4.3.10

[Article] Kisaeng / กีเซ็ง บุปผางามแห่งเกาหลี



by Ladymoon @http://twssg.blogspot.com
[03/04/2010 – 22.47 P.M. (TH)]


Kisaeng (also spelled gisaeng), sometimes called ginyeo (기녀), were female korean entertainers. Kisaeng are artists who work to entertain others, such as the yangbans and kings.

First appearing in the Goryeo Dynasty, kisaeng were legally entertainers of the government, required to perform various functions for the state. Many were employed at court, but they were also spread throughout the country. They were carefully trained, and frequently accomplished in the fine arts, poetry, and prose, although their talents were often ignored due to their inferior social status.

กีเซ็ง คือหญิงสาวผู้ให้ความบันเทิงในสังคมเกาหลีโบราณ (คล้ายๆ ศิลปิน ดารา นักร้อง ในสมัยนี้ของเราล่ะค่ะ เช่นเดียวกับเกอิชาของญี่ปุ่น) กีเซ็งเป็นศิลปินผู้ให้ความบันเทิงแก่เหล่าขุนนางและกษัตริย์

ปรากฏในหลักฐานเป็นครั้งแรกในสมัยโครยอ กีเซ็งเป็นผู้ให้ความบันเทิงอย่างถูกกฎหมายของรัฐ พวกเธอจะผ่านการฝึกฝนอย่างหนัก เชี่ยวชาญในศิลปะแขนงต่างๆ และบทกวี แต่ความสามารถเหล่านี้มักถูกมองข้ามไปด้วยฐานะทางสังคมที่ต่ำต้อยในสมัยนั้น

Women of the kisaeng class performed various roles, although they were all of the same low status in the eyes of yangban society. Aside from entertainment, these roles included medical care and needlework. In some cases, such as at army bases, kisaeng were expected to fill several such roles.

Kisaeng, both historic and fictional, play an important role in Korean conceptions of the traditional culture of the Joseon Dynasty. Some of Korea's oldest and most popular stories, such as the tale of Chunhyang, feature kisaeng as heroines. Although the names of most real kisaeng have been forgotten, a few are remembered for an outstanding attribute, such as talent or loyalty. The most famous of these is the 16th-century kisaeng Hwang Jin-i.

หญิงสาวที่อยู่ในฐานะกีเซ็งจะต้องทำหลายหน้าที่ และถือว่าเป็นชนชั้นต่ำในสายตาของพวกยังบัน (ขุนนาง) นอกจากให้ความบันเทิงแล้ว บางครั้งยังรวมไปถึงการปรุงยา และงานเย็บปักถักร้อยด้วย

กีเซ็งทั้งในบันทึกทางประวัติศาสตร์และในนิยายเรื่องเล่าล้วนมีบทบาทสำคัญด้านวัฒนธรรมของเกาหลีในยุคโชซอน เรื่องราวที่เก่าแก่และโด่งดังที่สุด อย่างเช่น เรื่องของชุนฮยาง กีเซ็งเปรียบเสมือนวีรสตรีเลยทีเดียว ถึงแม้ชื่อของกีเซ็งมักถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลา แต่ก็ยังมีผู้คนจดจำในความสามารถและความจงรักภักดีของพวกเธอได้ กีเซ็งชื่อดังที่สุดในยุคศตวรรษที่ 16 ก็คือ ฮวางจินยี


Throughout the Goryeo and Joseon periods, kisaeng held the status of cheonmin, the lowest rank of society. They shared this status with other entertainers, as well as butchers and slaves. Status was hereditary, so the children of a kisaeng were also of cheonmin status, and the daughters automatically became kisaeng as well.

Beginning in the Goryeo period, the governing offices in each district kept a registry of kisaeng, to ensure thorough oversight. The same practice was followed for conscripted slaves. Kisaeng could only be released from their position if a hefty price was paid to the government; this could usually only be done by a wealthy patron, typically a high government official.

Many kisaeng were skilled in poetry, and numerous sijo composed by kisaeng have survived. These often reflect themes of heartache and parting, similar to poems composed by scholars in exile. In addition, some of the most famous kisaeng poems were composed to persuade prominent scholars to spend the night. Indeed, the sijo style came to be associated with kisaeng women, while women of yangban status focused on the gasa form.

ในสมัยโครยอและโชซอน กีเซ็งอยู่ในฐานะ “ชอนมิน” เป็นชนชั้นที่ต่ำสุดในสังคม อยู่ในลำดับเดียวกับพวกเชือดสัตว์และทาส เด็กที่ถือกำเนิดจากกีเซ็งก็จะตกอยู่ในฐานะ “ชอนมิน” เช่นกัน ส่วนใหญ่ถ้าเป็นลูกสาวก็มักจะเป็นกีเซ็งเช่นเดียวกับมารดา ในสมัยโครยอเริ่มมีการลงทะเบียนกีเซ็งเพื่อให้อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ เช่นเดียวกับพวกทาส กีเซ็งอาจหลุดพ้นจากฐานะที่เป็นอยู่ได้ถ้าได้รับการไถ่ตัว ซึ่งมีแต่บรรดาคหบดีที่ร่ำรวยหรือขุนนางเท่านั้นที่จะทำเช่นนั้นได้

กีเซ็งส่วนใหญ่มักเชี่ยวชาญในเชิงกวี มี “ซีโจ” (บทกวี) มากมายที่แต่งโดยกีเซ็งที่ยังคงหลงเหลืออยู่มาจนถึงปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่มักสะท้อนถึงความปวดร้าวและการพลัดพราก เช่นเดียวกับบทกวีของเหล่าบัณฑิตที่ต้องโทษเนรเทศ บทกวีบางบทของกีเซ็งก็แต่งขึ้นเพื่อเชิญชวนเหล่าบันฑิตให้มาใช้เวลายามค่ำคืนกับพวกเธอ บทกวี “ซีโจ” จะถูกแต่งขึ้นโดยกีเซ็ง ส่วนบรรดาลูกสาวขุนนางจะแต่งบทกวีที่เรียกว่า “กาซา”


Women entered the kisaeng class through various paths. Some were the daughters of kisaeng, who inherited their mother's status. Others were sold into the gijeok by families who could not afford to support them. Most such families were of cheonmin rank, but sometimes poor families of higher status sold their children in this fashion. On occasion, even women from the yangban aristocracy were made kisaeng, usually because they had violated the strict sexual mores of the Joseon period.

As slaves of the government, the lives of kisaeng were closely regulated. They were overseen by the officer in charge of kisaeng, known as the hojang. The hojang was also in charge of maintaining the kisaeng register, and ensuring that none of the district's kisaeng had fled.

หญิงสาวเข้ามาสู่ฐานะกีเซ็งด้วยหนทางแตกต่างกัน บางคนก็ถือกำเนิดจากกีเซ็ง จึงต้องสืบทอดฐานะต่อจากมารดา บางคนก็ถูกขายมาเพราะครอบครัวไม่สามารถเลี้ยงดูพวกเธอได้ ส่วนใหญ่มักเป็นครอบครัวที่อยู่ในฐานะ “ชอนมิน” มีบ้างที่หญิงสาวจากครอบครัวขุนนางต้องตกมาอยู่ในฐานะกีเซ็ง เนื่องจากทำผิดร้ายแรงในเรื่องเพศ

ในฐานะทาสของหลวง ชีวิตของกีเซ็งต้องอยู่ในกฎระเบียบ พวกเธอจะถูกควบคุมดูแลโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่เรียกว่า โฮจาง” โฮจาง จะเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบเรื่องการขึ้นทะเบียนกีเซ็ง และคอยดูแลไม่ให้กีเซ็งหลบหนีไปได้


[Special Thanks to wikipedia.org]


Hwang Jin Yi’s Dance



No comments:

Post a Comment

Note: Only a member of this blog may post a comment.