่อมก่อให้เกิดความสุขสงบ ตามมาเช่นกัน.


A liberated Mind

So the mind is the most important thong of all. The mind is much more important than the body. That is why the Buddha says “ vimuttacitta” He doesn’t said “ vimuttkaya
“vimuttcitta” means liberated mind, If we said “ vimuttakaya” it would mean liberated body. The Buddha never said “vimuttakaya, liberated body, he always said “ vomuttacitta”: liberated mind. Why? Because when the mind is liberated from defilements and suffering. the body also becomes liberated from suffering..


As you may know, the venerable Moggallana had a liberated mind, completely liberated from all defilements through the final stage of enlightenment, arahantship. When he was about to pass away, he was killed by robbers , because of his pass kamma. The robbers thought that the venerable One was dead, but actually he was not yet dead as he had entered into
phalasamabatti : which protected his life against any killing. He was beaten to “ a sack of chaff “ but he did not feel any mental suffering because his mind was liberated from defilements, he was not attached to his body. He saw unpleasant physical sensations as arising as passing away of natural process of feeling or sensation
.

จิตที่อิสระจากทุกข์ทั้งมวล
จิตจึงนับว่ามีความสำคัญที่สุดและสำคัยยิ่งกว่ากาย ด้วยเหตุนี้เองสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงตรัสถึง “ วิมุตตจิต” โดยมิได้ทรงกล่าวถึง “ วิมุตตกาย” เลย
“วิมุตตจิต” แปลว่า จิตที่เป็นอิสระ หากจะมีคำว่า “ วิมุตตกาย “ ก็คงจะแปลว่า กายที่เป็นอิสระ แต่เพราะเหตุใดเล่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสถึงเฉพาะวิมุตตจิต เท่านั้น คำตอบก็คือ เมื่อจิตหลุดพ้น เป็นอิสระจากกิเลสและกองทุกข์เสียแล้ว กายก็ย่อมเป็นอิสระจากกองทุกข์ตามไปด้วยเช่นกัน


ดังที่ทราบกันดีว่า พระโมคคัลลานะมหาเถระ เป็นผู้มีจิตอันหลุดพ้นจากกิเลสทั้งมวล
อย่างสมบูรณ์เมื่อบรรลุธรรมชั้นสูงสุด เป็นพระอรหันต์ ยามเมื่อพระมหาเถระจะเข้าสู่ ปรินิพพานนั้น เนื่องจากกรรมเก่าของท่าน ท่านจึงถูกรุมประหัตประหารโดยหมู่โจร ในขณะที่หมู่โจรรุมทำร้ายอย่างโหดเหี้ยมจนเข้าใจว่าท่านมหาเถระสิ้นชีพไปแล้วนั้น ท่านมหาเถระ ได้เข้า “ ผลสมาบัติ “ ซึ่งจะช่วยปกป้องท่านจากภัยอันคุกคามชีวิตทั้งปวงได้ หมู่โจรทุบตีท่านมหาเถระจนแหลกเหลว แต่จิตของท่านกลับมิได้รู้สึกเป็นทุกข์แต่อย่างใด เนื่องเพราะจิตของท่านมหาเถระได้หลุดพ้นเป็นอิสระจากกิเลสทั้งมวลแล้วอย่างสมบูรณ์ ท่านมิได้ยึดติดอยู่กับกาย ท่านมหาเถระจึงมองเห็นทุกขเวทนาทางกายนั้นเป็นเพียง เวทนา หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นและดับไปตามธรรมชาติเท่านั้นเอง


Though his body was injured and beaten very badly, he didn’t feel any painful sensation, he didn’t feel any suffering because his mind was liberated from all defilements. He didn’t take his body to be himself, he saw it as ever-changing mental and physical phenomena. Then he was liberated from physical suffering too. If his mind was not liberated from defilements, he would have suffered a great deal, but he didn’t take any mental and physical phenomena to be a person or a self, a being or a man.


This is why Buddha said the mind should be liberated from defilements. When the mind is liberated, you don’t have either mental or physical suffering. There’s why the Buddha teaches us to see things as they naturally are, by means of mindfulness meditation. That is why we have to practice mindfulness meditation so that we can liberate the mind from defilements.


แม้ว่าร่างกายของท่านมหาเถระจะถูกทุบตีทำร้ายจนบาดเจ็บสาหัสถึงเพียงนั้น ท่านมหาเถระก็หาได้รู้สึกเจ็บปวดและเป็นทุกข์ทางใจแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะจิตของท่านเป็นอิสระแล้วขากกิเลสทั้งปวง ท่านมิได้ยึดติดว่า กายที่บาดเจ็บนั้นเป็นกายของท่าน แต่กลับมองเห็นว่ามันเป็นเพียงสภาวธรรมทางกายและทางจิตที่แปรปรวนอยู่ตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้เอง ท่านจึงเป็นอิสระหลุดพ้นจากทุกขเวทนาทางกายด้วย หากจิตของท่านยังไม่หลุดพ้นเป็นอิสระจากกิเลสทั้งปวงแล้วไซร้ ท่านย่อมจะต้องเป็นทุกข์อย่างแสนสาหัส แต่ท่านหลุดพ้นจากทุกข์นั้นอย่างสิ้นเชิงได้ก็เพราะท่านมิได้ยึดว่าสภาวธรรมทางจิตและทางกายใดๆ เป็น บุคคล เป็นตัวตน เป็นคน เป็นสิ่งมีชีวิต

ด้วยเหตุนี้เอง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า สาธุชนพึงปลดปล่อยจิตให้หลุดพ้นเป็นอิสระจากกิเลสทั้งมวล เมื่อจิตเป็นอิสระจากกิเลสแล้ว บุคคลนั้นย่อมจะไม่มีความทุกขืกายทุกข์ใจอีกต่อไป พระพุทธองค์ตรัสสอนให้ตามกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงด้วยการเจริญสติ เราจึงพึงหมั่นฝีกฝนเจริญวิปัสสนากรรมฐาน-กรรมฐานแห่งสติ เพื่อที่จะปลดปล่อยจิตของเราให้เป็นอิสระจากกิเลสทั้งมวลได้ในที่สุดนั่นเอง


How can we liberate the mind?

How can we liberate the mind from defilements and suffering? One day the venerable Sariputta went to the omniscient Buddha and asked him a question. Venerable sir, A great man ; thus people speak. How far is one a great Man? The Buddha said,” With mind liberated is one a Great Man. With mind not liberated, one is not a Great Man “
Great Man is “Mahapurisa” in pali. In scripture, the word “ “Mahapurisa” refers to the Buddha. In some cases, it means “noble man” “with the mind liberated” is “ vimuttacitto” in pali.

“ vimuuta” means liberated, citto means mind.
Then the Buddha continued to explain how to the mind can be liberated.

“ Idha sariputta bkikkhu kaye kayanupassi viharati
Atapi sampajano satima vineyya loke

Abhijjhadomanassam” s.v.158 )

ทำอย่างไรจึงจะปลดปล่อยจิตให้หลุดพ้นได้

เราจะปลดปล่อยจิตให้เป็นอิสระพ้นจากกิเลสและทุกข์ทั้งมวลได้อย่างไร เมื่อครั้งพุทธกาล พระสารีบุตรมหาเถระ ได้ไปเฝ้าสมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าและทูลถามว่า “ พระพุทธเจ้าข้า ผู้คนทั่วไปมักกล่าวถึงมหาบุรุษ อย่างไรเล่าพระเจ้าค่ะจึงจะเรียกว่าเป็น มหาบุรุษ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า” บุคคลอันจิตหลุดพ้นเป็นอิสระแล้ว เรียกได้ว่าเป็น มหาบุรุษ... หากจิตยังมิได้หลุดพ้นเป็นอิสระ มิอาจเรียกได้ว่าเป็นมหาบุรุษ

“มหาบุรุษ” เป็นภาษา บาลีอันหมายถึง ผู้ยิ่งใหญ่ ในพระคัมภีร์ คำว่า มหาบุรุษ หมายถึง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และในบางกรณี คำนี้หมายถึง “อริยบุคคล”

“ จิตที่หลุดพ้นเป็นอิสระ” ในภาษาบาลีเรียกว่า “ วิมุตตจิต”
วิมุตตะ แปลว่า หลุดพ้นเป็นอิสระ

จิตตะ หมายถึงจิต-ธรรมชาติที่รู้อารมณ์หรือรับรู้อารมณ์ได้


จากนั้น พระพุทธองค์ยังได้ทรงพระกรุณาตรัสอธิบายต่อไปอีกด้วยว่า ทำอย่างไรบุคคลจึงจะปลดปล่อยจิตให้หลุดพ้นเป็นอิสระได้


“ อิธ สารีปุตฺโต ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ
อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก
อภิชฺฌาโทมนสฺสํ “
Venerable Chanmyay Sayadaw
Ashin Janskabhivamsa
Agga-maha-Kammatthanacariya

The Abbat of Chanmyay Yeiktha Meditation Center.
Venerable Chanmyay Sayadaw is one of the five principle disciples of the most Venerable Mahasi Sayadaw. Being world -famous as a master Teacher of both Vipassana and Metta meditation practice. Venerable Chanmyay Sayadaw has traveled to 28 countries in Asia, Africa, Australia,
Europe and North America. During these travels, he tirelessly conducts meditation retreats, delivers Dhamma talks and generally spreads Dhamma goodwill throughout the world.

Translate to Thai by Montatip Khunwattana



คัดลอกบางส่วนมาจากหนังสือ มหาบุรุษเขียนโดย ท่านอาจารย์ เชมเย สยาดอ พระชนกาภิวงศ์ อัคคมหากัมมัฎฐานาจริยะ
เจ้าสำนักวิปัสสนากรรมฐาน เชมเย ยิกต้า
นครย่างกุ้ง สหภาพพม่า จัดพิมพ์เมื่อ ปี 2548
ท่านเดินทางสอนวิปัสสนากรรมฐานสาธุชนประเทศต่างๆ 28 ประเทศ ทั้งเอเชีย ออสเตรเลีย อาฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ
ประเทศไทย ปีละครั้ง
ในปี 2551 ท่านมีอายุ 81 ปี ท่านมาสอนที่เมืองไทย 20 ปี
ท่านเป็นศิษย์เอก หนึ่งในห้า ของท่านปรมาจารย์ มหาสี สยาดอ อูโสภณะ
เรื่องนี้ เป็นธรรมบรรยาย แสดงที่ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อ ปี 2541


แปลไทยโดย คุณ มณฑาทิพย์ คุณวัฒนา


ดิฉัน ขออนุญาต นำมาเผยแผ่ เนื่องในวาระโอกาส วัน มาฆะบูชา 2552
การให้ธรรมเป็นทานย่อมเหนือการให้ทั้งปวง
ต้องขอภัยหากมีคำผิดพลาด เป็นเพราะดิฉัน Key ผิดเอง เพราะไม่สันทัด

No comments:

Post a Comment

Note: Only a member of this blog may post a comment.